คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
พิชิต พรหมพิทักษ์กุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกวดราคา, การผิดสัญญา, หนังสือค้ำประกัน, ความรับผิดของผู้เสนอราคาและผู้ค้ำประกัน, อายุความค้ำประกัน
จำเลยที่ 3 ได้ออกหนังสือค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคาก่อสร้างอาคารของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ว่า จำเลยที่ 3 ขอรับเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อโจทก์ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโจทก์ในการยื่นซองประกวดราคาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ไม่สามารถเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้แล้วจำเลยที่ 3 จะเป็นผู้ชำระเงินค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 หนังสือค้ำประกันฉบับนี้มีกำหนดอายุค้ำประกัน120 วัน โดยโจทก์จะต้องแจ้งการผิดสัญญาของจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 3 ทราบภายในกำหนดดังกล่าวด้วย ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่ยอมไปทำสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ตามที่ยื่นซองประกวดราคาได้ โจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ที่ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้ยกข้อต่อสู้ในข้อที่โจทก์ไม่ได้บอกเรื่องจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกวดราคา ให้จำเลยที่ 3 ทราบภายในระยะเวลาที่ค้ำประกันเพียงแต่ขอให้ไปเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อนก็ตามก็ไม่เป็นการสละข้อต่อสู้ในเรื่องระยะเวลาค้ำประกันดังนั้น ภายหลังเมื่อถูกโจทก์ฟ้องแล้ว จำเลยที่ 3 ย่อมมีสิทธิให้การต่อสู้คดีโดยยกข้อต่อสู้ต่าง ๆ ที่มีอยู่รวมทั้งเหตุดังกล่าวขึ้นเป็นข้อเถียงเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนได้ เมื่อจำเลยที่ 3 ได้ยกเหตุดังกล่าวให้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วและข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบภายในกำหนดระยะเวลาที่ค้ำประกันว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกวดราคาต่อโจทก์ โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2252/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน-หนังสือแจ้งหนี้ค้างชำระ-จำกัดสิทธิเรียกหนี้-อายุความ-ศาลฎีกาวินิจฉัย
เงื่อนไขในการประกวดราคาสัญญาก่อสร้างอาคารระบุว่าเมื่อโจทก์ตกลงเลือกผู้เข้าประกวดราคารายใดให้เป็นผู้รับจ้างและนัดให้ไปทำสัญญาแล้ว ผู้ถูกเลือกจะต้องไปทำสัญญาภายในกำหนดหากผู้ถูกเลือกไม่ยอมรับทำสัญญาโจทก์จะริบเงินมัดจำซองประกวดราคาและหากปรากฏว่าโจทก์ต้องจ้างผู้อื่นก่อสร้างแทนแพงกว่าราคาที่เสนอไว้รวมกับเงินประกันที่ยึดไว้แล้ว ผู้เสนอราคายินยอมที่จะชดใช้ราคาในส่วนที่เกินนั้นด้วยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ตกลงเลือกเป็นผู้เข้าประกวดราคาได้ไม่ยอมไปทำสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ตามที่ยื่นซองประกวดราคาได้ ทำให้โจทก์ต้องจ้าง ช. ก่อสร้างอาคารของโจทก์ในราคาสูงกว่าราคาที่จำเลยที่ 1 ประมูลได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายในราคาที่สูงขึ้นนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่ากำหนดเวลาให้ใช้ดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฎีกาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่ก่อนวันฟ้องกรณีก็ถือว่าโจทก์ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งในปัญหาเรื่องดอกเบี้ยแล้ว ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ที่ค้ำประกันจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 3 ไม่ได้โต้แย้งโจทก์เรื่องที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบภายในระยะเวลาค้ำประกันถึงกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกวดราคาแต่จำเลยที่ 3 ก็ยังมีสิทธิยกข้อต่อสู้ดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนในชั้นให้การได้ ปัญหาที่โจทก์ฎีกา โจทก์มิได้ยกขึ้นโต้แย้งในอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นข้อมิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหานี้ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินที่หามาได้ร่วมกันหลังฉันทามีภริยา และการลงทุนในกิจการค้า
โจทก์และจำเลยแต่งงานกัน โดยมิได้จดทะเบียนสมรสภายหลังจากแต่งงานกันประมาณ 2 เดือน โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านพิพาทจากวัดโดยจำเลยได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาเช่านั้นด้วย โจทก์และจำเลยได้พักอาศัยและทำการค้าร่วมกันในร้านพิพาทเป็นเวลาประมาณ 9 เดือนหลังจากนั้นโจทก์ได้เลิกร้างกับจำเลยและออกจากบ้านพิพาทไป ดังนี้ไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นคนชำระเงินค่าเซ้งสิทธิการเช่าหรือเป็นผู้เช่าร้านพิพาทมาก็ตาม แต่สิทธิการเช่าร้านพิพาทเกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์และจำเลยอยู่ร่วมฉันสามีภริยากันแล้ว นอกจากนั้นโจทก์และจำเลยได้พักอาศัยและร่วมทำการค้าอยู่ในร้านพิพาทด้วยกันเรื่อยมา สิทธิการเช่าร้านพิพาทเป็นทรัพย์ที่หามาได้โดยโจทก์และจำเลยมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน การที่โจทก์ลงชื่อเป็นผู้เช่าร้านพิพาทแต่เพียงผู้เดียว ไม่เป็นข้อสันนิษฐานว่าจำเลยไม่มีส่วนร่วมด้วย สิทธิการเช่าร้านพิพาทจึงเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกเงินที่นำไปลงทุนร่วมกันในการซื้อสินค้าเข้าร้านที่เช่ามาจากวัด แต่เงินนั้นได้เอาไปซื้อสินค้าไว้จำหน่ายในร้านแล้ว ตามฟ้องมิได้ขอให้แบ่งสินค้าในร้าน ศาลจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้เงินตามที่โจทก์ฟ้องได้ แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลฎีกา พิพากษาไม่ตัดสิทธิที่จะนำคำฟ้องไปยื่นใหม่เกี่ยวกับสิทธิสินค้าในร้านต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร่วมกันในร้านเช่าจากการอยู่ร่วมฉันสามีภริยา และการเรียกร้องเงินลงทุนในกิจการค้า
