คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6511/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการจุดไฟเผาหญ้า การพิสูจน์ความประมาท และขอบเขตความรับผิด
จำเลยและ ส.จุดไฟเผาหญ้าในสวนของตน โดยจุดแล้วดับในร่องสวนทีละร่องไล่กันไปจนถึงร่องที่เกิดเหตุ ต่อมาจำเลยกลับไปก่อนปล่อยให้ส.กับต. ช่วยกันดับไฟที่จุดแล้วไม่ปรากฏว่าการดับไฟที่เหลืออยู่นั้นเกินกำลังของ ส.และต. ที่จะช่วยกันดับได้การที่เกิดไฟลุกไหม้ขึ้นภายหลังลุกลามไหม้สวนข้างเคียงเสียหายเกิดจากความประมาทของ ส. ที่ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอในการดับไฟ หาใช่เกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลยไม่จำเลยจึงไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6490/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินเมื่อผู้เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกและจงใจไม่นำเอกสารหลักฐานมาแสดง
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกให้โจทก์ส่งเอกสารและไปให้ถ้อยคำประกอบการไต่สวน ปรากฏว่าโจทก์ขอผัดผ่อนการส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ โดยอ้างเหตุว่ารวบรวมไม่ครบ หรือป่วย และเหตุอื่น ๆรวม 13 ครั้ง และผิดนัดเรื่อยมา ตามพฤติการณ์จึงฟังได้ว่าโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร จงใจฝ่าฝืนไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีอากรของโจทก์ไปตามหลักฐานที่มีอยู่ซึ่งในกรณีนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 21 เพราะถือว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นอันยุติ โจทก์หมดสิทธิโต้แย้งแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6490/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานเมื่อผู้เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกและมีเจตนาหลีกเลี่ยง ทำให้ไม่อาจอุทธรณ์ได้
เจ้าพนักงานประเมินให้โอกาสโจทก์นำเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆที่จำเป็นไปให้เพื่อทำการตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์ นับแต่วันที่ 24กรกฎาคม 2523 จนถึงครั้งสุดท้ายวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 เป็นเวลาเกือบ3 ปี โจทก์ขอผัดส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ อ้างว่า รวบรวมไม่ครบหรือป่วยและเหตุอื่น รวม 13 ครั้ง และผิดนัดเรื่อยมาพฤติการณ์ฟังได้ว่าโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร จงใจฝ่าฝืนไม่นำบัญชีหรือพยานหลักฐานอันควรแก่เรื่องมาแสดงตามหมายเรียก หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจ ประเมินภาษีอากรของโจทก์ไปตามหลักฐานที่มีอยู่และแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบ โจทก์มีหน้าที่ชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งไป และในกรณีนี้ โจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ การประเมิน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 21.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและการล้มละลายเมื่อมีหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยขายหุ้นหรือทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไป โดยตกลงทยอยซื้อคืนเป็นงวดรายเดือนและให้กำไรเป็นเงินสองเท่า เป็นการซื้อหรือทำสัญญาที่มุ่งจะขายคืนเพื่อต้องการกำไรเป็นสองเท่าโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุน หาใช่เป็นการซื้อหุ้นเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำในรูปของเงินปันผล ซึ่งจะต้องร่วมในการขาดทุนด้วย ดังบริษัททั่วไป หรือทำสัญญาเพื่อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยไม่ ดังนั้นการขายหุ้นและทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินของจำเลยก็คือการรับเงินโดยผู้กู้ยืมจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมอันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายใน พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 และเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน พนักงานอัยการโจทก์ดำเนินคดีเองโดยมิได้แต่งตั้งทนายความศาลย่อมไม่กำหนดค่าทนายความให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การล้มละลาย และการพิพากษาคดี
จำเลยรับว่าในการขายหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินให้บุคคลทั่วไปนั้น จำเลยตกลงทยอยซื้อคืนโดยแบ่งเงินค่าหุ้นหรือสัญญาซื้อขายบ้านออกเป็น 24 งวด ให้ประชาชนขายคืนจำเลยเดือนละงวด จำเลยจะให้กำไรเป็นเงิน 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนในแต่ละงวดตลอดไปจนครบ 24 งวด จำเลยดำเนินกิจการดังกล่าว1 ปีเศษแล้วหยุดกิจการเพราะถูกจับ มีประชาชนทำสัญญากับจำเลย5,850 ราย เป็นเงินรวม 601,790,000 บาท จำเลยซื้อคืนจากประชาชนจำนวน 149,873,500 บาท เหลือเงินที่จำเลยยังมิได้ซื้อคืน441,916,500 บาท ดังนี้ การที่ประชาชนซื้อหุ้นหรือทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินกับจำเลยนั้นประชาชนมุ่งที่จะขายคืนเป็นรายเดือนเพื่อที่จะได้กำไรเป็น 2 เท่าของจำนวนที่ขายคืนโดยไม่ต้องร่วมในการขาดทุนด้วย จึงหาใช่เป็นการซื้อหุ้นของบริษัทเพื่อร่วมลงทุนในกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นในรูปของเงินปันผลซึ่งจะต้องร่วมกันในการขาดทุนด้วยดังบริษัททั่วไปหรือการทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินที่ผู้ซื้อมุ่งจะได้บ้านและที่ดินจากจำเลยทั้งสองไม่การกระทำของจำเลยเป็นการรับเงินโดยผู้กู้ยืมเงินจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนหรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน อันเป็นการกู้ยืมเงินตามความหมายในพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 เมื่อจำเลยเป็นหนี้จำนวน 451,916,500 บาท ซึ่งจำเลยจะต้องใช้คืนประชาชนผู้ให้กู้ยืมเงิน เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และจำเลยมีสินทรัพย์หักแล้วต่ำกว่าหนี้สินถึง 429,814,215.60 บาท จำเลยจึงมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้ได้เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวศาลชอบที่จะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6415/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องกระทำภายใน 14 วันนับแต่วันได้รับแจ้ง หากพ้นกำหนด ถือเป็นหนี้เด็ดขาด
