คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุม สุกแสงเปล่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา พยานหลักฐานใหม่ต้องชัดเจนและสำคัญ มิฉะนั้นศาลยกคำร้องได้
คำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ต้องบรรยายรายละเอียดให้ปรากฏชัดแจ้งในคำร้องว่า พยานหลักฐานใหม่มีที่มาอย่างไร และสำคัญแก่คดีอย่างไรก่อน หรือแม้จะไม่มีเอกสารใดแนบมากับคำร้องขอก็ตามก็จะต้องบรรยายรายละเอียดมาดังกล่าวข้างต้นด้วยเมื่อคดีฟังไม่ได้ว่า ผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีอย่างใด คำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้นไม่ชอบด้วยพ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 10เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องในคดีนั้นเป็นอำนาจศาลอุทธรณ์อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา: พยานหลักฐานใหม่ต้องชัดเจนและสำคัญ มิฉะนั้นศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวน
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 5 อนุมาตรา 3 ซึ่งมีความว่า มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลต้องรับโทษทางอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิดย่อมแสดงว่ากฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองผู้สุจริตที่ถูกศาลพิพากษาผิดพลาดไปเนื่องจากเชื่อพยานหลักฐานในคดีก่อน แต่พยานหลักฐานใหม่จะต้องชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี โดยผู้ร้องต้องบรรยายรายละเอียดมาให้ปรากฏชัดแจ้งในคำร้องว่ามีที่มาอย่างไรและมีความสำคัญต่อคดีอย่างไร หากสามารถแนบเอกสารต่าง ๆ ประกอบมาด้วยเพื่อให้ศาลได้พิจารณาว่าเป็นพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีหรือไม่อย่างไรก็ควรแนบมาด้วย เมื่อคำร้องระบุแต่เพียงว่าค้นพบใบเสร็จรับเงินที่ร้านค้าออกให้แก่ผู้ร้องในการซื้อสินค้าโดยมิได้บรรยายรายละเอียดของใบเสร็จรับเงิน คงกล่าวเพียงจะนำเสนอศาลในชั้นไต่สวนคำร้อง คดีจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีคำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนย่อมไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่พ.ศ. 2526 มาตรา 10 เพราะอำนาจในการสั่งคำร้องเป็นของศาลอุทธรณ์แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการฉ้อโกงประชาชน: การกระทำของจำเลยที่ช่วยให้ผู้เสียหายเชื่อถือคำหลอกลวงของสามี
สามีจำเลยได้ประกาศชักชวนหลอกลวงประชาชนในหมู่บ้านว่าสามารถจัดหางานให้ไปทำที่ประเทศสิงค์โปร์ได้ เมื่อผู้เสียหายมอบเงินให้สามีจำเลย จำเลยก็นั่งอยู่ด้วย สามีจำเลยรับเงินจากผู้เสียหายแล้วส่งให้จำเลย จำเลยรับเงินไว้และพูดว่าหากไม่ได้ไปจะคืนเงินให้แสดงว่าจำเลยรู้ว่าความจริงสามีจำเลยไม่สามารถพาพวกผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ การที่จำเลยรับเงินและพูดดังกล่าวจึงเป็นการพูดสนับสนุนให้พวกผู้เสียหายเชื่อในคำชักชวนของสามีจำเลยยิ่งขึ้นอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่สามีจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชน จึงมีความผิดฐานสนับสนุนการฉ้อโกงประชาชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเมื่อสามีมีภริยาอื่นและอุปการะเลี้ยงดู แม้ภริยาจะทราบก่อนแต่งงานก็ไม่ถือว่ายินยอม
ก่อนที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลย โจทก์หาได้มีความสัมพันธ์กับจำเลยในฐานะสามีภริยาตามกฎหมายไม่ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใด ๆ ในฐานะภริยาจำเลยแม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยมีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยากับ ร. และมีบุตรด้วยกันก่อนที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลย ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำดังกล่าวของจำเลย โจทก์จึงอ้างเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516(1)ฟ้องหย่าจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีการค้าไม่ใช่บุริมสิทธิ ศาลยกคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยก่อนเจ้าหนี้รายอื่นโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีการค้าที่จำเลยค้างชำระอยู่ อันเป็นหนี้บุริมสิทธิเมื่อทางพิจารณาได้ความว่า หนี้ค่าภาษีการค้าที่ค้างชำระนั้นเป็นหนี้สามัญ ศาลก็ต้องยกคำร้องของผู้ร้องเสีย โดยไม่ต้องพิจารณาว่าตามคำร้องเป็นกรณีขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290ด้วยหรือไม่ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นในคดีนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนโดยอาศัยอำนาจแห่งบุริมสิทธิตาม ป.วิ.พ.