โจทก์และจำเลยแต่งงานในปี พ.ศ. 2526 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกัน ภายหลังจากแต่งงานกันประมาณ 2 เดือน โจทก์ทำสัญญาเช่าร้านพิพาท โจทก์และจำเลยได้พักอาศัยและทำการค้าร่วมกันในร้านพิพาทเป็นเวลาประมาณ 9 เดือน หลังจากนั้น โจทก์ได้เลิกร้างกับจำเลยและออกจากบ้านพิพาทไป กรณีไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นคนชำระเงินค่าเซ้ง สิทธิการเช่า หรือเป็นผู้เช่าร้านพิพาท สิทธิการเช่าร้านพิพาทเกิดขึ้นภายหลังที่โจทก์และจำเลยอยู่ร่วมฉันสามีภริยากันโจทก์และจำเลยได้พักอาศัย และร่วมทำการค้าอยู่ในร้านพิพาทด้วยกันเรื่อยมา แสดงว่าสิทธิการเช่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์ที่หามาได้โดยโจทก์และจำเลยมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน การที่โจทก์ลงชื่อเป็นผู้เช่าร้านพิพาทแต่เพียงผู้เดียว ไม่เป็นข้อสันนิษฐานว่าจำเลยไม่มีส่วนร่วมด้วย สิทธิการเช่าร้านพิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกัน ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ และเรียกค่าเสียหายจากเหตุที่จำเลยไม่ยอมออกจากร้านพิพาท ที่โจทก์เรียกเงินที่นำไปลงทุนในการค้ากับจำเลยนั้น เนื่องจากเงินที่โจทก์นำไปลงทุนได้เอาไปซื้อเป็นสินค้าไว้จำหน่ายในร้านสินค้าที่โจทก์ซื้อมาย่อมจะต้องมีทั้งขายไปและซื้อมาใหม่ ดังนั้นในเวลาที่โจทก์เลิกร้างกับจำเลยสินค้าในร้านอาจมีมาก หรือน้อยกว่าที่เริ่มซื้อมาในครั้งแรก ศาลจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยชดใช้เงินตามที่โจทก์ฟ้องได้ แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สมควรไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่เกี่ยวกับสิทธิสินค้าในร้านพิพาทภายในกำหนดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าทรัพย์สินร่วมกัน: แม้ลงชื่อเช่าเพียงคนเดียว สิทธิยังเป็นของทั้งสองฝ่าย
โจทก์จำเลยแต่งงานกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส หลังจากนั้นได้เช่าร้านพิพาทพักอาศัย และร่วมทำการค้าในร้านพิพาทด้วยกันเรื่อยมา ดังนั้น สิทธิการเช่าร้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของโจทก์จำเลยร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1396/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าร่วมกัน: แม้ลงชื่อเช่าเพียงคนเดียว หากหามาได้ด้วยกันถือเป็นทรัพย์สินร่วม
โจทก์จำเลยแต่งงานกันโดยไม่จดทะเบียนสมรส หลังจากนั้นได้เช่าร้านพิพาทพักอาศัย และร่วมทำการค้าในร้านพิพาทด้วยกันเรื่อยมา ดังนั้น สิทธิการเช่าร้านพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินของโจทก์จำเลยร่วมกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลอกลวงในการแนะนำรักษาพยาบาล และการสิ้นผลของกฎหมายเก่าเมื่อมีกฎหมายใหม่
จำเลยที่ 4 เคยรักษาโรคเบาหวานกับจำเลยที่ 1 โดยเชื่อว่าเป็นแพทย์สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ ต่อมาอาการเจ็บป่วยของจำเลยที่ 4 ทุเลาลง ทำให้เกิดความเลื่อมใสในความสามารถรักษาโรคของจำเลยที่ 1 จึงได้แนะนำให้ ล. รักษาโรคกับจำเลยที่ 1 จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 4 มีเจตนาหลอกลวง ล.ให้รักษาโรคกับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 4 ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรมและตาม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรมฯเป็นการกระทำที่เป็นกรรมเดียวมิใช่คนละกรรม และตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรม ต่อมาได้ถูกยกเลิกไปโดย พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 แล้ว ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้องจึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยเองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน, การประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ขึ้นทะเบียน, และการยกเลิกกฎหมายเดิมด้วยกฎหมายใหม่
พระราชบัญญัติ ควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรม ได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511 แล้ว ดังนั้นที่ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ตามคำขอของโจทก์จึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายเวชกรรม: พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม 2511 ยกเลิก พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะเดิม
พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรม ได้ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2511 แล้ว ดังนั้นที่ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ฯ ตามคำขอของโจทก์จึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเกี่ยวกับการยกเลิกกฎหมายเก่าด้วยกฎหมายใหม่ และการวินิจฉัยข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของศาล
พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับเวชกรรม ได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2511แล้ว ดังนั้นที่ศาลล่างพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะฯ ตามคำขอของโจทก์จึงไม่ถูกต้องปัญหานี้แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาวินิจฉัยเองได้
of 16