พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5475/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยรถยนต์: การบอกล้างสัญญาโมฆียะ & การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มจำนวน
การเอาประกันภัยรถยนต์ของโจทก์ มี ส.นายหน้าผู้หาประกันและพนักงานของจำเลยเป็นผู้ดำเนินการทุกอย่าง โจทก์มิได้แถลงข้อความเท็จหรือละเว้นไม่เปิดเผยความจริงหรือสมคบกับพนักงานของจำเลยหลอกลวงจำเลยแต่ประการใด ดังนั้น แม้จำเลยจะมิได้ให้พนักงานของจำเลยตรวจสภาพรถยนต์ของโจทก์เสียก่อนก็ตาม จำเลยจะอ้างว่าสัญญาประกันภัยเป็นโมฆียะไม่ได้ เมื่อจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดตามกรมธรรม์ประกันภัยพนักงานของจำเลยเป็นผู้ตีราคาเอง ทั้งจำเลยก็ได้รับเบี้ยประกันภัยตามราคารถยนต์ที่กำหนดไว้แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา เมื่อรถยนต์ของโจทก์ถูกลักไปจากที่จอด จำเลยต้องชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาซึ่งระบุให้ใช้เต็มจำนวน โดยโจทก์ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายส่วนแรก 2,000 บาท ตามที่กำหนดไว้ในสัญญา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5468/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้ตามฟ้องทำให้ไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม แม้เรื่องดอกเบี้ย
ในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ แต่มิได้ขาดนัดพิจารณาเมื่อจำเลยแถลงรับว่าเป็นหนี้โจทก์จริงตามฟ้องเสียแล้ว โจทก์ก็ไม่ต้องนำสืบแต่อย่างใดอีกเพราะข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ตามฟ้องตามที่จำเลยแถลงรับอยู่แล้ว แม้จะเป็นเรื่องอำนาจฟ้องหรือการคิดดอกเบี้ยก็ตาม ศาลย่อมพิพากษาไปได้โดยไม่ต้องให้โจทก์นำสืบอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การโอนสิทธิเรียกร้องต้องผูกพันตามข้อตกลงอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
จำเลยทำสัญญารับประกันภัยกับ ท.โดยระบุให้ธนาคาร ก.จำกัดเป็นผู้รับประโยชน์ และตามกรมธรรม์ระบุว่า "ความเห็นแตกต่างกันที่เกิดขึ้นจากกรมธรรม์ดังกล่าวให้เสนอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด"การทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการใช้สิทธิฟ้องร้องตามสัญญาประกันภัย เมื่อธนาคาร ก.จำกัดผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยดังกล่าวโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและเงื่อนไขในการใช้สิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยมีความเห็นต่างกันในเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ต้องเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเสียก่อน โจทก์จะนำคดีมาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนไม่ได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5428/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยประมาทเลินเล่อ ไม่ป้องกันไฟป่า ทำให้ไม้โจทก์เสียหาย ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยรับจ้างลากขนไม้เพื่อไปส่งมอบให้แก่โจทก์ แล้วไฟป่าไหม้ไม้โจทก์เสียหาย ปรากฏว่าเหตุไฟไหม้เกิดเดือนมกราคม 2525 เป็นช่วงที่อากาศแห้ง บริเวณที่รวมหมอนไม้มีไฟป่าเกิดขึ้นบ่อย จำเลยสามารถป้องกันได้โดยถาง ต้นหญ้าที่ขึ้นปกคลุมกองไม้ออกเสีย และจัดหาเครื่องมือดับเพลิงเตรียมไว้ แต่จำเลยหาปฏิบัติเช่นนั้นไม่ เป็นเหตุให้ไฟไหม้แล้วลามไปไหม้ไม้โจทก์ จึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยหาใช่เป็นเหตุสุดวิสัยไม่ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ความรับผิดของผู้ออกเช็ค, ผู้สั่งจ่าย, หุ้นส่วนผู้จัดการ และผลของการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน
เช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือและโจทก์เป็นผู้รับเช็คนั้นไว้ในความครอบครอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คนั้นโดยชอบ มีอำนาจที่จะฟ้องบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทให้รับผิดต่อโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900ประกอบด้วยมาตรา 989 แม้โจทก์จะนำเงินจากบิดาโจทก์มารับแลกเช็คพิพาทก็หาเป็นเหตุที่จำเลยที่ 1 จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ไม่ เช็คพิพาทเป็นเช็คของจำเลยที่ 1 ขณะที่จำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 ไม่มีข้อจำกัดอำนาจของผู้จัดการไว้ การที่จำเลยที่ 2สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้ง 2 