พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน การป้องกันสิทธิ และเหตุแห่งการกระทำผิด
จำเลยและ อ. โต้เถียงกันก่อนแล้วใช้อาวุธทำร้ายกัน จำเลยชกต่อยแล้วใช้มีดฟันและแทง อ.จนได้รับบาดเจ็บจึงถูกอ. ตีจนได้รับบาดเจ็บ การกระทำของจำเลยมิใช่เกิดจากการที่จำเลย กระทำโดยป้องกันสิทธิของตน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 429/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับซื้อกระบือที่ได้จากการลักทรัพย์: เจตนาทุจริตและพฤติการณ์น่าสงสัยบ่งชี้การรู้ว่าเป็นของโจร
จำเลยรับซื้อ กระบือไว้ เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจมาสอบถามจำเลยไม่บอกเจ้าพนักงานตำรวจว่าตนเองเป็นผู้ซื้อกระบือไว้และปิดบังผู้ขาย แต่กลับนำเจ้าพนักงานตำรวจติดตามหากระบือไปในที่ต่าง ๆ เป็นการกระทำที่ส่อถึงเจตนาที่ไม่สุจริตของจำเลยประกอบกับการซื้อขายไม่มีการพูดถึงตั๋วพิมพ์รูปพรรณว่ามีถูกต้องตรงกันหรือไม่ และใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง ซึ่ง เป็นการผิดวิสัยของจำเลยซึ่งมีอาชีพรับซื้อขายกระบือเป็นประจำ แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะนำกระบือที่ซื้อไปเลี้ยงในที่เปิดเผย และเวลากลางวันก็นำมาผูกไว้ที่บ้านซึ่งอยู่ติดถนน เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ของจำเลยก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าจำเลยนำไปเลี้ยงและเก็บไว้รวมกับกระบือตัวอื่น ๆ ของจำเลยอีกถึง 4 ตัว ย่อมทำให้ผู้พบเห็นเข้าใจได้ว่ากระบือทั้งหมดเป็นของจำเลย ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยรับซื้อกระบือไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดฐานลักทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ทำลายทรัพย์สิน: เจ้าของหมู่บ้านมีสิทธิร้องทุกข์ แม้ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
โจทก์ร่วมมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ตั้งหมู่บ้านแต่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของหมู่บ้าน เป็นผู้ครอบครองหมู่บ้านกับเป็นเจ้าของโซ่และกุญแจซึ่งปิดกั้นทางเข้าหมู่บ้าน เมื่อมีผู้มาทำลายโซ่และกุญแจเพื่อจะเข้าไปในหมู่บ้าน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีข้อหาทำให้เสียทรัพย์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและฝ่าฝืนข้อบัญญัติ เจ้าของต้องรื้อถอนตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร ทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลยฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า10 เมตรทุกด้าน
เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอน กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือแล้วจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้
เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอน กรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดีต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือแล้วจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพ-มหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งรื้อถอน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจฟ้องรื้อถอนได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาปกคลุมโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน จำเลยต่อสู้ว่าตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยต่อเติมอาคารนั้น จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเสร็จแล้ว คำให้การของจำเลยเท่ากับจำเลยยอมรับตามฟ้องว่าได้กระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 22 ซึ่งห้ามมิให้ผู้ใดดัดแปลงอาคาร เว้นแต่เจ้าของอาคารจะได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น กับยอมรับว่าจำเลย ฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 80 ซึ่งบัญญัติให้อาคารที่โจทก์ต่อเติมต้องมีที่ว่าง ไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน เมื่อจำเลยต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยจะต้องรื้อถอนกรณีมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยก่อสร้างอาคารยังไม่เสร็จ และจำเลยจะต้องระงับการก่อสร้าง กฎหมายที่นำมาปรับคือมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะฟ้องคดี ต่อ ศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนอาคารตามความในวรรคสามนั้นต้องผ่านขั้นตอนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้รื้อถอนอาคารตามในวรรคหนึ่ง แล้วผู้รับคำสั่งไม่ปฏิบัติตาม เมื่อโจทก์ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอน อาคาร ที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือ แล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับ คำสั่ง ให้ ระงับ การก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณี และเมื่ออาคารที่จำเลย ต่อเติมไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารมาตรา 42 ครบถ้วนแล้ว โจทก์มี อำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้อถอนอาคารต่อเติม กรณีไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติและขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์ได้ส่งคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิได้รับคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างซึ่งเป็นคนละกรณีกัน ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่าจำเลยได้รับคำสั่งให้รื้อถอนโดยชอบแล้ว เมื่ออาคารที่จำเลยต่อเติมเป็นอาคารคอนกรีตติดกับอาคารเดิมใช้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีเตาไฟและเครื่องจักรโดยมิได้เว้นที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมโดยรอบอาคารนั้นไม่น้อยกว่า 10 เมตรทุกด้าน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครได้ และเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ดำเนินการตามขั้นตอนแห่ง พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร มาตรา 42ครบถ้วนแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนการยึดทรัพย์: ไม่ต้องสอบสวนพยานผู้คัดค้านเสมอไป
ตามบทบัญญัติในมาตรา 158 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่า พยานหลักฐานที่ ได้สอบสวนแล้วพอที่จะมีคำสั่งได้แล้วหรือไม่ โดยพิจารณาพยานหลักฐานและพฤติการณ์ที่เพียงพอจะทราบความจริง ได้ว่า ทรัพย์ที่ยึด มา นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึด หรือไม่ ก็ย่อมถือได้แล้วว่า เป็นการสอบสวนตามความหมายในมาตรา 158 แล้วไม่จำต้องสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องต่อไปให้ล่าช้า ผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลาย อัน เป็นกฎหมายพิเศษซึ่ง ต้องการให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยด่วน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนการคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย
ความในมาตรา 158 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ที่ว่า "เมื่อผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านการยึดทรัพย์ก็ให้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สอบสวน"มิใช่หมายความถึงกับต้อง สอบสวนพยานของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยเสมอไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐาน ที่ได้สอบสวนแล้วพอที่จะมีคำสั่งได้แล้วหรือไม่ โดยพิจารณาพยาน หลักฐานและพฤติการณ์ที่เพียงพอจะทราบความจริงได้ว่า ทรัพย์ ที่ยึดมานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึดหรือไม่ก็ย่อม ถือได้แล้วว่าเป็นการสอบสวนตามความหมายในมาตรา 158 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 ไม่จำต้องสอบสวน พยานหลักฐานของผู้ร้องต่อไปให้ล่าช้าผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ล้มละลายอันเป็นกฎหมายพิเศษ ซึ่งต้องการให้กระบวนพิจารณา ดำเนินไปโดยด่วนอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนการยึดทรัพย์และการพิจารณาพยานหลักฐานตามกฎหมายล้มละลาย
ความในมาตรา 158 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ที่ว่า เมื่อผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านการยึดทรัพย์ ก็ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนนั้น มิใช่หมายความถึงกับต้องสอบสวนพยานผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียด้วยเสมอไป เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่ได้สอบสวนแล้วพอที่จะมีคำสั่งได้แล้วหรือไม่ โดยพิจารณาพยานหลักฐานและพฤติการณ์ที่เพียงพอจะทราบความจริงได้ว่าทรัพย์ที่ยึดมานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึดหรือไม่ ก็ถือได้แล้วว่าเป็นการสอบสวนตามความหมายในมาตรา 158 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่จำต้องสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องต่อไปให้ล่าช้าผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายอันเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งต้องการให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยด่วนก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสั่งยึดทรัพย์และการสอบสวนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ตามบทบัญญัติในมาตรา 158 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีดุลพินิจที่จะพิจารณาว่าพยานหลักฐานที่ได้สอบสวนแล้วพอที่จะมีคำสั่งได้แล้วหรือไม่ โดยพิจารณาพยานหลักฐานและพฤติการณ์ที่เพียงพอจะทราบความจริงได้ว่า ทรัพย์ที่ยึดมานั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิยึดหรือไม่ ก็ย่อมถือได้แล้วว่า เป็นการสอบสวนตามความหมายในมาตรา 158 แล้วไม่จำต้องสอบสวนพยานหลักฐานของผู้ร้องต่อไปให้ล่าช้า ผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายอันเป็นกฎหมายพิเศษซึ่งต้องการให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปโดยด่วน