พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียว
คดีเดิม พนักงานอัยการฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาบุกรุกโดยจำเลยขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและเบิกความในคดีดังกล่าว ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์มีความผิดตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องศาลฎีกาพิพากษายืน ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในข้อหาฟ้องเท็จและเบิกความเท็จในคดีก่อน ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ ดังนี้ การที่จำเลยยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ในคดีเรื่องเดิมไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จอีกกรรมหนึ่งเพราะเป็นการกระทำโดยมีเจตนาให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษโจทก์ตามที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกับที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น จำเลยเบิกความเท็จในคดีเรื่องเดิมรวมสองครั้ง ครั้งแรกเบิกความไม่จบปาก ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในครั้งต่อไปข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน คำเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกับการเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน แม้ฟ้องของโจทก์ทั้งสอง คงมีโจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องแต่เพียงคนเดียว โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทนายความหรือได้รับมอบอำนาจ จากโจทก์ที่ 2 ให้เป็นผู้แทนก็ตามเมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องของโจทก์ที่ 2 จะชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 158(7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไปปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันจะได้รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การกระทำต่อเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นฟ้องร่วม
การที่จำเลยยื่นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ในเรื่องเดิมนั้นเป็นการกระทำโดยมีเจตนาให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกันกับการที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ไม่เป็นความผิดต่างกรรม แม้คำฟ้องฎีกาจะเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(3) ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ก็ตาม จำเลยเบิกความในคดีเรื่องเดิมครั้งแรก แต่เบิกความไม่จบปากศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในนัดต่อไป ข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน การเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกับการเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน มิใช่เป็นความผิดต่างกรรม โจทก์ทั้งสองในคดีนี้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องแต่เพียงคนเดียวโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทนายความหรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ให้เป็นผู้แทนตนในคดีนี้นั้น ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จะชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาข้อกฎหมายนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและเบิกความเท็จในคดีอาญา การกระทำต่อเนื่องถือเป็นกรรมเดียว
คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15แต่การที่จำเลยยื่นคำฟ้องฎีกาอันเป็นเท็จคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ในเรื่องเดิมที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยว่าบุกรุกอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยนั้น เป็นการกระทำโดยมีเจตนาให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมตามที่จำเลยได้ยื่นคำร้องอันเป็นเท็จขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกันกับการที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ไม่เป็นความผิดต่างกรรม จำเลยเบิกความในคดีเรื่องเดิมครั้งแรกไม่จบปาก ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในนัดหน้า ข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน การเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกันกับเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน มิใช่เป็นความผิดต่างกรรม โจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว การที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องในส่วนของโจทก์ที่ 2ที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้จะชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่างกรรมกับการกระทำต่อเนื่อง: การฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาและการเบิกความต่อ
การที่จำเลยยื่นคำฟ้องฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ในเรื่องเดิมนั้น เป็นการกระทำโดยมีเจตนาให้ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกันกับการที่จำเลยได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการไว้ตั้งแต่ศาลชั้นต้น ไม่เป็นความผิดต่างกรรม แม้คำฟ้องฎีกาจะเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3)ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ก็ตาม
จำเลยเบิกความในคดีเรื่องเดิมครั้งแรก แต่เบิกความไม่จบปาก ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในนัดต่อไป ข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน การเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกับการเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน มิใช่เป็นความผิดต่างกรรม
โจทก์ทั้งสองในคดีนี้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องแต่เพียงคนเดียวโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทนายความหรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ให้เป็นผู้แทนตนในคดีนี้นั้น ฟ้องของโจทก์ที่ 2จะชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาข้อกฎหมายนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยเบิกความในคดีเรื่องเดิมครั้งแรก แต่เบิกความไม่จบปาก ศาลมีคำสั่งให้เลื่อนไปซักค้านต่อในนัดต่อไป ข้อความที่เบิกความครั้งแรกและครั้งหลังก็ต่อเนื่องกัน การเบิกความของจำเลยในครั้งหลังเจตนาที่จะให้โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีเรื่องเดิมได้รับโทษเช่นเดียวกับการเบิกความในครั้งแรก ถือว่าเป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องเป็นกรรมเดียวกัน มิใช่เป็นความผิดต่างกรรม