การที่ผู้ร้องได้รับหนังสือจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ชำระหนี้แก่กองทรัพย์สินของจำเลย หากผู้ร้องจะปฏิเสธหนี้ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องปฏิเสธหนี้เป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งเมื่อปรากฏว่าหนังสือปฏิเสธหนี้ของผู้ร้องส่งถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าว ดังนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน กรณีให้เช่าพื้นที่หรือใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ
โรงเรือนของโจทก์ โจทก์มิได้อยู่เองแต่ให้ภรรยาและบุตรอยู่อาศัย ทั้งยังให้บุตรเขยตั้งเป็นสำนักงานทนายความ กรณีไม่ใช่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษา อันจะได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯมาตรา 10.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ตึกแถวเป็นสำนักงานทนายความ ไม่ถือเป็นการอยู่อาศัยเองหรือให้ผู้แทนเฝ้ารักษา จึงไม่ได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน
นอกจากโจทก์จะใช้ตึกแถวของโจทก์เป็นที่อยู่อาศัยของภรรยาและบุตรแล้ว โจทก์ยังให้บุตรเขยใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานทนายความด้วยย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอยู่เอง หรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาอันจะได้รับงดเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติ ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 10 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2475 มาตรา 3. การใช้ตึกแถวตั้งสำนักงานทนายความ มีลักษณะเป็นการดำเนินธุรกิจอย่างหนึ่งถือไม่ได้ว่าโจทก์ใช้อยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาและการตั้งสำนักงานทนายความ แม้ว่าจะไม่ต้องจดทะเบียนการค้าและเสียภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร ก็ไม่มีผลทำให้หน้าที่การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับตึกแถวของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6376/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: การโต้แย้งเจตนาจำเลยมีผลต่อการพิจารณาความผิดกรรมเดียวหรือไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดสองกรรม ลงโทษจำคุกฐานบุกรุก 8 เดือน ฐานทำร้ายร่างกาย 3 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทลงโทษฐานบุกรุกที่เป็นบทหนักที่สุด จำคุก 8 เดือน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานโดยมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย โจทก์ฎีกาว่าจำเลยมิได้เจตนาเข้าไปเพื่อทำร้ายผู้เสียหายแต่มีเจตนาเข้าไปเพื่อต่อว่าผู้เสียหาย เจตนาทำร้ายเกิดขึ้นภายหลัง จึงเป็นการกระทำความผิดต่างกรรมกัน ฎีกาโจทก์เช่นนี้เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยเข้าไปในบ้านผู้เสียหายโดยมีเจตนาอะไรเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดกรรมเดียวหรือหลายกรรม เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6370/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการรู้ถึงการตายของลูกหนี้: การสะดุดหยุดของอายุความเมื่อได้รับแจ้งการตายและหลักฐานการชำระหนี้
คำว่า การได้รู้หรือควรได้รู้ตามมาตรา 1754 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หมายความว่า ต้องเป็นการรู้โดยแน่นอนมีหลักฐานยืนยัน ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบจากรายงานการเดินหมายของเจ้าหน้าที่ซึ่งได้นำหนังสือขอให้ชำระหนี้ไปส่งให้แก่นาย ผ.ว่าพบหญิงคนหนึ่งแจ้งว่านายผ. ได้เสียชีวิตไปแล้วก็เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นยังฟังเป็นแน่นอนหาข้อยุติไม่ได้และต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยมีหนังสือสอบถามไปยังนายทะเบียนท้องถิ่นตามภูมิลำเนาของนาย ผ.ก็ได้รับคำตอบว่า ได้แจ้งย้ายออกไปอยู่ ณ ที่แห่งอื่น ครั้นสอบถามไปยังนายทะเบียนท้องถิ่นที่ได้มีการแจ้งย้ายออกไปอยู่ดังกล่าวกลับได้รับแจ้งว่าไม่ปรากฏชื่อของนาย ผ. ในบ้านเลขที่ดังกล่าวเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่อาจตรวจสอบได้ว่า นาย ผ.ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วจริงหรือไม่ ต่อมาโจทก์ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า นาย ผ. ถึงแก่กรรมแล้วพร้อมทั้งแสดงใบมรณบัตร และผู้ร้องเป็นทายาทของนาย ผ. ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงการตายของนาย ผ. แล้วนับแต่ได้รับแจ้งจากโจทก์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องในฐานะทายาทนาย ผ. ซึ่งเป็นระยะเวลาภายใน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรรู้การตายของลูกหนี้ดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง หนี้ไม่ขาดอายุความ ตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่จำเลยยื่นต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครระบุว่า นาย ผ. ถือหุ้นจำเลยอยู่ 200 หุ้นมูลค่าหุ้นละ 1,000 บาท ชำระเงินแล้วหุ้นละ 250 บาท ดังนี้เมื่อผู้ร้องนำสืบลอย ๆ ว่า นาย ผ. น่าจะได้ชำระค่าหุ้นครบถ้วนจึงไม่มีน้ำหนักหักล้างบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพยานหลักฐานอันถูกต้องตามข้อความที่ได้บันทึกไว้ในนั้นทุกประการ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1024
of 39