คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชุม สุกแสงเปล่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4030/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน, ลักษณะคล้ายกัน, และข้อจำกัดระยะเวลาฟ้องร้อง
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นภาพแหวนและภาพมงกุฎ ส่วนคำขอของจำเลยเป็นภาพแหวนสวมมงกุฎประกอบด้วยอักษรโรมันคำว่า "NEPLUSULTRADARNERSDIMONDDRILLDEYED" และภาพมงกุฎเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์และจำเลยมีลักษณะของแหวนและมงกุฎเป็นชนิดเดียวกัน ตัวแหวน หัวแหวน รูปลักษณะ ของ มงกุฎและลวดลายของมงกุฎเหมือนกัน รูปรอยประดิษฐ์ภาพแหวนสวมมงกุฎสีขาวที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งหมดของโจทก์และของจำเลยอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมที่มีลวดลายโดยรอบคล้ายกันอยู่ในพื้นสีน้ำเงินทึบลวดลายสีขาว ลายเส้นก็คล้ายกัน ตัวอักษรโรมันสีขาวคำว่า "NEPLUSULTRADARNERSDRILLDEYED" ที่ใช้เขียนใต้เครื่องหมายการค้าก็เหมือนกัน แตกต่างกันเพียงว่ามีตัวเลขอารบิค สีขาว "3000" อยู่ระหว่างคำว่า "DIMOND" กับคำว่า "DRILLDEYED" และที่ขอบสี่เหลี่ยมไม่มีลวดลายสีขาวเท่านั้น นอกนั้นเหมือนกันหมด ทั้งปรากฏว่าได้นำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกัน เครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์เป็นการนำเอาส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้ยื่นคำขอไว้มาใช้ เป็นการมุ่งหมายจะลวงหรือทำให้เกิดสับสนกันได้ว่าเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน นอกจากคำขอให้พิพากษาว่าจำเลยมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าและมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอที่จำเลยได้ยื่นไว้แล้วดีกว่าโจทก์ทั้งสอง และห้ามมิให้ขัดขวางการที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยแล้ว คำขออื่นตามฟ้องแย้งของจำเลยล้วนเป็นคำขอเพื่อป้องกันและเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสิ้น ดังนั้นแม้จะปรากฏว่าจำเลยมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยดีกว่าโจทก์ เพราะจำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อนโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยยังมิได้รับการจดทะเบียนและนับแต่ได้ใช้พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาจนถึงวันฟ้องแย้งก็เป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้ว ดังนี้ จำเลยจึงนำคดีสู่ศาลเพื่อป้องกันหรือเรียกค่าเสียหายในการล่วงสิทธิเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคแรก และฟ้องแย้งของจำเลยก็มิได้บรรยายให้ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองเอาสินค้าของโจทก์ทั้งสองไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของจำเลย กรณีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการลวงขายที่จะต้องวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 29 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งให้ศาลบังคับตามคำขออื่นดังกล่าวตามฟ้องแย้งของจำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลและผลกระทบต่อการรับคำฟ้อง: การสั่งรับฟ้องก่อนเสียค่าขึ้นศาลเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ในคดีที่โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในเวลายื่นคำฟ้องนั้น หากศาลชั้นต้นสั่งรับคำฟ้องของโจทก์และกำหนดระยะเวลาให้โจทก์แถลงเกี่ยวกับกรณีที่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้อีกฝ่ายไม่ได้ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังมิได้เสียค่าขึ้นศาล และศาลยังมิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาล คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งรับฟ้องโจทก์ตลอดจนกระบวนพิจารณาต่อจากนั้นจนถึงคำสั่งจำหน่ายคดีย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อุทธรณ์ที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (2)(ก) กำหนดให้เรียกค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงแรมต้องรับผิดต่อความเสียหายรถยนต์ของผู้เข้าพัก หากระเบียบจำกัดความรับผิดไม่ชัดเจนและผู้เข้าพักไม่ได้ตกลง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องบังคับจำเลย โดยนำเอาสัญญาเช่าซื้อมานำสืบประกอบฐานะของผู้เอาประกันภัยว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ มิได้นำสืบบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยตรง แม้สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่ามีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร.ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบ เมื่อปรากฏว่า ร.มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 677จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้
เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลย ร.ได้แจ้งให้ พ.ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่ พ.ปฏิเสธความรับผิด ดังนี้ ถือได้ว่า ร.บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงแรมต้องรับผิดชอบความเสียหายรถยนต์ของผู้เข้าพัก หากระเบียบยกเว้นความรับผิดไม่ชัดเจนและผู้เข้าพักไม่ได้ตกลง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องบังคับจำเลย โดยนำเอาสัญญาเช่าซื้อมานำสืบประกอบฐานะของผู้เอาประกันภัยว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ มิได้นำสืบบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยตรง แม้สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่า มีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร. ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อปรากฏว่า ร. มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677 จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้ เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลยร.ได้แจ้งให้ พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่พ.ปฏิเสธความรับผิดดังนี้ถือได้ว่าร. บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้า, การยกเว้นความรับผิด, และขอบเขตค่าเสียหายที่ต้องชดใช้
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 2ที่ 3 เข้าร่วมและประกอบกิจการเป็นผู้ขนส่งในนามของจำเลยที่ 1เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน และบรรยายถึงวันเวลาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 ร่วมกันขนส่งกระจกของโจทก์ พฤติการณ์ของคนขับรถของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ขับรถจนทำให้กระจกของโจทก์ได้รับความเสียหายฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่แสดงโดยชัดแจ้งถึงการกระทำของจำเลยและการร่วมกิจการของจำเลยทั้งสามแล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม เมื่อ ศ. กรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินคดีแทน โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสืบไม่ได้ว่าสินค้าที่ขนส่งเสียหายเพราะเหตุสุดวิสัยหรือเพราะความผิดของโจทก์ผู้ส่ง จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ เอกสารที่จำเลยทำขึ้นเป็นเอกสารสั่งจ่ายรถยนต์ของจำเลยเองแม้จะมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยไว้ แต่ก็หาใช่ใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นทำนองนั้น ซึ่งจำเลยออกให้โจทก์และโจทก์ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตามป.พ.พ. มาตรา 625 ไม่ กระจกของโจทก์ที่ให้จำเลยรับขนเป็นทรัพย์สินที่แตกหักได้ง่ายมิใช่ของมีค่าอย่างอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 ประกอบกับตัวแทนของโจทก์ได้แจ้งสภาพแห่งของให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบแล้วจำเลยจึงไม่อาจอ้างประกาศอัตราค่าขนส่งของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ที่จำกัดความรับผิดในค่าเสียหายของจำเลยมาใช้กับโจทก์ได้ การที่จำเลยรับขนกระจกของโจทก์แต่จำเลยทำกระจกของโจทก์แตกเสียหายจนโจทก์ต้องไปว่าจ้างบุคคลอื่นให้ติดตั้งกระจกชั่วคราวที่ศูนย์การค้าของโจทก์ เพื่อให้เสร็จก่อนกำหนดพิธีเปิด ค่าติดตั้งกระจกดังกล่าวมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายในการออกของและค่าภาษีอากรขาเข้านั้น เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและถือว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรงอันจำเลยต้องรับผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่ง, การยกเว้นความรับผิด, และค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขนส่งสินค้า
จำเลยขนส่งกระจกให้โจทก์ ใบสั่งจ่ายรถยนต์เงินสดของจำเลยแม้จะมีข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้แต่ก็หาใช่ใบรับใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ในทำนองนั้น ซึ่งจำเลยออกให้โจทก์และโจทก์ได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 อันจะเป็นเหตุให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิด กระจกลามิเนทของโจทก์เพียงแต่เป็นทรัพย์สินที่แตกหักได้ง่าย ไม่ใช่ของมีค่าตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 620 การที่กระจกซึ่งจำเลยขนส่งแตกหักเสียหายนั้น ค่าจ้างในการจัดหากระจกมาติดตั้งชั่วคราวที่อาคารศูนย์การค้าของโจทก์หาใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนี้ล่วงหน้าก่อนแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด ส่วนค่าใช้จ่ายในการออกของและค่าภาษีอากรขาเข้าสำหรับกระจกดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นและถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายโดยตรง จำเลยต้องรับผิดในค่าใช้จ่ายดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาซื้อขายอ้อย: โจทก์ไม่ชำระค่าอ้อย จำเลยไม่ต้องรับผิด
คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 สรุปใจความได้ว่า จำเลยที่ 1อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าเสียหายแก่โจทก์ โดยอ้างเหตุในอุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เนื่องจากโจทก์เป็นฝ่ายสั่งให้จำเลยที่ 1 หยุดตัดอ้อยเอง จึงมีประเด็นในชั้นพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์กล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ตัดอ้อยที่ปลูกทำลงไว้ตามสัญญาโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่นทั้งหมดไม่ส่งมอบแก่โจทก์ แต่กลับได้ความว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ปลูกอ้อยตามข้อตกลงกับโจทก์แล้ว โจทก์สั่งให้จำเลยที่ 1 ตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในนามของโจทก์ 7 คันรถบรรทุก มิใช่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1ตัดอ้อยรายพิพาทไปขายให้บุคคลอื่นทั้งหมดโดยไม่ส่งมอบแก่โจทก์เมื่อจำเลยตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในนามของโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ยอมจ่ายค่ารถบรรทุกอ้อยให้แก่จำเลยที่ 1 และไม่ยอมคืนใบชั่งน้ำหนักอ้อยให้แก่จำเลยที่ 1 พฤติการณ์ของโจทก์แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่ ไม่ยอมคิดบัญชีและชำระราคาค่าอ้อยให้แก่จำเลยที่ 1 ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา หลังจากโจทก์ไม่ยอมจ่ายค่าจ้างให้จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ร้องเรียนโจทก์แต่ไม่อาจตกลงกันได้ และโจทก์ไม่เคยสั่งให้จำเลย ที่ 1นำอ้อยมา ตรวจ ความหวานหรือสั่งให้จำเลยที่ 1 ตัดอ้อยส่งโรงงานน้ำตาลในนามของโจทก์อีก จนในที่สุดทางโรงงานน้ำตาลได้แยกโควต้าส่งอ้อยให้จำเลยที่ 1 ต่างหากในนามของจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญาการส่งอ้อยในส่วนที่เหลือโดยปริยายแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระบุรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด แม้เกิดจากละเมิดของบุคคลภายนอก ถือเป็นค่าเสียหายโดยตรง
โจทก์ที่ 2 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ค. โดยมีข้อกำหนดให้โจทก์ที่ 2 ต้องรับผิดในค่าเสียหายอันเกิดแก่รถยนต์ทุกกรณีและต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยมิได้กำหนดให้หักค่าเสื่อมราคาได้ ข้อสัญญาดังกล่าวมีผลบังคับได้ เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดเสียหายทั้งคัน โจทก์ที่ 2ต้องชำระค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือให้ผู้เช่าซื้อตามข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าค่าเช่าซื้อที่โจทก์ที่ 2 จะต้องชำระให้ผู้ให้เช่าซื้อเป็นค่าเสียหายโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย การใช้รถยนต์ และความเสียหายจากเหตุอื่น
กรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3 มีข้อความว่า จำเลยที่ 3จะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมาย เพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย ข้อความดังกล่าวมีความหมายแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 จะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยแก่บุคคลภายนอกเฉพาะแต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการใช้รถคันที่เอาประกันภัยเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไฟไหม้พื้นถนนของโจทก์เกิดเพราะจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2ผู้เอาประกันภัยทิ้งสินค้าที่เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นเองบนรถที่เอาประกันภัย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่อุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยจำกัดเฉพาะความเสียหายจากอุบัติเหตุการใช้รถยนต์เท่านั้น ไม่ครอบคลุมความเสียหายจากสาเหตุอื่น
กรมธรรม์ประกันภัยที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับจำเลยที่ 3มีข้อความว่า จำเลยที่ 3 จะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาเอาประกันภัย ข้อความดังกล่าวมีความหมายแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 จะรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแทนผู้เอาประกันภัยแก่บุคคลภายนอกเฉพาะแต่อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการใช้รถคันที่เอาประกันภัยเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าเหตุที่ไฟไหม้พื้นถนนของโจทก์เกิดเพราะจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยทิ้งสินค้าที่เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นเองบนรถที่เอาประกันภัย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงมิใช่อุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัย.
of 47