พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามวินิจฉัย: โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐาน & เหตุอายุความต่างจากที่กล่าวอ้างในศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า สภาพการเป็นข้าราชการของจำเลยสิ้นสุดลงโดยจำเลยลาออกจากราชการ จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ได้ลาออกจากราชการ แต่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ และอ้างพยานหลักฐานต่าง ๆ ขอให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เหตุที่จำเลยยกขึ้นอ้างตามฎีกาว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความนั้นต่างไปจากที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ และอ้างวันเริ่มเกิดสิทธิเรียกร้องอันเป็นวันเริ่มนับอายุความต่างกัน ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยจึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีแพ่งต้องเป็นวันเริ่มสืบพยาน การไม่มาในวันนัดสืบพยานจำเลยภายหลังไม่ถือเป็นการขาดนัด
การขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 202 จะต้องเป็นกรณี ที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันนัดสืบพยาน อันได้แก่ วัน ที่ศาลเริ่มต้นสืบพยานครั้งแรกจริง ๆ เมื่อได้มีการสืบพยานโจทก์ ซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้วการที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัด สืบพยานจำเลยจึงมิใช่การขาดนัดพิจารณาอันจะถือได้ว่ามีเหตุ ที่จะขอให้พิจารณาใหม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมไม่ทำให้เกิดอายุความต่อทายาทอื่น
จำเลยต่อสู้ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความมรดก แต่ได้ความว่า หลังจากที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีครอบครัวแล้วได้แยกไปอยู่ที่อื่น ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 อยู่ในที่พิพาทมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว 10 ปี จำเลยที่ 1 ได้ร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกรายพิพาทแต่ในการขายที่พิพาทโฉนดเลขที่ 56465 จำเลยที่ 3 ไม่ได้ปรึกษาจำเลยที่ 1 ประกอบกับเหตุที่จำเลยที่ 3 ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทสาย ภ. เพราะยังตกลงกันไม่ได้ระหว่างทายาททุกคน จำเลยที่ 3 ตั้งใจจะแบ่งมรดกเมื่อมีการตกลงกันเรียบร้อยแล้วระหว่างทายาททุกฝ่าย โดยตั้งใจจะเรียกประชุมทายาทภายใน 3 เดือน เพื่อให้ทายาทตกลงกันว่าจะแบ่งมรดกกันอย่างไร แสดงว่า จำเลยที่ 3 รับโอนและครอบครอง ที่พิพาทในฐานะผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท เป็นการครอบครองแทนทายาทของเจ้ามรดก ทุกคน จำเลยที่ 3 ไม่อาจยกเอาอายุความ 1 ปี หรือ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคแรกและวรรคท้าย ขึ้นต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกได้ ดังนี้คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331-1332/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้ที่มีประกันเท่ากัน พิจารณาหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน และการลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน
ในบรรดาหนี้ที่ถึงกำหนดชำระพร้อมกันและมีประกันเท่ากันหนี้ที่มี ดอกเบี้ย สูงกว่า เป็นหนี้รายที่ตกหนักแก่ลูกหนี้มากกว่าจึงควรได้รับการปลดเปลื้องไปก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 328 แม้จะมีข้อสัญญากำหนดเบี้ยปรับที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์เมื่อผิดสัญญาแต่การที่จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ใช้ทุนฝึกอบรมครบถ้วนเป็นเพราะโจทก์มีส่วนอนุญาตให้จำเลยไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเหตุให้จำเลยไม่กลับมาใช้ทุนและลาออกจากราชการไป การคิดเอาเบี้ยปรับสองเท่าจึงเป็นจำนวนที่สูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 383.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องค่าสินไหมทดแทนประกันวินาศภัย: 2 ปีนับแต่วันเกิดเหตุ
ความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยตามสัญญาประกันภัย ซึ่งมีลักษณะเป็นการประกันวินาศภัย ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ลักษณะ 20หมวด 2 นั้น การฟ้องเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนต้องถืออายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1137/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามสัญญา แม้ผู้ลงนามไม่ใช่ผู้มีอำนาจ และการหักหนี้ค่าสินค้ากับราคาสินค้า
การที่ ศ. ซึ่งเคยเป็นกรรมการบริษัทโจทก์ลงชื่อในสัญญาซื้อขายโดยโจทก์ยอมรับเอาผลของนิติกรรมที่ ศ.ลงชื่อเป็นผู้ซื้อตลอดมามิได้ทักท้วงเท่ากับโจทก์ได้รับรู้ให้ ศ. เชิดตัวเองเพื่อให้จำเลยที่ 2 หลงเชื่อว่าเป็นตัวแทนของโจทก์ โจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายนั้นแม้การลงชื่อของ ศ. ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าเหมือน/คล้ายกัน ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้สินค้าต่างจำพวก
โจทก์จำเลยต่างยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในสินค้าจำพวกที่ 5 ซึ่งเป็นคำประดิษฐ์อักษรโรมันออกเสียงเหมือนกันว่านิโคล ต่างกันแต่เพียงว่าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ว่า NICOLEของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เล็กว่า nicole เช่นนี้ ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันอันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อผิดหลงได้ เมื่อจำเลยได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน รวมทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แล้วกับสินค้าจำพวก 38 รวมทั้งโฆษณาสินค้าดังกล่าวทางเอกสารสิ่งตีพิมพ์มาตลอดในขณะที่โจทก์มิได้กระทำเลย อีกทั้งโจทก์อ้างว่าได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจากนิตยสารญี่ปุ่น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ประดิษฐ์ขึ้นอันจะถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของได้ กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสำหรับใช้กับสินค้าของโจทก์อันอาจทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อหลงเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์เป็นของจำเลย แม้จะเป็นสินค้าต่างจำพวกกันก็ตาม ก็ย่อมทำให้จำเลยเสียหายได้ จำเลยย่อมมีสิทธิห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด: เหตุผลความพลั้งเผลอของทนายความไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไม่ทันกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์เพราะความพลั้งเผลอของทนายความ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างติดที่ดิน: สิทธิของเจ้าของที่ดินเหนือสิ่งปลูกสร้างโดยไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยทั้งสอง แต่ในหนังสือขายที่ดินระบุว่าไม่มีสิ่งปลูกสร้างดังนี้ บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบกับที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก เมื่อโจทก์ทั้งสองครอบครองบ้านพิพาทซึ่งเป็นของตนเองเช่นนี้ จึงไม่เป็นครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทของโจทก์ทั้งสองแต่อย่างใดโจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1055/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างเป็นส่วนควบของที่ดิน การโอนกรรมสิทธิ์และครอบครอง
โรงเรือนซึ่งปลูกสร้างลงในที่ดินเป็นส่วนควบของที่ดิน ผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 109 หรือ 1312 โจทก์ซื้อที่ดินซึ่งมีบ้านพิพาทปลูกอยู่ บ้านพิพาทจึงเป็นส่วนควบของที่ดินและตก เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 107 วรรคสอง โดยไม่จำต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้โจทก์อีกเมื่อโจทก์ครอบครองบ้านพิพาทซึ่งเป็นของตนเอง กรณีไม่เป็นการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทของโจทก์ ดังนี้โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55.