พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: การโต้แย้งคำวินิจฉัยคณะกรรมการฯ ต้องแสดงเหตุความไม่สมบูรณ์ ไม่ใช่แค่ความเห็นต่าง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แต่นายทะเบียนฯ ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้เพราะเห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้ว โจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการฯ มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนฯ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของคณะกรรมการฯไม่ตรงด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ถูกนายทะเบียนฯเพิกถอนแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้ เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการฯ วินิจฉัยว่า การเพิกถอนเครื่องหมายการค้ายังไม่ครบ 12 เดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนฯสั่งเพิกถอน จึงต้องถือว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วยังอยู่ในระยะเวลาที่เจ้าของจะใช้สิทธิยื่นขอจดทะเบียนได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 38 ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้ถูกเพิกถอนแล้ว จึงไม่อาจรับฟังได้และคำฟ้องของโจทก์เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและความเห็นในเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ว่าไม่ถูกต้องโจทก์มิได้กล่าวอ้างความไม่ถูกต้องสมบูรณ์ของคำวินิจฉัยดังกล่าวอาทิ ความบกพร่องของการเป็นกรรมการ ความไม่ชอบของการประชุมหรือการออกเสียงลงคะแนน เป็นต้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 19 เบญจวรรคท้าย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของไปรษณีย์ต่อการสูญหายของสิ่งของฝากส่ง และการชดใช้ค่าเสียหายตามอัตราที่กำหนด
เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไปรษณียภัณฑ์ สูญหายไปในระหว่างการขนส่ง ของจำเลย มิได้เกิดจากการทุจริตของพนักงานจำเลย จำเลยจึงต้อง รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะที่ไปรษณีย์นิเทศกำหนดไว้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังหมดพยานฝ่ายจำเลย และการพิสูจน์ลายมือชื่อเพื่อยืนยันการเป็นผู้สลักหลังเช็ค
โจทก์นำสืบพยานก่อน และเมื่อสืบเสร็จแล้วก็แถลงหมดพยาน จำเลยที่ 2 นำสืบพยานโดยขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้สลักหลังเช็คพิพาทด้วย ซึ่งกรณีขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อนี้ เป็นเรื่องการนำสืบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จะขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งหลังจากจำเลยที่ 2 ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์เสร็จสิ้นแล้วไม่ได้ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ช่วยหาตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 เพื่อส่งไปเปรียบเทียบในการตรวจพิสูจน์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติม เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อดังกล่าวได้ดำเนินการโดยครบถ้วนจนทราบผลการตรวจพิสูจน์แล้ว จึงย่อมมีอำนาจไม่อนุญาตให้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อนั้นซ้ำใหม่ตามที่โจทก์ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานซ้ำในคดีแพ่ง: ศาลมีอำนาจจำกัดการนำสืบพยานหลังจำเลยสืบแล้ว
โจทก์นำสืบพยานก่อน และเมื่อสืบเสร็จแล้วก็แถลงหมดพยานจำเลยที่ 2 นำสืบพยานโดยขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อผู้สลักหลังเช็คพิพาทด้วย ซึ่งกรณีขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อนี้ เป็นเรื่องการนำสืบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จะขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อดังกล่าวอีกครั้งหนึ่งหลังจากจำเลยที่ 2 ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์เสร็จสิ้นแล้วไม่ได้ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาแม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ช่วยหาตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่ 2เพื่อส่งไปเปรียบเทียบในการตรวจพิสูจน์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติม เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อดังกล่าวได้ดำเนินการโดยครบถ้วนจนทราบผลการตรวจพิสูจน์แล้ว จึงย่อมมีอำนาจไม่อนุญาตให้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อนั้นซ้ำใหม่ตามที่โจทก์ขอได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมหลังจำเลยสืบพยานแล้วถือเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา หากศาลเห็นว่าการสืบพยานเดิมครบถ้วน
