พบผลลัพธ์ทั้งหมด 461 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3787/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงลายมือชื่อหลังใบตราส่งถือเป็นการตกลงยกเว้น/จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
การที่ผู้ส่งสินค้าลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญไว้ในใบตราส่งด้านหลังซึ่งได้กำหนดเงื่อนไขและความรับผิดไว้ นอกจากจะเป็นการโอนสิทธิตราสารให้แก่ผู้รับตราส่งแล้ว ยังถือว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดแล้วหากเกิดความเสียหายขึ้นแก่สินค้า ผู้รับขนย่อมต้องรับผิดตามเงื่อนไขที่จำกัดความรับผิดไว้เท่านั้น โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่อาจฟ้องจำเลยผู้รับขนให้รับผิดตามมูลค่าของความเสียหายที่เกิดแก่สินค้าได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คเพื่อเป็นประกัน (อาวัล) จำเลยมีหน้าที่รับผิดต่อผู้ทรงเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหลังเช็คย่อมเป็นการสลักหลังเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921,989จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3759/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คเพื่อเป็นประกัน (อาวัล) ทำให้ผู้สลักหลังต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหลังเช็คย่อมเป็นการสลักหลังเป็นประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนลวงสาธารณชน แม้มีคำ ‘กุ๊ก’ ร่วมกัน ศาลยืนคำพิพากษายกฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปพ่อครัวถือจานอาหารมืออีกข้างหนึ่งชู นิ้วหัวแม่มืออยู่ในวงกลมลวดลายประดิษฐ์ มีอักษรไทยคำว่า "มิสเตอร์กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "M.R.COOK"อยู่ด้านบนและรูปแถบคล้ายริบบิ้น อยู่ด้านล่าง ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" กับเป็นรูปการ์ตูนคล้ายขวดบรรจุน้ำมันพืชมีอักษรไทย คำว่า "กุ๊ก" และอักษรโรมันคำว่า "COOK" อยู่บนลำตัวของรูปดังกล่าว แม้ของจำเลยจะมีคำว่า "กุ๊ก" และคำว่า "COOK" เป็นสาระสำคัญส่วนหนึ่งในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นคำเดียวกันกับคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำดังกล่าวเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป มิใช่คำประดิษฐ์ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าว และเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายก็มีเสียงเรียกขานแตกต่างกันโดยของโจทก์เรียกว่า กุ๊ก ส่วนของจำเลยเรียกว่า มีสเตอร์กุ๊กสินค้าที่โจทก์ผลิตออกจำหน่ายในท้องตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียว คือ น้ำมันพืชเท่านั้น ส่วนสินค้าของจำเลยเป็นน้ำปลา ซอส ชูรส น้ำมันหมู น้ำส้มสายชูและไส้กรอก ไม่มีน้ำมันพืช แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะทำให้สาธารณชนหลงผิดดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ถือไม่ได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3692/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนที่ทำให้สาธารณชนสับสน และสิทธิของผู้มีเครื่องหมายการค้าที่ใช้ก่อน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า"DIMETAPP" กับของจำเลยคำว่า"MEDITAPP" ต่างก็เป็นคำของภาษาต่างประเทศพิมพ์ด้วยอักษรโรมันลักษณะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่อย่างเดียวกัน สำเนียงอ่านออกเสียงคล้ายกันตัวอักษรมีจำนวนเท่ากัน ถ้าไม่สังเกตจะเข้าใจว่า เครื่องหมายการค้า ของโจทก์และของจำเลยเป็นอย่างเดียวกัน เพราะอักษรทุกตัวเหมือนกันเพียงแต่สลับคำพยางค์หน้า 2 คำ เท่านั้น และจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวก 3 เช่นเดียวกับของโจทก์แม้จะระบุรายการสินค้าว่า ยาแก้หวัด แต่ในข้อบ่งใช้ที่ยา ของจำเลยก็ระบุว่าเป็นยาบรรเทาอาการแพ้ เช่น แพ้อากาศ คัดจมูก น้ำมูกไหล แก้หืด เป็นต้น เช่นเดียวกับยาของโจทก์ ทั้งยาของโจทก์ จำเลยต่างก็เป็นยาเม็ดและยาน้ำด้วยกัน แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่จะลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ นำไปจดทะเบียนไว้แล้วเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันจนถึงนับได้ว่า เป็นการลวงสาธารณชน ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 16 คำว่า "TAPP" แม้จะฟังว่าอักษร "TA" ย่อมาจากคำว่า"TABLET" และอักษร "PP" เป็นชื่อย่อของสารเคมี 2 ชนิดแต่เมื่อนำอักษรดังกล่าวมารวมกันเป็นคำว่า "TAPP" จึงจัดว่าเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นพึงรับจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าได้ตามมาตรา 4(3) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 หาใช่ชื่อสามัญหรือสิ่งใดที่ใช้กันสามัญในการค้าขายซึ่งต้องห้ามถือเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่ง แห่งเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันไม่ แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่นำไปจดทะเบียนจะไม่เหมือนเพียงแต่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์และโจทก์ไม่ได้คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ก็ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีตามสิทธิของโจทก์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเพราะโจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของโจทก์ผลิตออกจำหน่ายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ายาของจำเลยเป็นเวลาหลายปี โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยลอกเลียนนำไปจดทะเบียนดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดตามเช็ค หากไม่ได้ลงลายมือชื่อ และไม่มีสัญญาเป็นประโยชน์แก่บุคคลภายนอก
