คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุม สุกแสงเปล่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี และประโยชน์ต่อที่ดิน
โจทก์มีบ้านให้บุคคลอื่นเช่าในที่ดินของโจทก์ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะแม้หากผู้เช่าสามารถเดินเข้าออกที่ดินพิพาทได้โดยเป็นภาระจำยอมแล้ว โจทก์จะได้ประโยชน์จากการเก็บค่าเช่ามากขึ้นทั้งทำให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้นด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมและรื้อถอนรั้วที่ปิดกั้นระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินพิพาท เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทล้อมรั้วที่ดินพิพาทโดยด้านหน้ามีไม้กั้นติดข้อความว่า "ที่หวงห้าม ห้ามผ่าน" ด้านหลังใช้เสาไม้อันเดียวปักไว้มีป้ายติดข้อความว่า "ที่ส่วนตัวห้ามเดิน" และด้านข้างปักป้ายมีข้อความว่า "ที่สงวนลิขสิทธิ์" แต่ต่อมาในเดือนเดียวกันมีผู้รื้อถอนไม้ที่ใช้กั้นที่ดินพิพาทออก โจทก์ที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และผู้ที่เคยใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกก็ยังคงใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกต่อมาอีก การกั้นรั้วไม้ดังกล่าวไม่มีผลให้รับฟังว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ได้ใช้ที่ดินพิพาทโดยความไม่สงบหรือมิได้ใช้ติดต่อกันมาเกิน 10 ปี บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และมาตรา 1393 แสดงว่าสิทธิการใช้ที่ดินพิพาทอันตกเป็นภาระจำยอมกฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์หาได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะไม่ ทั้งตกติดไปยังผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์นั้นด้วย เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกจากที่ดินของตนไปสู่ทางสาธารณะ แม้ต่อมาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จะได้โอนขายที่ดินของตนแก่บุคคลอื่น ก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 ที่ 2ระงับไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี โดยสงบ เปิดเผย ทำให้เกิดภาระจำยอมได้ แม้เจ้าของเดิมจะโต้แย้ง
จำเลยมีชื่อ ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งตกอยู่ ในภารจำยอมของที่ดินโจทก์ เมื่อจำเลยสร้างรั้วคอนกรีตปิดกั้นที่ดินพิพาททำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะฟ้องจำเลยได้ หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ โจทก์ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางสัญจรผ่านเข้าออกระหว่างทางสาธารณะกับที่ดินของโจทก์เป็นเวลากว่า 10 ปี แม้จะมีการกั้นรั้วไม้ในที่ดินพิพาทแต่ก็ถูกรื้อออกภายในเดือนเดียวกัน และโจทก์ใช้ทางพิพาทต่อมา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้ที่ดินพิพาทโดยความไม่สงบหรือมิได้ใช้ติดต่อกันเกิน 10 ปี สิทธิการใช้ที่ดินอันตก เป็นภารจำยอมนั้นกฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ หาได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะไม่ทั้งตก ติดไปยังผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์นั้นด้วย เมื่อโจทก์เป็นผู้ใช้ทางพิพาทในขณะโจทก์ฟ้องแม้ต่อมาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วโจทก์ได้โอนขายที่ดินของโจทก์แก่บุคคลอื่น ก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ระงับไปไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1052/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมในการใช้ทาง - การใช้สิทธิไม่สุจริต - การโอนสิทธิ
โจทก์มีบ้านให้บุคคลอื่นเช่าในที่ดินของโจทก์ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะแม้หากผู้เช่าสามารถเดินเข้าออกที่ดินพิพาทได้โดยเป็นภาระจำยอมแล้ว โจทก์จะได้ประโยชน์จากการเก็บค่าเช่ามากขึ้น ทั้งทำให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้นด้วย ก็ยังถือไม่ได้ว่าการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมและรื้อถอนรั้วที่ปิดกั้นระหว่างที่ดินของโจทก์กับที่ดินพิพาท เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทล้อมรั้วที่ดินพิพาทโดยด้านหน้ามีไม้กั้นติดข้อความว่า"ที่หวงห้าม ห้ามผ่าน" ด้านหลังใช้เสาไม้อันเดียวปักไว้มีป้ายติดข้อความว่า "ที่ส่วนตัวห้ามเดิน"และด้านข้างปักป้ายมีข้อความว่า "ที่สงวนลิขสิทธิ์" แต่ต่อมาในเดือนเดียวกันมีผู้รื้อถอนไม้ที่ใช้กั้นที่ดินพิพาทออก โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และผู้ที่เคยใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกก็ยังคงใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกต่อมาอีก การกั้นรั้วไม้ดังกล่าวไม่มีผลให้รับฟังว่าโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ได้ใช้ที่ดินพิพาทโดยความไม่สงบหรือมิได้ใช้ติดต่อกันมาเกิน 10 ปี
บทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 และมาตรา 1393แสดงว่าสิทธิการใช้ที่ดินพิพาทอันตกเป็นภาระจำยอม กฎหมายบัญญัติเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์หาได้มุ่งเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะไม่ ทั้งตกติดไปยังผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นสามยทรัพย์นั้นด้วย เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ โจทก์ที่ 1 ที่ 2ได้ใช้ทางพิพาทเป็นทางออกจากที่ดินของตนไปสู่ทางสาธารณะ แม้ต่อมาภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์ที่ 1 ที่ 2 จะได้โอนขายที่ดินของตนแก่บุคคลอื่น ก็หาทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตเลื่อนคดีเนื่องจากทนายติดว่าความอื่น ศาลพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและไม่ได้มีเจตนาประวิงคดี
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์เป็นครั้งแรกโดยอ้างว่าติดว่าความในคดีอื่น ซึ่งทนายจำเลยคงคัดค้านแต่เพียงว่าเหตุที่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเป็นเหตุไม่จำเป็นและสมควร ไม่ได้คัดค้านว่าทนายโจทก์มิได้ติดว่าความที่ศาลอื่นจริง ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าทนายโจทก์ติดว่าความในคดีอื่น ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นที่จะต้องขอเลื่อนคดี แม้ในวันนัดชี้สองสถานเสมียนทนายโจทก์จะได้ลงชื่อทราบวันนัดสืบพยานของโจทก์แทนทนายโจทก์ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้นัดสืบพยานโจทก์ให้ตามวันว่างของทนายโจทก์หรือไม่ เมื่อคดีเพิ่งนัดสืบพยานโจทก์เป็นนัดแรก พฤติการณ์จึงยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่เช็คหลังการปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ถือเป็นการขยายอายุความฟ้องร้อง
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือซึ่งเดิม ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์2526 แม้จะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินไปแล้วก็ยังคงมีสภาพเป็นเช็คที่สามารถโอนเปลี่ยนมือกันต่อไปได้ ทั้งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1007 วรรคแรก และวรรคสาม ก็ได้บัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาใช้เงินในเช็คได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ขีดฆ่าแก้ไขวันที่ลงในเช็ค จึงต้องผูกพันรับผิดชดใช้เงินตามเช็คดังกล่าว โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินในวันที่ 15 ตุลาคม 2526 ตามที่แก้ไขนั้นกรณีหาใช่เป็นเรื่องตกลงขยายอายุความฟ้องร้องไม่ โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากจำเลย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2527ยังไม่พ้นเวลา 1 ปี นับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงิน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การแก้ไขวันเช็คไม่ถือเป็นการขยายอายุความ ผู้สั่งจ่ายผูกพันตามวันที่แก้ไข
เช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ยังคงมีสภาพเป็นเช็คที่สามารถโอนเปลี่ยนมือต่อไปได้ ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคแรก และวรรคสามบัญญัติให้ผู้สั่งจ่ายสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาใช้เงินในเช็คได้ เมื่อจำเลยเป็นผู้ขีดฆ่าแก้ไขวันที่ลงในเช็คพิพาทจึงต้องผูกพันรับผิดตามเช็คโดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินในวันที่แก้ไขนั้น และกรณีมิใช่การตกลงขยายอายุความฟ้องร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นตั๋วสัญญาใช้เงินตามกฎหมาย และการพิสูจน์การรับโอนเช็คโดยสุจริต
โจทก์มิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อผู้ออกตั๋ว ณ ภูมิลำเนาของผู้ออกตั๋วเพื่อให้ใช้เงินในวันถึงกำหนดใช้เงิน เป็นการไม่ปฏิบัติตามวิธีการที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985ประกอบด้วยมาตรา 941 บังคับไว้ แม้โจทก์มีหนังสือทวงถามผู้ออกตั๋วภายหลังจากตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด ก็เป็นเรื่องทวงถามแบบหนี้ทั่วไป ถือไม่ได้ว่าผู้ออกตั๋วโต้แย้งสิทธิผิดคำมั่นสัญญาไม่ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องและเมื่อศาลวินิจฉัยเช่นนี้แล้ว ฎีกาของโจทก์ที่อ้างว่าตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอน โจทก์ไม่จำต้องนำตั๋วไปยื่นต่อผู้ออกตั๋ว จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี จำเลยยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์ผู้ทรงรับโอนเช็คไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย เมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คโดยทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ทรงคนก่อนผิดสัญญาซื้อขายต่อผู้ซื้อจนผู้ซื้อบอกเลิกสัญญาจำเลยจึงต้องรับผิดชอบตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกชำระหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คพิพาท: การปฏิบัติตามวิธีการใช้เงินตามกฎหมายและการพิสูจน์การฉ้อฉล
