พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็ค: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็คโดยสุจริต แม้จะออกเช็คค้ำประกันหนี้ของผู้อื่น
จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คนั้นมาโดยคบคิดกับบริษัท ส. ฉ้อฉลจำเลย จำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างจำเลยกับบริษัท ส. ขึ้นต่อสู้โจทก์ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยออกเช็คค้ำประกันหนี้เงินยืมจากบริษัท ส. จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ต่างประเทศ: การโฆษณาครั้งแรกในประเทศภาคีอนุสัญญาเบอร์นไม่เพียงพอต่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ ต้องมีการจำหน่ายสำเนา
ปรากฏตามเอกสารที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาทำขึ้นพร้อมคำแปลและอ้างเป็นพยานว่า พ. รองประธานกรรมการอาวุโสของโจทก์ยืนยันว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ยืนยันว่า โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์พิพาท ด. ที่ปรึกษาสมาคมลงชื่อรับรองลายมือชื่อของพ.ว่าเป็นผู้ได้รับมอบอำนาจให้มาลงนามของโจทก์ร.โนตารีปับลิกมลรัฐนิวยอร์ก รับรองว่า พ.และด. ทำการปฏิญาณต่อหน้าตนน. เสมียนเคาน์ตี้และจ่าศาลของศาลซูพรีมคอร์ต แห่งมลรัฐนิวยอร์กประจำเคาน์ตี้ออฟนิวยอร์กรับรองว่าร.เป็นโนตารีปับลิกประจำมลรัฐนิวยอร์กและเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ย.กงศุล ใหญ่ ไทย ณ มลรัฐนิวยอร์กรับรองลายมือชื่อของน. ดังนี้ จะเห็นได้ว่าเอกสารดังกล่าวมีการรับรองกันมาตามลำดับเนื้อความแห่งเอกสารนั้นย่อมมีอยู่จริง จึงนำมาฟังประกอบคำเบิกความของ ล. กรรมการบริษัท ซ. ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ว่า ภาพยนตร์พิพาทเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งบริษัท ซ. ได้รับอนุญาตจากโจทก์ให้นำภาพยนตร์ของโจทก์มาทำวีดีโอเทปซ้ำเพื่อออกจำหน่ายแก่สมาชิกในประเทศไทยติดต่อกันมาได้ 3 ปีแล้ว โจทก์มอบอำนาจให้บริษัทซ. ปกป้องลิขสิทธิ์และฟ้องร้องตามหนังสือมอบอำนาจ ย่อมแสดงให้เห็นว่าโจทก์เป็นผู้สร้างภาพยนตร์พิพาทขึ้นเอง ภาพยนตร์พิพาทจึงเป็นงานสร้างสรรค์ของโจทก์ โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ของโจทก์ได้ ขณะเกิดเหตุประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่ได้เข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมทำ ณ กรุงเบอร์น ซึ่งประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอยู่แล้วตั้งแต่เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 โดยเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าวฉบับที่ทำ ณ กรุงเบอร์น เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1908และสำเร็จบริบูรณ์ด้วยโปรโตคล เพิ่มเติม ลงนาม ณ กรุงเบอร์นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1914 แต่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2521 ก็มิได้มีบทบัญญัติกีดกันงานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศที่มิได้เป็นภาคีในอนุสัญญาเบอร์น เพื่อไม่ให้ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้โดยที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2526ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 159 ของ รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการให้ความคุ้มครองแก่งานดังกล่าวไว้ในมาตรา 4 ว่า"งานอันมีลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ (1)... ในกรณีที่ได้โฆษณาแล้ว การโฆษณาต้องกระทำเป็นครั้งแรกในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญา..." ด้วยเหตุนี้งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศนอกภาคีอนุสัญญาเบอร์น อย่างเช่นงานของประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ หากได้กระทำการโฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาเบอร์น เมื่อปรากฏว่าประเทศแคนาดาเป็นประเทศภาคีประเทศหนึ่งในอนุสัญญาดังกล่าว งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงอาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศสหรัฐอเมริกาจะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ก็ต่อเมื่อได้มีการโฆษณางานนั้นตามความหมายของเงื่อนไขการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วย ฉะนั้น การทำให้ปรากฏซึ่งภาพยนตร์โดยการนำออกฉายเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดาแม้จะถือเป็นการโฆษณา