คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุม สุกแสงเปล่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานที่ดิน: ต้องฟ้องพิพาทกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่ฟ้องเจ้าพนักงาน
แม้ฟ้องโจทก์อ้างว่า คำสั่งของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานที่ดินที่ให้ออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายและความเป็นจริง เพราะที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์เหตุผลเพียงเท่าที่อ้างจะถือว่าจำเลยกระทำการไปโดยไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สุจริตหาได้ไม่ ทั้งมิได้บรรยายว่าจำเลยรับฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือเหตุผลสนับสนุนเพียงพอหรือโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลย ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 60 ที่ระบุให้ฝ่ายที่ไม่พอใจคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง หมายถึงให้คู่กรณีฟ้องเพื่อขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาเกี่ยวด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ว่าผู้ใดมีสิทธิดีกว่ากัน โดยเจ้าพนักงานที่ดินจะรอเรื่องการออกโฉนดไว้ก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการต่อสู้คดี การวินิจฉัยนอกประเด็นคำให้การไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์และให้จำเลยเช่าบางส่วน ต่อมาโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับการยกให้จากบิดาจำเลยและจำเลยได้เข้าครอบครองมาประมาณ 40 ปีไม่เคยเช่าจากโจทก์ คำให้การดังกล่าวไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้ แม้ตามทางพิจารณาของโจทก์จะได้ความว่าเมื่อโจทก์ที่ 1 ไปทวงค่าเช่าจำเลยไม่ชำระโจทก์ที่ 1 ไปร้องเรียนต่อปลัดอำเภอ ปลัดอำเภอเรียกจำเลยมาเจรจากับโจทก์ที่ 1 แล้ว จำเลยโต้เถียงว่าไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ไม่เคยชำระค่าเช่ามาก่อนศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การและไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4598/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน การที่จำเลยอ้างสิทธิครอบครองปรปักษ์ต้องยกขึ้นเป็นประเด็นในคำให้การ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่โจทก์อ้างว่าเป็นของโจทก์และให้จำเลยเช่าบางส่วน ต่อมาโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าแล้ว จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยได้รับการยกให้จากบิดาจำเลยและจำเลยได้เข้าครอบครองมาประมาณ 40 ปี ไม่เคยเช่าจากโจทก์ คำให้การดังกล่าวไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 จำเลยจึงไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้ แม้ตามทางพิจารณาของโจทก์จะได้ความว่าเมื่อโจทก์ที่ 1 ไปทวงค่าเช่าจำเลยไม่ชำระ โจทก์ที่ 1 ไปร้องเรียนต่อปลัดอำเภอ ปลัดอำเภอเรียกจำเลยมาเจรจากับโจทก์ที่ 1 แล้ว จำเลยโต้เถียงว่าไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 1 ไม่เคยชำระค่าเช่ามาก่อนศาลก็ไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ถูกแย่งการครอบครองได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยต่อสู้ไว้ในคำให้การและไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: การโอนเช็คขีดคร่อมทั่วไปและการไม่สามารถอ้างการผิดสัญญาของผู้ทรงคนก่อนเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ทรงคนหลัง
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปสั่งจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3โดยมิได้มีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจที่จะสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่ โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็ค โจทก์จึงเป็นผู้รับโอนเช็คจากจำเลยที่ 3 มาไว้ในครอบครองโดยชอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องสอนการผลิตหินอ่อนเทียมให้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 แล้วจำเลยที่ 3 ผิดข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การผิดสัญญาดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญาหรือมีส่วนรู้เห็น แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพัน ระหว่างตนกับจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนยกขึ้นใช้ยันโจทก์ ผู้ทรงเพื่อไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทได้ เว้นแต่จำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนเช็คมีอำนาจฟ้องได้ แม้ผู้สั่งจ่ายมีข้อพิพาทกับผู้ทรงคนก่อน
เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไปสั่งจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3โดยมิได้มีคำว่า "ห้ามเปลี่ยนมือ" จำเลยที่ 3 ย่อมมีอำนาจที่จะสลักหลังโอนเช็คพิพาทให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะที่เป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ เมื่อจำเลยที่ 3 สลักหลังเช็คพิพาทส่งมอบให้แก่โจทก์เป็นการชำระหนี้แทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คโจทก์จึงเป็นผู้รับโอนเช็คจากจำเลยที่ 3มาไว้ในครอบครองโดยชอบ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 904 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3โดย มี ข้อตกลงว่าจำเลยที่ 3 จะต้องสอนการผลิตหินอ่อนเทียมให้จำเลย ที่ 1 ที่ 2 แล้วจำเลยที่ 3 ผิดข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาต่อจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่การผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญาหรือมีส่วนรู้เห็นแต่อย่างใดจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่อาจอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างตนกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ทรงคนก่อนยกขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้ทรงเพื่อไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาทได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 โอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยคบคิดกันฉ้อฉลจำเลยที่ 1 ที่ 2 จำเลยที่ 1 ที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีและการขาดนัดพิจารณา: ศาลแพ่งมีอำนาจอนุญาตเลื่อนคดีได้ แม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน
วันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน จำเลยมาศาล ส่วนโจทก์ไม่ได้ไปศาลเจ้าของคดีตามนัด แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีต่อศาลแพ่งอันเป็นศาลที่โจทก์และทนายโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ อ้างเหตุว่าทนายโจทก์ป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์และความเห็นของแพทย์แนบไปด้วยศาลแพ่งจึงสั่งให้โจทก์เลื่อนคดีและได้แจ้งให้ศาลเจ้าของคดีทราบอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลแพ่งมีอำนาจทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 10 ดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์ได้ร้องขอเลื่อนคดีหรือแจ้งเหตุขัดข้องที่ไม่ไปศาลเสียก่อนลงมือสืบพยานไม่ถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 197 วรรคสอง แม้โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก่อนวันสืบพยาน 3 วันก็ตาม เมื่อปรากฏว่าศาลเจ้าของคดีสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาก่อนทราบคำสั่งของศาลแพ่งดังกล่าว จึงเป็นการสั่งไปโดยผิดหลง ศาลเจ้าของคดีมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าเกินกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้สิทธิฟ้องคดีระงับ
คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นของจำเลยให้ยกคำคัดค้านของโจทก์และดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยต่อไป แต่ทั้งนี้ให้รอไว้ 90 วันนับแต่วันที่คู่กรณีได้รับสำเนาคำวินิจฉัยตามมาตรา 22 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 นั้น เป็นคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 จึงอยู่ในบังคับที่โจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียน เมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยจากนายทะเบียนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2529แต่มายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่ 10 เมษายน 2530 จึงเกินกำหนดอำนาจ ในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันสิ้นไปตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 22 สิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มิใช่อายุความตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง ดังนั้นแม้ศาลแพ่งจะพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 ก็ตาม ก็หาทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 ไม่อย่างไรก็ดี แม้ระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งศาลจะมีอำนาจขยายระยะเวลานั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 แต่โจทก์จะนำคำสั่งอนุญาตของศาลแพ่งดังกล่าวมาใช้กับศาลชั้นต้นในคดีนี้ไม่ได้เพราะเป็นคนละศาลกัน ทั้งคำสั่งอนุญาตนั้นก็มิได้อาศัย มาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การฟ้องคดีโดยใช้สิทธิตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 เป็นเรื่องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีการจดทะเบียนไว้แล้ว ส่วนการแย่งสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้มีการจดทะเบียนหาใช่เรื่องใช้สิทธิตามมาตราดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4076/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานจดทะเบียนที่ดินปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบรู้ว่าผู้มาจดทะเบียนไม่ใช่เจ้าของที่ดินทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับจำนองและผู้รับซื้อฝาก
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินมีหน้าที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม มีผู้แอบอ้างว่าเป็น พ. ให้กับโจทก์แต่จากลายพิมพ์นิ้วมือของ พ. ในแบบสอบสวนเพื่อขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์กับลายพิมพ์นิ้วมือของ พ. ในสัญญาจำนองและขายฝากปรากฏชัดว่าเป็นลายพิมพ์นิ้วมือคนละชนิด อีกทั้งในวันทำสัญญาจำนองและขายฝากจำเลยได้เตรียมสัญญาต่าง ๆ ให้ผู้ที่แอบอ้างว่าเป็น พ. ลงชื่อไว้เรียบร้อยแล้ว การที่จำเลยเสนอให้มีการจดทะเบียนจำนองและขายฝากที่ดินของ พ. ทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้อยู่แล้วว่าผู้มาขอจดทะเบียนมิใช่ พ. จำเลยย่อมเล็งเห็นผลที่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้รับจำนองและผู้รับซื้อฝาก ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แล้ว การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตแม้ไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4070/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกเฉยต่อการดำเนินคดีและการประวิงคดี ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและงดสืบพยาน
ศาลอนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีไปครั้งหนึ่ง โดยกำชับจำเลย ให้เตรียมพยานมาให้พร้อมเพื่อให้สืบทั้งหมดในวันนัด หากพยานฝ่ายใดไม่มาศาลจะถือว่าฝ่ายนั้นไม่ติดใจสืบพยาน เมื่อถึงวันนัดทนายจำเลยยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีกอ้างว่าจำเลยติดธุระจำเป็นที่กรุงเทพมหานครอันเป็นข้ออ้างที่เลื่อนลอยทั้งไม่ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นอัน ไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และจำเลยมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจของ ศาลว่าถ้าศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนต่อไปอีกจะทำให้เสียความยุติธรรม ดังบัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคแรก พฤติการณ์ของจำเลย ดังกล่าวส่อแสดงว่า จำเลยเพิกเฉยไม่สนใจในการดำเนินคดีของตน เป็นการประวิงคดี ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และงดสืบพยาน จำเลยเสียได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังอาวัลเช็คเพื่อชำระหนี้กู้ยืม เจตนาผู้สลักหลังสำคัญ แม้ไม่ใช่คู่สัญญากู้ยืมโดยตรง
ตามบันทึกการกู้ยืมเงินมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้เงินโจทก์ได้ออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อเป็นประกันเงินกู้แต่เมื่อบันทึกดังกล่าวจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังอาวัลเช็คพิพาทมิได้เข้าเป็นคู่สัญญาด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่อาจเอาข้อตกลงตามบันทึกที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้มาเป็นเจตนาของจำเลยที่ 2 ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามบันทึกกู้ยืมให้โจทก์เสร็จสิ้น จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่า โจทก์เติมวันเดือนปีที่สั่งจ่ายเช็คพิพาทเอง มิได้ทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามสัญญากู้ จำเลยที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249.
of 47