คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
อัมพร เดชศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 387 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนด 10 ปีบังคับคดี: เจ้าหนี้ต้องดำเนินการภายในกำหนด หากพ้นกำหนดจะบังคับคดีไม่ได้
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี และแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ครบถ้วนภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ดังนั้นหากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาแล้วขายทอดตลาดได้เงินไม่คุ้มหนี้และโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีอีก โจทก์จะแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้เมื่อเกินกำหนด 10 ปีแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการส่งมอบงานและผลกระทบต่อสิทธิปรับรายวันของผู้ว่าจ้าง
ตามสัญญา ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา หากผู้รับจ้างยังทำงานให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิปรับเป็นรายวัน การที่ผู้รับจ้างทิ้งงานไปแล้ว แต่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาในทันที ทำนองรับเอาความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีไม่เข้าตามข้อกำหนดในสัญญา และคู่กรณีไม่ได้ตกลงเรื่องผู้รับจ้างทิ้งงานไปเป็นพิเศษ โจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับสัญญาเมื่อผู้รับจ้างทิ้งงาน: สิทธิปรับรายวันของผู้ว่าจ้างมีเงื่อนไขว่าต้องไม่ยอมรับการทิ้งงาน
ตามสัญญา ถ้าผู้รับจ้างส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา หากผู้รับจ้างยังทำงานให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิปรับเป็นรายวันการที่ผู้รับจ้างทิ้งงานไปแล้ว แต่โจทก์ไม่บอกเลิกสัญญาในทันทีทำนองรับเอาความเสียหายที่เกิดขึ้น กรณีไม่เข้าตามข้อกำหนดในสัญญาและคู่กรณีไม่ได้ตกลงเรื่องผู้รับจ้างทิ้งงานไปเป็นพิเศษ โจทก์ในฐานะผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิปรับจำเลยเป็นรายวันได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4753/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและพาอาวุธปืนโดยไม่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ศาลลดโทษและรอการลงโทษ
การที่จำเลยพาอาวุธปืนติดตัวไปกับผู้อื่นซึ่งพกเงินไปจำนวน 300,000 บาท เพื่อทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ต่างจังหวัดในเวลากลางคืนนั้น ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4739/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ และการลดโทษตามกฎหมายอาญา
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 วรรคสองที่บัญญัติว่าคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่ ศาลชั้นต้นวางโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5แต่ละโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 และ 52(2)คงให้จำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 คนละ 30 ปี เมื่อโจทก์จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์คงมีแต่จำเลยที่ 2 ที่ 4และที่ 6 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจหยิบยกคดีของจำเลยดังกล่าวขึ้นพิจารณาตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่หากศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3และที่ 5 มิได้กระทำความผิดซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดีแล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และ ที่ 5ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในคดีที่ศาลชั้นต้นลดโทษจำเลย และการพิจารณาคดีนอกเหนือจากการอุทธรณ์
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสองที่บัญญัติว่าคดีที่พิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตนั้น หมายถึงโทษประหารชีวิตหรือโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงจริง ๆ แก่จำเลย หาใช่โทษที่ศาลชั้นต้นวางไว้ก่อนลดโทษให้แก่จำเลยไม่
ศาลชั้นต้นวางโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5แต่ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 และ 52 (2) คงให้จำคุกจำเลยที่ 1ที่ 3 และที่ 5 คนละ 30 ปี เมื่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ไม่อุทธรณ์คงมีแต่จำเลยที่ 2 ที่ 4 และ ที่ 6 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงไม่มีอำนาจหยิบยกคดีของจำเลยดังกล่าวขึ้นพิจารณาตามบทกฎหมายดังกล่าว แต่หากศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์แล้วเห็นว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 มิได้กระทำความผิดซึ่งเป็นเหตุลักษณะคดีแล้ว ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4589/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต แม้จะถูกยึดเนื่องจากความผิดในการนำเข้า โจทก์มีสิทธิเรียกคืนได้
โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากโจทก์ร่วมผู้เป็นพ่อค้าขายรถยนต์ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาท และมีสิทธิติดตามเอาคืนตามอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะมีอำนาจยึดรถยนต์พิพาทเพราะร.นำเข้าโดยสำแดงเท็จและหลีกเลี่ยงกฎหมายและข้อจำกัดอันเกี่ยวแก่การนำเข้า อันพึงยึดและริบตาม พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 24,27,99 แต่ขณะโจทก์รับโอนมาศาลยังมิได้พิพากษาให้ริบหรือตกเป็นของแผ่นดิน โดยโจทก์ขอรถยนต์พิพาทคืนภายในกำหนด30 วัน นับแต่ถูกยึด จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องคืนรถยนต์พิพาทแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สนับสนุนข่มขืน: จำเลยไม่ห้ามปรามการข่มขืน ย่อมมีความผิดฐานสนับสนุน
ผู้เสียหายได้ไปพบกับจำเลยและ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่นัดกันไว้โดยจำเลยอ้างว่าจะหางานให้ผู้เสียหายทำ แต่จำเลยและจ. ได้พาผู้เสียหายไปที่ห้องพักและให้ผู้เสียหายรับประทานอาหารเมื่อรับประทานแล้วผู้เสียหายหมดสติไม่รู้สึกตัว เมื่อรู้สึกตัวขณะจ.ใช้กำลังข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ผู้เสียหายดิ้นรนต่อสู้แต่สู้แรงของ จ. ไม่ได้ จน จ. ข่มขืนกระทำชำเราเสร็จแล้วจะออกไปจากห้องในขณะที่จำเลยซึ่งนอนอยู่บนเตียงในห้องได้เปิดม่านออกมาดู เมื่อ จ. เดินเข้ามาในห้องอีกจำเลยได้ปิดม่านไว้ตามเดิม จ. ได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จอีกครั้งหนึ่งโดยจำเลยไม่ได้ห้ามปรามหรือขัดขวางจึงถือได้ว่าจำเลยกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ จ. กระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สนับสนุนการข่มขืน: การกระทำโดยประการใดอันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวก
ผู้เสียหายได้ไปพบกับจำเลยและ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่นัดกันไว้โดยจำเลยอ้างว่าจะหางานให้ผู้เสียหายทำ แต่จำเลยและ จ. ได้พาผู้เสียหายไปที่ห้องพักและให้ผู้เสียหายรับประทานอาหาร เมื่อรับประทานแล้วผู้เสียหายหมดสติไม่รู้สึกตัว เมื่อรู้สึกตัวขณะ จ.ใช้กำลังข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย ผู้เสียหายดิ้นรนต่อสู้แต่สู้แรงของ จ.ไม่ได้ จน จ.ข่มขืนกระทำชำเราเสร็จ แล้วจะออกไปจากห้องในขณะที่จำเลยซึ่งนอนอยู่บนเตียงในห้องได้เปิดม่านออกมาดู เมื่อ จ.เดินเข้ามาในห้องอีกจำเลยได้ปิดม่านไว้ตามเดิม จ.ได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จอีกครั้งหนึ่งโดยจำเลยไม่ได้ห้ามปรามหรือขัดขวางจึงถือได้ว่า จำเลยกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความ-สะดวกในการที่ จ.กระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4010/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายถูกต้องตามภูมิลำเนา และผลของการสันนิษฐานบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 นำหุ้นซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2ถืออยู่ในบริษัทจำเลยที่ 3 มาจำนำเป็นประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 แต่ปัจจุบันหุ้นดังกล่าวหยุดการซื้อขายโดยสิ้นเชิง หุ้นดังกล่าวจึงไม่มีมูลค่าพอที่จะนำมาหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์ได้ เมื่อคำนวณราคาหุ้นและหักกับจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งห้าค้างชำระโจทก์แล้วเงินยังขาดอยู่อีกเป็นจำนวนมากกว่า 500,000 บาท และ50,000 บาทตามลำดับ ถือว่าโจทก์ได้ตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้ว
ที่อยู่ตามสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยที่ 5 ถือได้ว่าเป็นภูมิลำเนาอีกแห่งหนึ่งของจำเลยที่ 5 และภูมิลำเนาที่ระบุในสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นภูมิลำเนาตามฟ้องนั้น เมื่อพนักงานเดินหมายไปส่งหมายให้จำเลยที่ 5 ไม่พบจำเลยที่ 5 คงพบชายคนหนึ่งแจ้งว่าจำเลยที่ 5 ออกไปธุระข้างนอก เช่นนี้แสดงว่าจำเลยที่ 5 ยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่โจทก์ระบุในคำฟ้อง ภูมิลำเนาตามฟ้องจึงเป็นภูมิลำเนาจำเลยที่ 5 อีกแห่งหนึ่งเช่นกัน การส่งหมายตามภูมิลำเนาตามฟ้องจึงต้องถือว่าเป็นการส่งโดยชอบ
การที่จำเลยที่ 5 ออกไปอยู่นอกราชอาณาจักรจนบัดนี้ยังไม่กลับมาจึงเข้าข้อสันนิษฐานของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ก.ว่าจำเลยที่ 5 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
of 39