โจทก์นำสืบพยานก่อน เสร็จแล้วแถลงหมดพยาน จำเลยที่ 2 นำสืบพยานและขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจลายมือชื่อผู้สลักหลังเช็คพิพาท ซึ่งเป็นเรื่องการนำสืบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ของโจทก์ โจทก์จะขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อดังกล่าวอีก หลังจากจำเลยที่ 2 ได้ขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจพิสูจน์เสร็จสิ้นแล้วไม่ได้ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ช่วยหาตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 เพื่อส่งไปเปรียบเทียบในการตรวจพิสูจน์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์นำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อดังกล่าวได้ดำเนินการโดยครบถ้วนจนทราบผลการตรวจพิสูจน์แล้ว จึงย่อมมีอำนาจไม่อนุญาตให้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อนั้นซ้ำใหม่ตามที่โจทก์ขอได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1861/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสีย: ชอบด้วยกฎหมายหากไม่ขัดคุณสมบัติ
ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ ร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้เมื่อมีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (3) โดยมิได้บัญญัติว่าผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกแต่บังคับว่าผู้ที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ ดังนั้น ผู้ร้องจะขอให้ศาลตั้งบุคคลภายนอกเป็นผู้จัดการมรดกก็ได้ หากบุคคลผู้นั้นไม่เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีมูลหนี้ระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้ทรงก่อน หากไม่มีเจตนาฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์รับเช็คมาย่อมเป็นผู้ทรง มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉล จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ส.โดยไม่มีมูลหนี้ แต่เป็นการค้ำประกันในการที่จำเลยจัดตั้งบริษัทขึ้นคำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทกับ ส.ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 และที่จำเลยให้การว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส.ไปแล้ว แต่ด้วยอุบายและชั้นเชิงของ ส.จึงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คำให้การก็ไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร การที่ ส.ฝ่ายเดียวใช้อุบายและชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่า โจทก์ไม่สุจริตอย่างไร คำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีย่อมวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ ผู้สั่งจ่ายไม่สามารถต่อสู้เรื่องความสัมพันธ์กับผู้ทรงคนก่อนได้
จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คจึงเป็นผู้ถือและเป็นผู้ทรงซึ่งมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อนเว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 ประกอบ มาตรา 989 จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คให้ ส. เพื่อค้ำประกันโดยไม่มีมูลหนี้ จำเลยชำระหนี้ตามเช็คให้แก่ ส.แล้วแต่ส.ใช้อุบายชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต คำให้การดังกล่าวไม่ชัดแจ้งว่ามีการโอนเช็คด้วยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร โจทก์ไม่สุจริตอย่างไร จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี และไม่จำต้องสืบพยาน เมื่อจำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องได้ แม้ไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงกับผู้สั่งจ่าย หากไม่มีการโอนโดยฉ้อฉล
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์รับเช็คมาย่อมเป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ ส. โดยไม่มีมูลหนี้แต่เป็นการค้ำประกันในการที่จำเลยจัดตั้งบริษัทขึ้นคำให้การดังกล่าวมีลักษณะเป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันระหว่างจำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทกับ ส. ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรงเช็คพิพาทว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ต่อกันไม่ได้ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 และที่จำเลยให้การว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่ ส. ไปแล้ว แต่ด้วยอุบายและชั้นเชิงของส. จึงให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คำให้การก็ไม่ชัดแจ้งว่ามีการคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร การที่ ส. ฝ่ายเดียวใช้อุบายและชั้นเชิงให้โจทก์ฟ้องจำเลยดังกล่าวไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ และที่จำเลยให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตก็มิได้บรรยายให้ชัดว่า โจทก์ไม่สุจริตอย่างไรคำให้การจำเลยไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท คดีย่อมวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยานโจทก์จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การลอย ๆ ไม่ชัดเจน ศาลไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ชัดเจนตาม ป.วิ.พ.
คำให้การของจำเลยที่ 4 ในข้อ 2 จำเลยที่ 4 ให้การลอย ๆ ไว้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 4 เนื่องจากทำขึ้นโดยขัดต่อระเบียบข้อบังคับของโจทก์เท่านั้น จึงเป็นคำให้การที่ไม่แสดงให้แจ้งชัดถึงเหตุแห่งการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยว่า ที่ ห. ทำสัญญาแลกเช็คเป็นเงินสดตามเอกสารหมาย จ.4 ให้โจทก์ในฐานะเป็นตัวแทนหรือกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์จะต้องวินิจฉัยให้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225วรรคสอง.