ฉบับเป็นการกระทำโดยมีอำนาจภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 แม้ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายร่วมกับจำเลยที่ 2 ในเช็คพิพาทจะเป็นลายมือชื่อปลอมของจำเลยที่ 3 แต่ไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่น ๆ ในตั๋วเงินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1006 เช็คพิพาทจึงยังเป็นเช็คที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเช็คพิพาท แม้จะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนจำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นผู้จัดการของจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1052 ประกอบด้วยมาตรา 1080 และมาตรา 1087 การที่จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันด้วยอาวัลในเช็คพิพาทซึ่งต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อยู่แล้วได้ออกเช็คฉบับใหม่แก่โจทก์ หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ไม่ แต่เป็นการชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 321 วรรคสาม ซึ่งหนี้จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อได้ใช้เงินตามเช็คฉบับใหม่แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับใหม่ได้หรือไม่ หนี้ตามเช็คพิพาทจึงยังไม่ระงับไป ปัญหาที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ฎีกาว่าโจทก์คบคิดกับจำเลยที่ 4ฉ้อฉลจำเลยที่ 1 และที่ 3 และปัญหาว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 3เป็นลายมือชื่อปลอม การสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยที่ 2 จึงผิดไปจากข้อตกลงกับธนาคาร จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้น จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงมิใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขอระงับการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการบังคับคดี
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์พิพาทของจำเลยแต่ยังไม่สามารถพาไปยึดได้เพราะไม่ทราบว่ารถยนต์พิพาทอยู่ที่ใด ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยจะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของรถยนต์พิพาทในใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์ต่อนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร ขอให้งดการจดทะเบียนทุกประเภทหรือก่อให้เกิดภาระผูกพันเกี่ยวกับรถยนต์พิพาทไว้ก่อน ดังนี้ เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังติดตามยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ การที่ขอให้งดจดทะเบียนหรือก่อให้เกิดภาระตัดพันในรถยนต์พิพาทก็เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากในการบังคับคดีเกี่ยวกับรถยนต์พิพาท จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการยึดรถยนต์พิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขออายัดทะเบียนรถยนต์เพื่อป้องกันการโอนขายก่อนยึดทรัพย์
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์พิพาทของจำเลยแต่ยังไม่สามารถพาไปยึดได้เพราะไม่ทราบว่ารถยนต์พิพาทอยู่ที่ใด ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยจะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของรถยนต์พิพาทในใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์ต่อนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานครขอให้งดการจดทะเบียนทุกประเภทหรือก่อให้เกิดภาระผูกพันเกี่ยวกับรถยนต์พิพาทไว้ก่อน ดังนี้ เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังติดตามยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ การที่ขอให้งดจดทะเบียนหรือก่อให้เกิดภาระติดพันในรถยนต์พิพาทก็เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากในการบังคับคดีเกี่ยวกับรถยนต์พิพาท จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการยึดรถยนต์พิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5336/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การอุทธรณ์และฎีกานอกประเด็นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว หากไม่โต้แย้งในชั้นอุทธรณ์