แต่ก็มิใช่การโฆษณางานในความหมายเพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯและมาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว หากแต่เป็นเพียงการโฆษณาในความหมายของคำว่า "โฆษณา" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ซึ่งใช้เฉพาะในกรณีที่ต้องการทราบความหมายของการนำออกโฆษณาอันเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวประการหนึ่งของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวและในกรณีที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์โดยการโฆษณาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 และมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันเท่านั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงเพียงว่า โจทก์นำภาพยนตร์พิพาททั้งสองเรื่องไปฉายโฆษณาเป็นครั้งแรกในประเทศแคนาดาเท่านั้น หาได้ปรากฏว่าโจทก์ได้นำก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์พิพาทอันเป็นสำเนาจำลองออกจำหน่ายโดยให้ก๊อปปี้ฟิล์มภาพยนตร์นั้นมีปรากฏต่อสาธารณชนเป็นจำนวนมากพอสมควรแต่อย่างใดไม่ งานภาพยนตร์ของโจทก์จึงไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี การบอกกล่าวหนี้ และการบังคับจำนอง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องไม่เคลือบคลุม และการบอกกล่าวถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกเงินเกินบัญชีตามเอกสารหมาย 33 และ 34 ท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดของรายการต่าง ๆ โดยละเอียดคำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่า แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่ 27 สิงหาคม 2525แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรและโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องให้ชำระหนี้ ผู้กู้จะชำระหนี้ที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลผูกพัน
จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ 3 ครั้ง และได้รับเงินทั้ง 3 ครั้ง และทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์อีก 3 ครั้ง การเบิกเงินเกินบัญชีทำโดยจำเลยสั่งจ่ายเช็ค และยอมให้โจทก์หักทอนค่าธรรมเนียมกับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้แล้วรวมเข้ากับต้นเงิน เมื่อถึงสิ้นเดือนโจทก์มีบัญชีควบคุม แม้บัญชีต่าง ๆ ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยก่อนก็ตามแต่ไม่มีพิรุธ จำเลยคงมีแต่จำเลยเบิกความลอย ๆ ว่าหนี้ไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจรับฟังหักล้างพยานฝ่ายโจทก์
ทนายโจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และบอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียนให้จำเลย แต่ไม่ได้รับใบตอบรับโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง จึงทำคำร้องขอไต่สวนไปรษณีย์ตอบรับในประเทศว่าส่งหนังสือได้หรือไม่ เมื่อใด และใครเป็นผู้รับหนังสือต่อมาทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า ส่งได้โดยระบุวันที่ส่งและชื่อผู้รับด้วยใบตอบรับที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จัดทำขึ้นตามหน้าที่ ทั้งระบุสถานที่นำหนังสือไปส่งตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับก็ตาม แต่เป็นเอกสารที่ทำภายหลังจากทนายโจทก์ได้ทำคำร้องขอไต่สวนไป การไม่มีชื่อของผู้รับในใบตอบรับจึงไม่มีพิรุธ ถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่ 27 สิงหาคม 2525แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรและโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องให้ชำระหนี้ ผู้กู้จะชำระหนี้ที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลผูกพัน
จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ 3 ครั้ง และได้รับเงินทั้ง 3 ครั้ง และทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์อีก 3 ครั้ง การเบิกเงินเกินบัญชีทำโดยจำเลยสั่งจ่ายเช็ค และยอมให้โจทก์หักทอนค่าธรรมเนียมกับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้แล้วรวมเข้ากับต้นเงิน เมื่อถึงสิ้นเดือนโจทก์มีบัญชีควบคุม แม้บัญชีต่าง ๆ ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยก่อนก็ตามแต่ไม่มีพิรุธ จำเลยคงมีแต่จำเลยเบิกความลอย ๆ ว่าหนี้ไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจรับฟังหักล้างพยานฝ่ายโจทก์
ทนายโจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี และบอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียนให้จำเลย แต่ไม่ได้รับใบตอบรับโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง จึงทำคำร้องขอไต่สวนไปรษณีย์ตอบรับในประเทศว่าส่งหนังสือได้หรือไม่ เมื่อใด และใครเป็นผู้รับหนังสือต่อมาทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า ส่งได้โดยระบุวันที่ส่งและชื่อผู้รับด้วยใบตอบรับที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จัดทำขึ้นตามหน้าที่ ทั้งระบุสถานที่นำหนังสือไปส่งตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับก็ตาม แต่เป็นเอกสารที่ทำภายหลังจากทนายโจทก์ได้ทำคำร้องขอไต่สวนไป การไม่มีชื่อของผู้รับในใบตอบรับจึงไม่มีพิรุธ ถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, หนี้ถึงกำหนด, การบอกกล่าวทวงถาม, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกเงินเกินบัญชีตามเอกสารหมาย 33 และ 34ท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดของรายการต่าง ๆ โดยละเอียดคำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่าแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่27 สิงหาคม 2525 แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรและโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องให้ชำระหนี้ ผู้กู้จะชำระหนี้ที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลผูกพัน จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ 3 ครั้ง และได้รับเงินทั้ง3 ครั้ง และทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับ โจทก์ อีก 3 ครั้งการเบิกเงินเกินบัญชีทำโดยจำเลยสั่งจ่ายเช็ค และยอมให้โจทก์หักทอนค่าธรรมเนียมกับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้แล้วรวมเข้ากับต้นเงินเมื่อถึงสิ้นเดือนโจทก์มีบัญชีควบคุม แม้บัญชีต่าง ๆ ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยก่อนก็ตามแต่ไม่มีพิรุธ จำเลยคงมีแต่จำเลยเบิกความลอย ๆ ว่าหนี้ไม่ถูกต้องจึงไม่อาจรับฟังหักล้างพยานฝ่ายโจทก์ ทนายโจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและบอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียนให้จำเลยแต่ไม่ได้รับใบตอบรับโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง จึงทำคำร้องขอไต่สวนไปรษณีย์ตอบรับในประเทศว่าส่งหนังสือได้หรือไม่ เมื่อใด และใครเป็นผู้รับหนังสือต่อมาทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า ส่งได้โดยระบุวันที่ส่งและชื่อผู้รับด้วยใบตอบรับที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จัดทำขึ้นตามหน้าที่ ทั้งระบุสถานที่นำหนังสือไปส่งตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับก็ตามแต่เป็นเอกสารที่ทำภายหลังจากทนายโจทก์ได้ทำคำร้องขอไต่สวนไปการไม่มีชื่อของผู้รับในใบตอบรับจึงไม่มีพิรุธ ถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม-หนี้ถึงกำหนด: ศาลฎีกายืนฟ้องได้ เหตุรายละเอียดหนี้ชัดเจน-บอกกล่าวทวงถามถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกเงินเกินบัญชีตามเอกสารหมายเลข 33และ 34 ท้ายฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดของรายการต่าง ๆ ไว้แล้ว จำเลยย่อมสามารถตรวจสอบได้คำฟ้องของโจทก์จึงถือได้ว่าได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม สัญญากู้ระบุว่าผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่ 27สิงหาคม 2525 แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ และผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องดังกล่าวมานี้ ผู้กู้จะชำระหนี้ตามที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญามีผลผูกพันกันได้ ทนายโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้กับสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียนแต่ไม่ได้รับใบตอบรับโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง จึงไปทำคำร้องขอไต่สวนไปรษณีย์ตอบรับในประเทศ ต่อมาทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่าส่งได้โดยระบุวันที่ส่งและชื่อผู้รับมาด้วยตามใบตอบรับที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ได้จัดทำขึ้นตามหน้าที่ ทั้งระบุสถานที่นำหนังสือไปส่งตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย ใบตอบรับดังกล่าวทำภายหลังจากทนายโจทก์ทำคำร้องขอไต่สวน การไม่มีลายมือชื่อของผู้รับในใบตอบรับจึงไม่เป็นพิรุธ ฟังได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดชี้สองสถานและงดสืบพยาน หากจำเลยไม่เห็นด้วยต้องอุทธรณ์คำพิพากษา ไม่ใช่ขอพิจารณาใหม่