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คธนาคารจำเลยโดยมี พ.เป็นผู้สั่งจ่ายแต่ธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้ง ๆ ที่บัญชีกระแสรายวันของ พ. พอที่จะจ่ายได้ ทั้งนี้เพราะนายจ้างของ พ. มีหนังสือแจ้งมายังธนาคารจำเลยขออายัดการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท เนื่องจาก พ. ได้ฉ้อโกงเงินของนายจ้างดังนี้โจทก์ฟ้องธนาคารจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อธนาคารจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ย เอาแก่บุคคลทั้งหลายที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น บทบัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 991 นั้นถ้า จำเลยไม่ใช้เงินแก่โจทก์โดยไม่มีข้อแก้ตัวตามมาตรา 991(1) หรือ (2) หรือ (3)ธนาคารจำเลยก็จะต้องรับผิดต่อผู้เคยค้า คือ พ. ผู้สั่งจ่ายเท่านั้น เพราะเป็นคู่สัญญาของจำเลยตามสัญญาฝากเงินบัญชีกระแสรายวัน และมาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น การที่ พ. ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันไว้กับธนาคารจำเลยและมีข้อตกลงว่าการเบิกเงินจากบัญชีต้องใช้เช็คในการสั่งจ่ายเงินข้อสัญญาดังกล่าวระหว่างจำเลยกับ พ. ผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374,375.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดในเช็คที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ผู้ทรงเช็คต้องไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย
ธนาคารจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงฟ้องจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทตามกฎหมายเรื่องตั๋วเงินไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น
ป.พ.พ. มาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น เมื่อกรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) ของมาตรา 991ก็ให้สิทธิแก่ธนาคารที่จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่าย หรือธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ แต่จะหักเงินจากบัญชีของผู้เคยค้าได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาจากมูลเหตุที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเป็นราย ๆ ไป
สัญญาระหว่างธนาคารกับผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375
ป.พ.พ. มาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น เมื่อกรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตาม (1) หรือ (2) หรือ (3) ของมาตรา 991ก็ให้สิทธิแก่ธนาคารที่จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่าย หรือธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ แต่จะหักเงินจากบัญชีของผู้เคยค้าได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาจากมูลเหตุที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเป็นราย ๆ ไป
สัญญาระหว่างธนาคารกับผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374 และมาตรา 375
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารไม่ต้องรับผิดในเช็คที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ผู้ทรงเช็คต้องฟ้องผู้สั่งจ่าย
ธนาคารจำเลยไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คจึงฟ้องจำเลยให้ใช้เงินตามเช็คพิพาทตามกฎหมายเรื่องตั๋วเงินไม่ได้ สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาทเมื่อจำเลยปฏิเสธการจ่ายเงินก็ได้แต่จะฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลที่ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเท่านั้น ป.พ.พ. มาตรา 991 มีวัตถุประสงค์เพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของธนาคารที่มีต่อผู้เคยค้าเท่านั้น เมื่อกรณีต้องด้วยข้อยกเว้น ตาม(1) หรือ (2) หรือ (3) ของมาตรา 991 ก็ให้สิทธิแก่ธนาคารที่ จะไม่จ่ายเงินตามเช็คได้โดยไม่ต้องรับผิดต่อผู้เคยค้าหรือผู้สั่งจ่ายหรือธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้ แต่จะหักเงินจากบัญชีของผู้เคยค้าได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องพิจารณาจากมูลเหตุ ที่ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คเป็นราย ๆ ไป สัญญาระหว่างธนาคารกับผู้เคยค้าไม่มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 374และมาตรา 375.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ไม่สามารถแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ไม่เคยอุทธรณ์ แม้ไม่ได้เป็นคู่ความโดยตรง
แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้นำเช็คที่จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายมาขายแก่โจทก์ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องถึงจำเลยที่ 2 ด้วยได้เพราะเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247,245(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3659/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คเพื่อรับประกันหนี้: ความรับผิดของผู้สลักหลังต่อผู้ทรงเช็ค
เช็คพิพาท เป็น เช็ค ที่ สั่ง ให้ ใช้ เงิน แก่ ผู้ถือ การ ที่ จำเลย ที่ 2 ลงลายมือชื่อ ไว้ ที่ ด้านหลัง เช็ค ย่อม เป็น การ สลักหลัง เป็น ประกัน ( อาวัล ) สำหรับ ผู้สั่งจ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 921, 989 จำเลย ที่ 2 จึง ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ ซึ่ง เป็น ผู้ทรง อย่างเดียว กับ ผู้สั่งจ่าย .