พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานนอกประเด็น และการพิพากษาตามข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีสัญญากู้ยืม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตาม สัญญากู้ยืม จำเลยให้การต่อสู้ คดีว่าโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธินำสืบว่า พยานในแบบพิมพ์ดังกล่าวยังไม่มี ก. พยานโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อและมิได้รู้เห็นเหตุการณ์ทั้งศาลกำหนดให้จำเลยนำสืบก่อนจำเลยจึงไม่อาจถามค้านโจทก์ไว้ก่อนได้ การนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ เป็นการนำสืบนอกคำคู่ความและนอกประเด็น โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ 14,000 บาท ได้ความว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์3,532.25 บาท ดังนี้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตาม ที่ได้ความได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การนำสืบกำหนดเวลาชำระเงินส่วนที่เหลือ ไม่เป็นการแก้ไขสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุว่า จำเลยได้ ขายที่ดินให้แก่โจทก์ในราคา 40,000 บาท ชำระเงินแล้ว 10,000 บาท แต่ เอกสารดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระเงินที่เหลืออีก 30,000 บาทภายในกำหนดเวลาเท่าใด การที่โจทก์นำพยานบุคคลสืบถึง กำหนดเวลาที่ต้อง ชำระเงินส่วนที่เหลือจึงเป็นการนำสืบถึง ข้อตกลงต่างหาก จากสัญญาจะซื้อขายเพื่อให้ชัดเจน ดังนี้ ไม่เป็นการนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมเอกสาร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่า: การต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางที่ไม่ใช่การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากที่ดินอันมี ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือน ละสองพัน บาท และเรียกค่าเช่าอันมีทุนไม่เกินสองหมื่นบาท จำเลยให้การต่อสู้ ว่าโจทก์ตกลง ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตาม ฟ้องให้จำเลย แต่ จำเลยไม่มีเงินชำระจึงตกลง ว่าในระหว่างที่จำเลยยังไม่ ได้ ชำระค่าที่ดินงวดสุดท้ายโจทก์ให้จำเลยเช่า ที่ดินดังกล่าวโดย ชำระค่าเช่าเป็นรายปีจนกว่าจะโอน สัญญาเช่าเป็นนิติกรรมอำพราง ดังนี้ จำเลยเพียงแต่อ้างว่าจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทได้ ตาม สัญญา มิใช่กล่าวแก้ ข้อพิพาทด้วย กรรมสิทธิ์และการที่จำเลยให้การต่อสู้ ว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพราง ก็ไม่ใช่ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง การห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโจทก์ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิฟ้องอาญาเนื่องจากการถอนคำร้องทุกข์ และผลกระทบต่อการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และฐาน ฉ้อโกง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็ค ประกันหนี้และได้ ชำระหนี้นั้นแล้ว การกระทำของ จำเลยไม่เป็นความผิดตาม ฟ้อง พิพากษา ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์ขอถอน คำร้องทุกข์ต่อ พนักงานสอบสวนโดย อ้างว่าจะนำคดีมาฟ้องเอง สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2) พิพากษายืน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์ คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนยกฟ้อง ทำให้คู่ความไม่มีสิทธิฎีกา
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโจทก์ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ห้ามฎีกาตามกฎหมาย
แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อกฎหมาย และโจทก์ฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ก็ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 13
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาจากรอการลงโทษเป็นไม่รอการลงโทษ ถือเป็นการเพิ่มเติมโทษ จำเลยมีสิทธิฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้จำคุก 4 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 2 เดือน ไม่รอการลงโทษจำคุกและไม่ปรับ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยเป็นไม่รอการลงโทษจำคุก นั้น เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามจำเลยฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 729/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจำคุกโดยศาลอุทธรณ์และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง โดยการไม่รอการลงโทษถือเป็นการเพิ่มเติมโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 4 เดือน ปรับ 1,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นจำคุก 2 เดือน ไม่รอการลงโทษจำคุก และไม่ปรับ ดังนี้ ถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขมากและเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงไม่ต้องห้ามจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 392/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องการริบของกลาง
ศาลชั้นต้นพิพากษาปรับจำเลย 1,000 บาท กับให้ริบของกลางศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้ดุลพินิจแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยไม่ริบของกลาง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก.