คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุม สุกแสงเปล่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1517/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รอการลงโทษหญิงสูงอายุ ปลูกกัญชาจำนวนน้อยครั้งแรก
จำเลยเป็นหญิงมีอายุถึง 54 ปีแล้ว และไม่ปรากฏว่าเคยกระทำความผิดมาก่อน กัญชาของกลางที่จำเลยผลิตโดยการปลูกและมีไว้ในครอบครองก็เป็นต้นกัญชาเพียง 7 ต้น ตามพฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุอันควรปรานีรอการลงโทษจำคุกให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 56.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ, ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายต่อร่างกาย, การสูญเสียอวัยวะ, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
บริเวณที่เกิดเหตุการจราจรคับคั่ง ประชาชนสัญจรไปมาจำนวนมาก จำเลยควรใช้ความระมัดระวังในการขับรถ ต้องหยุดรถให้กลุ่มคน เดินข้ามถนนผ่านพ้นไปก่อน การที่จำเลยกลับขับแซงรถยนต์โดยสาร ประจำทางที่จอดอยู่ขึ้นไป โดยไม่ดูทางข้างหน้าให้ปลอดภัยเสียก่อน เป็นเหตุให้รถที่จำเลยขับชนและทับขาโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ดังนี้เหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยขับรถยนต์ทับขาโจทก์ เป็นเหตุให้แพทย์ต้อง ทำการผ่าตัดขาข้างซ้ายตั้งแต่ใต้เข่าออกและใส่ขาเทียมให้โจทก์ แม้โจทก์จะไม่มีใบเสร็จรับเงินมาแสดงว่าได้เสียค่ารักษาพยาบาล ไปจำนวนเท่าใด ศาลก็กำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรง แห่งละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 วรรคแรก และแม้โจทก์จะไม่ได้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องจากผู้ต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดต้องระงับไป ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องสูญเสียขาและใส่ขาเทียมเพื่อสามารถ เดินและประกอบอาชีพได้เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย อย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเอาจากผู้ต้องรับผิด ในผลแห่งการละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอน/ตั้งผู้จัดการมรดกจากพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กุศล และสิทธิในการนำสืบพยาน
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีพยานระบุว่าพินัยกรรมของผู้ตายอยู่ที่ผู้ร้อง และได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกคำสั่งเรียกพินัยกรรมดังกล่าวจากผู้ร้อง 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกให้ตามขอวันนัดไต่สวนพยานผู้คัดค้าน ผู้ร้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ผู้ร้องไม่เคยมีพินัยกรรมของผู้ตายไว้ในครอบครอง ดังนี้จึงเป็นเรื่องหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกต้นฉบับพินัยกรรมของผู้ตายจากผู้ร้อง อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็นที่ส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานไม่ได้ไว้ก่อนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 (2)
คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้น ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรม การนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งใหม่ตามพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินให้กุศลสาธารณะ
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีพยานระบุว่าพินัยกรรมของผู้ตายอยู่ที่ผู้ร้อง และได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกคำสั่งเรียกพินัยกรรมดังกล่าวจากผู้ร้อง 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกให้ตามขอวันนัดไต่สวนพยานผู้คัดค้าน ผู้ร้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องไม่เคยมีพินัยกรรมของผู้ตายไว้ในครอบครอง ดังนี้จึงเป็นเรื่องหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกต้นฉบับพินัยกรรมของผู้ตายจากผู้ร้อง อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็นที่ส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานไม่ได้ไว้ก่อนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรมการนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยทำให้เรืออับปาง ผู้รับขนส่งไม่ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
บริษัท บ. จำกัดจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนสินค้าไม้ซุงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทย ในการขนส่งสินค้าครั้งนี้บริษัท บ. จำกัดได้ประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ วิธีการขนส่งสินค้ากระทำโดยขนสินค้าไม้ซุงบรรทุกเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2ชื่อ "สปัน" ซึ่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การใช้ทางทะเลเมื่อเรือสปันแล่นมาถึงบริเวณทะเลที่เกิดเหตุเกิดมรสุมคลื่นลมจัดและมีของแข็งภายนอกเรือมา กระแทก เรือจนเรือรั่วและอัปปางลง ทั้งนี้แม้กัปตันเรือของจำเลยที่ 2 จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางหลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือดังกล่าวได้ เหตุเรือรั่วและอัปปางจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ตามป.พ.พ. มาตรา 8 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัยในการขนส่งทางทะเล: ผลกระทบต่อความรับผิดชอบทางสัญญา
บริษัท บ.จำกัดจ้างจำเลยทั้งสองให้ขนสินค้าไม้ซุงจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทย ในการขนส่งสินค้าครั้งนี้บริษัท บ.จำกัดได้ประกันภัยสินค้าไว้กับโจทก์ วิธีการขนส่งสินค้ากระทำโดยขนสินค้าไม้ซุงบรรทุกเรือเดินทะเลของจำเลยที่ 2 ชื่อ "สปัน" ซึ่งมีสภาพมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การใช้ทางทะเล เมื่อเรือสปันแล่นมาถึงบริเวณทะเลที่เกิดเหตุเกิดมรสุมคลื่นลมจัด และมีของแข็งภายนอกเรือมากระแทกเรือจนเรือรั่วและอัปปางลง ทั้งนี้ แม้กัปตันเรือของจำเลยที่ 2 จะได้ใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างดีก็ย่อมไม่มีทางลีกเลี่ยงมรสุมและการกระทบกระแทกจากของแข็งภายนอกเรือดังกล่าวได้ เหตุเรือรั่วและอัปปางจึงเป็นเหตุสุดวิสัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 8
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ กรณีจึงหาใช่แต่จำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลแห่งคดีเท่านั้นไม่ หากแต่มูลแห่งคดีดังกล่าวเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ เพราะโจทก์อาจบังคับเอากับจำเลยคนใดคนหนึ่งก็ได้โดยลำพัง ศาลย่อมฟังว่ากรณีเป็นเหตุสุดวิสัยแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ให้การไว้โดยหชัดแจ้งว่าเรืออัปปางเกิดจากเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลังแต่มีสิทธิเหนือกว่าจากความเป็นเจ้าของเดิมและการเลียนแบบ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN ไว้ในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 41(1) ในปัญหานี้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่า จำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 กรณีดังกล่าวย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 19 เบญจ คำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายังไม่เป็นที่สุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องนุ่งห่มและเครื่องหอม ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN กับสินค้าของโจทก์จำหน่ายในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกมานานประมาณ 15 ปีแล้วรวมทั้งในประเทศไทยด้วย โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ที่ประเทศต่าง ๆ หลายประเทศและส่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยเรื่อยมาก่อนที่จำเลยจะมาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN ใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ การใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยถือได้ว่าเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตทำให้สาธารณชนหลงผิดอันเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย เป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลัง & การเลียนแบบทำให้สาธารณชนหลงผิด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าและได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกเป็นเวลาหลายปีแล้ว เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยผู้ได้จดทะเบียนไว้ โจทก์ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 41(1) ในปัญหานี้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหาได้วินิจฉัยถึงสิทธิในความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นโดยตรงไม่ แต่ย้อนไปวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าเพราะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเข้ามาก่อนอันเป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 17 กรณีดังกล่าวไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 19 เบญจโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ โจทก์เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องนุ่งห่มและเครื่องหอม ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า NEWMAN(นิวแมน) จำหน่ายในประเทศต่าง ๆเกือบทั่วโลกมานานประมาณ 15 ปี และยังจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ที่ประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2512 กับที่ประเทศอื่น ๆอีกหลายประเทศ สินค้าของโจทก์ได้ส่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เรื่อยมา จำเลยเพิ่งมาขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ใช้คำว่า NNEWMEN(เอ็นนิวแมน) เมื่อวันที่12 พฤษภาคม 2521 ถือว่าจำเลยกระทำการโดยไม่สุจริต และการที่จำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยกับเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายที่จำเลยผลิตและจำหน่ายซึ่งเป็นสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดอันเป็นการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยค่าเสียหาย แม้ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัย หากประเด็นนั้นยกขึ้นว่ากันในคำฟ้องและคำให้การ
แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องค่าเสียหายเนื่องจากศาลชั้นต้นไม่เชื่อว่าจำเลยทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว แต่ประเด็นข้อนี้ก็ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ทั้งอุทธรณ์ของโจทก์ระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ตามฟ้องซึ่งถือว่าโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวแล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในอุบัติเหตุทางถนน: การชนข้ามเกาะกลางถนน และการพิสูจน์ความประมาทของผู้ขับขี่
วันเกิดเหตุ ส. ขับรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ไปเรื่อย ๆ ด้วยความเร็วประมาณ 60-70 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเมื่อใกล้ถึงที่เกิดเหตุ รถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ได้แล่นข้ามเกาะกลางถนนเข้าชนรถยนต์คันที่ ส.ขับทันทีโดยส. ไม่ทันได้ใช้ห้ามล้อและแม้จำเลยที่ 2 จะให้การต่อสู้คดีว่า เหตุที่รถยนต์ของฝ่ายจำเลยที่ 2 เกิดชนกับรถยนต์ของฝ่ายโจทก์เป็นเพราะรถยนต์ของฝ่ายจำเลยที่ 2 ถูกรถยนต์บรรทุกน้ำมันพุ่งเข้าชนท้ายอย่างแรง ทำให้รถยนต์ของฝ่ายจำเลยที่ 2เสียหลักและเสียการทรงตัวหมุนข้างเกาะกลางถนนเข้าไปชนกับรถยนต์ของฝ่ายโจทก์ แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้นำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวให้ปรากฏ จึงต้องฟังว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันเป็นเพราะความประมาทของรถยนต์ฝ่ายจำเลยที่ 2และมิใช่ความประมาทของ ส. เพราะเป็น เหตุการณ์กะทันหันไม่อาจใช้ห้ามล้อได้ทัน
of 47