ในวันนัดชี้สองสถานและนัดพร้อมเพื่อสอบข้อเท็จจริง โจทก์มาศาล ส่วนจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าตามคำฟ้องและคำให้การคดีพอวินิจฉัยได้แล้วให้งดชี้สองสถานและงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย และพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี ดังนี้ หากจำเลยประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้เพราะมิใช่กรณีที่จำเลยไม่มาศาลในวันสืบพยาน และศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาซึ่งจำเลยจะขอพิจารณาใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 207.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงสละสิทธิเรียกร้องในสัญญาประกันภัย: ไม่ถือเป็นการชดใช้ค่าเสียหาย
สัญญาประกันภัยที่โจทก์ผู้เอาประกันภัยทำไว้กับจำเลยผู้รับประกันภัยมีข้อความว่า "ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการเรียกร้องนั้น" หมายถึงกรณีที่มีบุคคลอื่นเรียกร้องให้ผู้เอาประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลนั้น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัทจำเลยผู้รับประกันภัย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่มีความมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจส่งผลผูกพันต่อบริษัทจำเลยในการที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่นโดยจำเลยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเท่านั้น หาใช่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยหรือเป็นเงื่อนไขที่มีความหมายในทางป้องกันหรือห้ามมิให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดการที่โจทก์ได้ตกลงกับคู่กรณีโดยต่างฝ่ายต่างสละสิทธิเรียกร้องต่อกัน จึงมิใช่ยินยอม เสนอ หรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลใดตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงสละสิทธิเรียกร้องหลังเกิดอุบัติเหตุ ไม่ถือเป็นการทำผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยมีว่า ผู้เอาประกันภัยจะไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้นหมายถึงกรณีบุคคลอื่นเรียกร้องผู้เอาประกันภัยชดใช้ค่าเสียหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่กระทำการใด ๆ ตามเงื่อนไขดังกล่าว เพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจผูกพันบริษัทที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกโดยบริษัทไม่ยินยอมหาใช่เป็นเงื่อนไขที่ห้ามมิให้ผู้เอาประกันภัยสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดอันจะมีผลถึงการรับช่วงสิทธิไล่เบี้ยไม่ และการที่คนขับรถยนต์ผู้เอาประกันภัยได้ตกลงกับคู่กรณีโดยต่างฝ่ายสละสิทธิเรียกร้องต่อกัน ก็มิใช่ยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลใดตามกรมธรรม์ดังกล่าว ผู้เอาประกันภัยจึงไม่ได้ทำผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย: การยินยอมชดใช้ค่าเสียหายต้องไม่ผูกมัดบริษัทผู้รับประกันภัย
เงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยที่ว่า "ผู้เอาประกันจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือให้สัญญาว่า จะชดใช้ว่าเสียหายให้แก่บุคคลใดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น" มีความมุ่งหมายเพื่อป้องกันมิให้ผู้เอาประกันภัยก่อหนี้อันอาจจะส่งผลผูกพันบริษัทผู้รับประกันภัยในการที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่น โดยบริษัทผู้รับประกันภัยไม่ได้รู้เห็นยินยอมด้วยเท่านั้น หาใช่เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยหรือเป็นเงื่อนไขที่มีความหมายในการป้องกันหรือห้ามมิให้ผู้เอาประกันสละสิทธิเรียกร้องแก่บุคคลใดอันจะมีผลถึงการรับช่วงสิทธิไล่เบี้ย ของบริษัทผู้รับประกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลิขสิทธิ์: การได้มาซึ่งสิทธิและการคุ้มครองทางกฎหมาย กรณีครอบครองปรปักษ์ไม่สามารถใช้ได้กับลิขสิทธิ์
เมื่อจำเลยทั้งสองอ้างว่า โจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้แก่ป. ต่อมา ป. ขายต่อให้จำเลยที่ 1 อีกทอดหนึ่ง แต่จำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทระหว่าง ป. กับโจทก์เป็นหนังสือมาแสดงต่อศาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พุทธศักราช 2474 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า ลิขสิทธิ์นั้นโอนได้ แต่การโอนสิทธิหรือใช้ประโยชน์เช่นนั้นไม่สมบูรณ์เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อเจ้าของหรือตัวแทนผู้ได้รับมอบอำนาจโดยชอบจากเจ้าของลิขสิทธิ์ จึงฟังได้ว่าโจทก์ขายลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทให้ ป. ไม่มีลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทที่จะขายให้จำเลย เพลงพิพาทยังเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์อยู่ เมื่อโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาท โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ในแผ่นเสียงที่ผลิตออกจำหน่ายก่อนจำเลยทั้งสองจะซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. ที่กระดาษกลางแผ่นเสียงมีข้อความระบุว่า เนื้อร้องและทำนองเป็นของผู้ใด ใครเป็นผู้ขับร้อง จำเลยทั้งสองจึงทราบดีว่าโจทก์เป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงพิพาทจำเลยทั้งสองมิได้ซื้อลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทจาก ป. โดยสุจริตเพราะหากจำเลยทั้งสองสุจริตจริงก่อนซื้อจำเลยทั้งสองน่าจะให้ป. แสดงหลักฐานว่า ป. ได้ซื้อลิขสิทธิ์มาจากโจทก์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ขอให้ ป. แสดงหลักฐานดังกล่าวและจำเลยทั้งสองไม่มีหลักฐานการซื้อลิขสิทธิ์จากโจทก์มาแสดง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำที่มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์แล้ว โจทก์เพิ่งทราบว่า จำเลยทั้งสองละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2529จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่นโดยอายุการครอบครองหรือการครอบครองปรปักษ์นั้น มีได้เฉพาะกับทรัพย์สินเพียง 2 ประเภท คือ อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ซึ่งบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4ทรัพย์สิน มุ่งให้ความคุ้มครองในเรื่องกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสำคัญ ส่วนลิขสิทธิ์แม้จะเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง แต่เป็นทรัพย์สินอีกประเภทหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ จนไม่อาจจัดเป็นทรัพย์สินในความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 ได้ กล่าวคือลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ลิขสิทธิ์""งาน" และ "ผู้สร้างสรรค์" กับมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ให้ความหมายของคำว่า "สิทธิแต่ผู้เดียว" ไว้โดยเฉพาะแล้ว สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่กฎหมายให้ความคุ้มครองจึงต่างกับสิทธิในกรรมสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในนามธรรมซึ่งเป็นการให้ความคุ้มครองแก่รูปแบบของการแสดงออกซึ่งความคิดของผู้สร้างสรรค์ เป็นผลงาน 8 ประเภทตามคำจำกัดความของคำว่า"งาน" ดังกล่าวข้างต้น การจะได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ของผู้สร้างสรรค์งานจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ ส่วนผู้อื่นซึ่งมิใช่ผู้สร้างสรรค์ งานอาจได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8มาตรา 12 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น และลิขสิทธิ์มิได้มีอายุแห่งการคุ้มครองโดยไม่จำกัดเวลาอย่างกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 แต่มีอายุแห่งการคุ้มครองจำกัดและสิ้นอายุแห่งการคุ้มครองได้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 16 ถึงมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์มิได้บัญญัติให้ผู้ใดอาจมีลิขสิทธิ์ได้โดยการครอบครองปรปักษ์ ทั้งสภาพของลิขสิทธิ์ก็ไม่อาจมีการครอบครองเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 13 ดังเช่นสิทธิในกรรมสิทธิ์บนอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีการครอบครองได้ สิ่งที่จำเลยทั้งสองครอบครองไว้จึงเป็นเพียงการครอบครองแผ่นกระดาษที่มีเนื้อเพลงพิพาทอันเป็นสังหาริมทรัพย์เท่านั้น มิได้ก่อให้เกิดสิทธิในลิขสิทธิ์ได้แต่อย่างใด การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์จะได้มาโดยทางใดได้บ้างเป็นเรื่องที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วดังกล่าวข้างต้น เมื่อไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ใดได้มาซึ่งลิขสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจอ้างว่าได้ลิขสิทธิ์ในเพลงพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะเรียกสำนวนคดีอาญาเรื่องอื่นของศาลชั้นต้นมาเป็นพยานของศาลในคดีนี้ ซึ่งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 239 และ 240 แต่เท่าที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและพิพากษามา มิได้ใช้ข้อเท็จจริงอันเกิดจากสำนวนคดีดังกล่าวเลย ไม่ทำให้คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองต้องเสียไป คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงชอบแล้ว.