คดีมีประเด็นพิพาทว่า การที่ธนาคารจำเลยไม่หักเงินตามเช็คเข้าบัญชีของธนาคารโจทก์ และไม่แจ้งให้ธนาคารโจทก์ทราบในวันรุ่งขึ้นหรือวันเปิดทำการนั้น จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ ซึ่งศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เป็นความผิดของจำเลยแสดงให้ประจักษ์ต่อโจทก์ตามวิธีที่เคยปฏิบัติว่าจำเลยได้นำเงินตามเช็คเข้าบัญชีโจทก์แล้วการที่โจทก์จ่ายเงินตามเช็คให้ลูกค้าไปจึงมิใช่ความประมาทเลินเล่อของโจทก์ หรือเป็นการจ่ายเงินตามอำเภอใจ จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ เช่นนี้ การที่จำเลยอุทธรณ์ในทำนองโต้แย้งว่า จำเลยได้นำเงินมาเข้าบัญชีของธนาคารโจทก์แล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยมิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดอย่างไรในการที่ไม่แจ้งให้ทราบถึงเหตุที่ไม่สามารถหักเงินเข้าบัญชีโจทก์ได้ จึงเป็นอุทธรณ์นอกประเด็น แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิฎีกา ประเด็นพิพาทใดที่เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้แล้วคู่ความมิได้อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวให้ด้วยก็ถือไม่ได้ว่าได้วินิจฉัยตามประเด็นคู่ความอุทธรณ์ คู่ความจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนลวงสาธารณชน เป็นการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LODINE และ โลดีน ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนภายหลังคำว่า LODINOX และโลดินอกซ์ ของจำเลย ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทเครื่องหมายคำโดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา และตัวอักษรไทยรูปแบบธรรมดาเป็นคำอ่านออกเสียงรูปแบบอักษรโรมันไม่มีลวดลายหรือลักษณะพิเศษแตกต่างกัน การออกสำเนียงในการอ่านคำในสองพยางค์หน้าของ เครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน แม้จำเลยจะต่อเติมอักษรโรมันในพยางค์หลังและอธิบายว่าคำว่า LODINOXมีที่มาจากถ้อยคำของสูตรตัวยาแก้ท้องเสีย 2 ตัว คือ LOPERAMIDE และFURASOLIDINE และต่อเติมคำว่า NOX อ้างว่าให้มีความหมายว่าหยุด ก็เป็นเพียงความประสงค์ของจำเลยเองที่ไม่ถูกต้องตรงกับความหมายของถ้อยคำและตัวอักษรที่ย่อมเอามา กล่าวคือ คำว่า NOXเป็นคำที่ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรม และคำว่า LODINOX ก็ไม่ตรงกับ ตัวอักษร LO และ LID ที่จำเลยอ้างว่านำมาจากสูตรตัวยา 2 ตัวดังกล่าวแล้วนำมารวมกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ตามรายการจำพวกสินค้าเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ สาธารณชนย่อมยากที่จะแยกได้ว่าสินค้ายาเครื่องหมายการค้าใดเป็นสินค้าของโจทก์หรือของจำเลย และอาจทำให้ผู้ซื้อยาเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือรู้น้อยย่อมเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ง่าย ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนลวงสาธารณชน การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและสินค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LODINE และโลดีน ของ โจทก์กับเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนภายหลังคำว่า LODINOX และโลดินอกซ์ ของ จำเลย ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทเครื่องหมายคำโดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา และตัวอักษรไทยรูปแบบธรรมดาเป็นคำอ่านออกเสียงรูปแบบอักษรโรมันไม่มีลวดลายหรือลักษณะพิเศษแตกต่างกัน การออกสำเนียงในการอ่านคำในสองพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน แม้จำเลย จะต่อเติมอักษรโรมันในพยางค์หลังและอธิบายว่าคำว่า LODINOX มีที่ มาจากถ้อยคำของสูตรตัวยาแก้ท้องเสีย 2 ตัว คือ LOPERAMIDE และFURASOLIDINE และต่อเติมคำว่า NOX อ้างว่าให้มีความหมายว่า หยุดก็เป็นเพียงความประสงค์ของจำเลยเองที่ไม่ถูกต้องตรงกับความหมายของถ้อยคำและตัวอักษรที่ย่อเอามากล่าวคือ คำว่า NOX เป็นคำที่ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรม และคำว่า LODINOX ก็ไม่ตรงกับ ตัวอักษรLO และ LID ที่จำเลยอ้างว่านำมาจากสูตรตัวยา 2 ตัว ดังกล่าวแล้วนำมารวมกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อแสดง ให้เห็นว่าจำเลยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลย ใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ตามรายการ จำพวกสินค้าเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ สาธารณชนย่อมยากที่จะแยก ได้ว่าสินค้ายาเครื่องหมายการค้าใดเป็นสินค้าของโจทก์หรือ ของจำเลย และอาจทำให้ผู้ซื้อยาเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้า ของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือรู้น้อยย่อมเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ง่าย ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า.