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดโจทก์ผู้ทรงมิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อจำเลยณ ภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อให้ใช้เงินตามตั๋ว เพียงแต่มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถือว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามวิธีการตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 985 ประกอบด้วยมาตรา 941 บังคับไว้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดคำมั่นไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์แม้ภายหลังจะปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลยและจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินตามตั๋ว ก็เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติการทวงถามแบบหนี้ทั่วไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 5 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เพราะโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลนั้น ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยที่ 5 ที่จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ดังที่จำเลยที่ 5 กล่าวอ้าง
เมื่อเช็คพิพาทได้มาโดยมีมูลหนี้ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ต้องนำสืบว่า จำเลยที่ 2ผิดสัญญาต่อ ย. จน ย.ได้บอกเลิกสัญญาขายหุ้นและโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยทราบดีว่าสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ย.ได้เลิกกัน เมื่อจำเลยที่ 5ไม่สามารถสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดตามเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องตั๋วสัญญาใช้เงินและการพิสูจน์การฉ้อฉลในการรับโอนเช็ค
เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดโจทก์ผู้ทรงมิได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินไปยื่นต่อจำเลย ณ ภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อให้ใช้เงินตามตั๋ว เพียงแต่มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถือว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามวิธีการตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 985 ประกอบด้วยมาตรา 941 บังคับไว้ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยผิดคำมั่นไม่ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ แม้ภายหลังจะปรากฏว่าโจทก์ทวงถามจำเลยและจำเลยยังไม่ได้ชำระเงินตามตั๋วก็เป็นเรื่องโจทก์ปฏิบัติการทวงถามแบบหนี้ทั่วไป โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 5 ต่อสู้ว่า จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทต่อโจทก์เพราะโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลนั้นภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยที่ 5 ที่จะต้องนำสืบให้รับฟังได้ดังที่จำเลยที่ 5 กล่าวอ้าง เมื่อเช็คพิพาทได้มาโดยมีมูลหนี้ จำเลยที่ 5 มีหน้าที่ต้องนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ผิดสัญญาต่อ ย.จนย. ได้บอกเลิกสัญญาขายหุ้นและโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยทราบดีว่าสัญญาซื้อขายหุ้นระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ย. ได้เลิกกัน เมื่อจำเลยที่ 5 ไม่สามารถสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 5 จึงต้องรับผิดตามเช็คพิพาทในฐานะผู้สั่งจ่าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1012/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังผู้ทรงเช็ค แม้คำฟ้องและคำเบิกความมีรายละเอียดต่างกัน หากสาระสำคัญไม่ขัดแย้งกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกเช็คพิพาทมอบให้จำเลยที่ 2ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อสลักหลังเช็คพิพาทและนำไปแลกเงินสดจากโจทก์ แต่โจทก์เบิกความว่าจำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คพิพาทและจำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คพิพาทโดยจำเลยที่ 1 ได้นำเช็คพิพาทไปมอบให้โจทก์เป็นการแลกเช็คและรับเงินสดไปจากโจทก์จริง ดังนี้ข้อแตกต่างระหว่างคำฟ้องกับคำเบิกความของโจทก์ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญที่จะมีผลให้รับฟังว่าโจทก์ไม่ได้รับเช็คพิพาทไว้เพื่อชำระหนี้ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปชำระหนี้บุคคลผู้มีชื่อ แต่โจทก์เบิกความว่าโจทก์ได้นำเช็คพิพาทไปขายให้ ต. นั้น คำเบิกความของโจทก์หมายความว่าโจทก์นำเช็คพิพาทไปมอบให้บุคคลผู้มีชื่อเพื่อชำระหนี้ทำนองเดียวกับที่โจทก์กล่าวในคำฟ้อง ดังนี้หาเป็นการแตกต่างกันไม่.
of 47