โจทก์ทั้งสองในคดีนี้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยร่วมกันในความผิดเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องของโจทก์ที่ 1 แล้ว ดังนี้ การที่โจทก์ที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องแต่เพียงคนเดียวโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เป็นทนายความหรือได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ให้เป็นผู้แทนตนในคดีนี้นั้น ฟ้องของโจทก์ที่ 2จะชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) หรือไม่ ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาข้อกฎหมายนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6340/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากจำเลยเปลี่ยนคำให้การในชั้นฎีกา โต้แย้งข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ชั้นอุทธรณ์ จำเลยอ้างว่าที่ศาลชั้นต้นงดชี้สองสถานและงดสืบพยานเป็นการไม่ชอบ เพราะจำเลยให้การมีประเด็นว่านิติกรรมซื้อขายที่ดินที่โจทก์จำเลยทำต่อ เจ้าพนักงานที่ดินมีเจตนาหลอกลวงเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้เสียค่าธรรมเนียมและภาษีน้อยลงขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มูลหนี้ตามเช็คจึงเป็นโมฆะแต่ในชั้นฎีกาจำเลยกลับอ้างว่าคำให้การจำเลยมีประเด็นว่าจำเลยชำระราคาที่ดินให้โจทก์ครบถ้วน โดยที่ดินราคาเพียง 350,000 บาทเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงิน 650,000 บาท จำนวนที่เกินไป 300,000 บาทเป็นการนำเอาค่านายหน้าและดอกเบี้ยในอัตราที่เกินกฎหมายกำหนดมารวมเข้าด้วย คำให้การจำเลยจึงชัดเจนแล้ว เป็นฎีกาโต้แย้งข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนาตกลงรับประกันภัย: ผลของหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องที่ส่งถึงผู้รับประกันภัยเกินกำหนด 30 วัน
ตามใบรับเงินชั่วคราวของจำเลยที่มอบให้แก่ผู้ทำคำขอเอาประกันชีวิตมีข้อความระบุว่า "บริษัทจะพิจารณาออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยภายใน 30 วัน (สามสิบวัน)นับแต่วันถัดจากวันที่สำนักงานของบริษัทได้รับใบคำขอเอาประกันภัยและได้รับเงินแล้ว หากบริษัทมิได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้ภายในเวลาที่กำหนดหรือปฏิเสธการขอเอาประกันภัยหรือแจ้งเหตุขัดข้องในการรับประกันภัย ให้ถือว่าบริษัทตกลงยอมรับสัญญาประกันภัย"ดังนี้ แสดงว่าการแจ้งเหตุขัดข้องเป็นการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยอยู่กรุงเทพมหานคร ส่วน ต. อยู่จังหวัดเชียงใหม่กรณีจึงเป็นการแสดงเจตนาทำให้แก่ผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง ย่อมมีผลนับแต่เวลาที่ไปถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นต้นไป ตามป.พ.พ. มาตรา 130 ดังนั้น เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องในการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ ต. ส่งทางไปรษณีย์ไปถึงต. เกินกว่ากำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่จำเลยได้รับใบคำขอเอาประกันชีวิต จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงยอมรับสัญญาประกันชีวิตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติให้สัญญาเกิดขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น จะแปลบทบัญญัติไปในนัยกลับกันว่า สัญญาไม่เกิดขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้นหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6097/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในคดีอาญา ทำให้สิทธิในการฟ้องของโจทก์ระงับ และการพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่ชอบ
คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้เสียหายที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์โดยไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองอีกต่อไปสิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2)การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เสียหายที่ 8 ที่ 9 ที่ 10 จึงไม่ชอบ ต้องจำหน่ายคดี เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมิได้กระทำผิดตามฟ้องพนักงานอัยการย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบกรณีดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6097/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาเมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
คดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์โดยไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เสียหายที่ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์จึงไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยมิได้กระทำผิดฐานฉ้อโกงพนักงานอัยการย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่ผู้เสียหาย จึงไม่ชอบ ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5972/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงลดหนี้และเงื่อนไขการชำระหนี้: ไม่เป็นนิติกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน
เดิม อ.เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาถึงที่สุด ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เข้าเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำนวนดังกล่าวในศาล จำเลยที่ 1 ได้ตกลงกับโจทก์ขอลดความรับผิดลงแล้วมอบเช็คซึ่งจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายให้โจทก์ โดยให้โจทก์ดำเนินการบังคับคดีต่อไป หากในการขายทอดตลาดทรัพย์สินของ อ.ได้เงินไม่ถึง 10,000 บาท จำเลยที่ 1 จะจ่ายเงินให้โจทก์ให้ครบ 10,000 บาทถ้าขายทอดตลาดได้เงินกว่า 10,000 บาท โจทก์จะคืนเช็คของจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงข้อสงวนสิทธิของโจทก์ในการที่จะบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาเอาจากทรัพย์สินของ อ. ที่โจทก์ได้นำยึดและอายัดไว้แล้วเท่านั้น มิใช่ข้อความที่บังคับไว้ให้โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของ อ.เกิดขึ้นหรือต่อเมื่อมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของ อ.แล้วได้เงินไม่ถึง 10,000 บาท เกิดขึ้นเสียก่อนไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงมิใช่นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันจะทำให้นิติกรรมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้วตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 1435 บัญญัติไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5972/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในนิติกรรม: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นทันทีเมื่อมีข้อตกลง ไม่รอการขายทอดตลาด
เมื่อโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินได้ตามมูลหนี้เดิมอยู่แล้วแม้ในบันทึกเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 จะมีข้อความว่า ส่วนทรัพย์สินของ อ. ที่โจทก์ยึดและอายัดไว้โจทก์จะดำเนินการบังคับคดีขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ให้ครบต่อไปก็ตาม ก็เป็นเพียงข้อสงวนสิทธิของโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของ อ. ที่โจทก์ยึดและอายัดไว้เท่านั้น ไม่ใช่ข้อความที่บังคับไว้ให้โจทก์เกิดสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ขายทอดตลาดทรัพย์สินของ อ. หรือขายทอดตลาดทรัพย์สินของ อ. แล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้เสียก่อนไม่จึงไม่ใช่นิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนอันจะทำให้นิติกรรมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 145 บัญญัติไว้ไม่.