มาตรา 289 ซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 (1) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สิน ศาลยกคำร้องเนื่องจากหนี้เป็นหนี้สามัญ ไม่ใช่หนี้บุริมสิทธิ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์สิน ของจำเลยก่อนเจ้าหนี้รายอื่นโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีการค้าที่จำเลยค้างชำระอยู่ อันเป็นหนี้บุริมสิทธิเมื่อ ทางพิจารณา ได้ความ ว่า หนี้ค่าภาษีการค้าที่ค้างชำระนั้นเป็นหนี้สามัญ ศาล ก็ ต้อง ยกคำร้อง ของผู้ร้องเสีย โดยไม่ต้องพิจารณาว่าตามคำร้องเป็น กรณี ขอเฉลี่ยทรัพย์ ของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ด้วยหรือไม่ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นในคดีนี้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ก่อนโดยอาศัยอำนาจแห่ง บุริมสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 ซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวน ทุนทรัพย์ ที่เรียกร้อง ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1(1) ท้าย ป.วิ.พ..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยมิได้รับความยินยอม และการครอบครองปรปักษ์ที่ไม่สมบูรณ์
ม. กรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดได้ทำรายงานการประชุมโดยไม่มีการประชุมว่า เจ้าของหุ้นโอนหุ้นให้แก่ ม. และได้โอนหุ้น เป็นชื่อ ม. แล้ว และได้ส่งรายงานการประชุมไปเก็บไว้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด โดยไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดทราบถึงเรื่องราวในรายงานการประชุมดังกล่าว ดังนี้การที่ ม. ได้ครอบครองหุ้นดังกล่าวไว้จึงเป็นการกระทำโดยปิดบังซ่อนเร้น ไม่เปิดเผย ไม่ครบเกณฑ์ที่จะทำให้ ม. ได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 คำแก้ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 647/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมต่ออายุสัญญา และสิทธิเรียกร้องเบี้ยปรับ: จำเลยมิอาจหักเบี้ยปรับจากหนี้เช็คพิพาทได้
จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้ค่างานงวดสุดท้ายตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างให้โจทก์ โดยจำเลยมิได้ทักท้วงว่าโจทก์ทำงานล่าช้ากว่ากำหนดและจะใช้สิทธิปรับโจทก์ตามสัญญาแต่อย่างไร คดีฟังได้ว่าจำเลยยอมต่ออายุสัญญาให้โจทก์โดยไม่ติดใจที่จะบังคับเอาเบี้ยปรับจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเอาเบี้ยปรับจากโจทก์โดยการหักจากหนี้เงินตามเช็คพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งและการงดสืบพยาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 เนื่องจากคำให้การของจำเลยที่ 1 ขัดกันเองจึงไม่มีประเด็นที่จะสืบ จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และให้จำเลยที่ 1 มีสิทธินำสืบแก้ คดีของโจทก์ได้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1แล้ว จึงมีสิทธิยกประเด็นนี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้ จำเลยที่ 1 ให้การในตอนแรกว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบเช็คให้จำเลยที่ 2 นำไปมอบแก่โจทก์เป็นประกันโดยจะไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงิน และแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังว่าเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องมิใช่เช็คที่จำเลยที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 นำไปประกันต่อโจทก์ คำให้การของจำเลยที่ 1 เช่นนี้เป็นการไม่แน่ชัด ว่าเช็คตามที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกและมอบให้ไว้แก่จำเลยที่ 2 ใช่หรือไม่ จึงเป็นคำให้การที่ขัดกันเอง ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1ปฏิเสธฟ้องของโจทก์ จึงไม่มีประเด็นในคดีจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะสืบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินทำนาต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การเลิกสัญญาต้องทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อทำนาตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ.2517 แม้ทำสัญญาเช่าก่อนพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 ใช้บังคับ เมื่อพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับแล้วยังมีบทบัญญัติว่าการเช่านารายใดอยู่ในบังคับ พ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา ให้ถือว่าการเช่านารายนั้นอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ดังนั้น การเลิกสัญญาเช่าก่อนครบกำหนดการเช่าจะต้องทำเป็นหนังสือต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมายตามมาตรา 30(3) แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาเลิกเช่าที่นากันโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือต่อหน้านายอำเภอหรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมายสัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลเป็นการเลิกสัญญาเช่าโดยชอบด้วยกฎหมายปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.
of 47