คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รวมพิจารณาคดีอาญา โจทก์ไม่มาศาลมีสิทธิยกฟ้อง แม้รวมพิจารณาคดีแล้วหน้าที่โจทก์ยังคงอยู่
แม้ศาลจะมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ 2เข้ากับคดีที่โจทก์ที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องก็ตาม ก็เป็นเพียงการรวมพิจารณาพิพากษาคดีเข้าด้วยกัน เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาเท่านั้น การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่ต้องมาศาลตามกำหนดนัดไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ศาลทราบศาลจึงชอบที่จะยกฟ้องโจทก์ที่ 1, ที่ 2 เสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 ประกอบมาตรา 181

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5461/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์ในคดีอาญา แม้รวมสำนวนการไม่มาศาลยังคงมีผล
การไต่สวนมูลฟ้องหรือการสืบพยานโจทก์ในคดีอาญา โจทก์ยังคงมีหน้าที่ต้องมาศาลในนัดต่อมา หากศาลเลื่อนการไต่สวนมูลฟ้องหรือการสืบพยานโจทก์ไปเนื่องจากยังไม่เสร็จในนัดแรก และการที่ศาลมีคำสั่งให้รวมการพิจารณาคดีของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 เข้ากับคดีที่โจทก์ที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้อง ก็เป็นไปเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษา เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ร่วมทั้งสามแม้โจทก์ที่ 3 มาศาล ก็หาทำให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 หลุดพ้นจากหน้าที่ที่ต้องมาศาล ตามกำหนดนัดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5308/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดเวลาส่งสำเนาอุทธรณ์และการทิ้งอุทธรณ์: ศาลมีดุลพินิจกำหนดเวลาเหมาะสมได้ แม้ต่ำกว่า 7 วัน
การกำหนดเวลาให้จำเลยส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์นั้น เป็นการกำหนดเวลาเกี่ยวกับการดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้เพื่อการนั้น ซึ่งกำหนดเวลาดังกล่าวขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลชั้นต้น กฎหมายมิได้จำกัดดุลพินิจของศาลชั้นต้นว่าจะต้องสั่งให้จำเลยส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เกินกว่า 7 วัน จึงจะเป็นการสมควร เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดเวลาโดยเหมาะสมแล้ว และจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด จึงเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดีและการขอพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องแสดงเหตุแห่งการขาดนัดและคัดค้านคำตัดสินชี้ขาด
คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยอ้างว่า การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องก็ดี หมายนัดแจ้งกำหนดวันสืบพยานก็ดี ได้ส่งไปยังที่อื่นซึ่งมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลย จึงเป็นการส่งไม่ชอบ จำเลยเพิ่งมาทราบว่าถูกฟ้องเมื่อมีการส่งคำบังคับไปยังภูมิลำเนาที่แท้จริงของจำเลยแสดงว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจึงขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่นั้น เห็นว่า คำขอดังกล่าวเพียงแต่แสดงเหตุที่จำเลยขาดนัดเท่านั้น แต่มิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล คำขอของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคสอง ที่ศาลจะสั่งให้มีการพิจารณาใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลายต้องกระทำภายใน 3 ปี และต้องเป็นการโอนระหว่างลูกหนี้กับผู้รับโอนโดยตรง
การที่ลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ม. เกินกว่า 3 ปี ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว ไม่ว่าการโอนจะมีค่าตอบแทนและเป็นการโอนโดยสุจริตหรือไม่ ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ได้ และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นของ ม. การโอนระหว่าง ม. และ พ. ต่อมาจึงมิใช่การโอนระหว่างลูกหนี้กับ พ. จะขอให้เพิกถอนการโอนตามบทกฎหมายข้างต้นก็ไม่ได้เช่นกัน ข้ออ้างที่ว่า ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกัน มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของลูกหนี้แต่ผู้เดียวนั้น มิใช่เรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่าการโอนระหว่างลูกหนี้และ ม. เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนเท่านั้น จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน ผู้ร้องจะกลับยกประเด็นอื่นขึ้นมากล่าว อ้างในคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องในประเด็นนี้จึงขัดต่อมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลายต้องอาศัยเหตุที่ยกขึ้นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การยกประเด็นใหม่ในคำร้องคัดค้านย่อมเป็นไปไม่ได้
การยื่นคำร้องต่อศาลตาม พ.ร.บ ล้มละลายฯ มาตรา 146 ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะยกประเด็นเรื่องอื่นขึ้นมากล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านไม่ได้เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนฟ้องล้มละลายและการเปลี่ยนแปลงคู่กรณี
การที่ลูกหนี้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เกินกว่า 3 ปี ก่อนมีการฟ้องขอให้ล้มละลายแล้ว ไม่ว่าการโอนจะมีค่าตอบแทนและเป็นการโอนโดยสุจริตหรือไม่ ก็ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ได้ และเมื่อที่ดินพิพาทเป็นของ ม. การโอนระหว่าง ม.และ พ.ต่อมาจึงมิใช่การโอนระหว่างลูกหนี้กับ พ. จะขอให้เพิกถอนการโอนตามบทกฎหมายข้างต้นก็ไม่ได้เช่นกัน
ข้ออ้างที่ว่า ลูกหนี้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ ม.เป็นการแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้ร่วมคิดกัน มิได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามเจตนาที่แสดงออกมา การซื้อขายที่ดินจึงเป็นโมฆะกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงเป็นของลูกหนี้แต่ผู้เดียวนั้น มิใช่เรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างร้องขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ซึ่งกล่าวแต่เพียงว่าการโอนระหว่างลูกหนี้และ ม.เป็นการโอนโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนเท่านั้น จึงเป็นคนละเรื่องคนละประเด็นกัน ผู้ร้องจะกลับยกประเด็นอื่นขึ้นมากล่าวอ้างในคำร้องคัดค้านคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้ เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้วินิจฉัยและมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องในประเด็นนี้จึงขัดต่อมาตรา 146 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมศุลกากรในการกักของเพื่อเรียกเก็บภาษีค้างชำระ แม้คดีภาษีอยู่ระหว่างพิจารณา
อำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรตามมาตรา 112 เบญจ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรฯ เป็นอำนาจที่กฎหมายให้ไว้เป็นพิเศษเพื่อเก็บภาษี อากรที่ค้างชำระอยู่ให้เสร็จสิ้นล่วงไป จึงให้อำนาจอธิบดีหรือ ผู้ที่อธิบดีมอบหมายที่กักของใด ๆ ของผู้ที่ค้างชำระภาษีอากรซึ่ง กำลังผ่านศุลกากร จนกว่าจะได้รับชำระอากรที่ค้างจนครบ เมื่อ ปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มสำหรับ สินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งผ่านศุลกากรไปแล้ว และแจ้งให้ โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มแล้วและแม้ว่าโจทก์จะอุทธรณ์การประเมิน และฟ้องคดีอยู่ก็ตาม ต้องถือว่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมิน เพิ่มและแจ้งให้โจทก์ชำระแล้วเป็นภาษีอากรค้างชำระโดย ไม่ต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาเสียก่อน หากต่อมาศาลพิพากษาในคดี ที่อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจำเลยประเมินภาษีอากรเพิ่มไม่ชอบ จำเลย ย่อมมีหน้าที่คืน ภาษีอากรภาษีอากรดังกล่าวให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ศุลกากรฯมาตรา 10 ฉะนั้น เมื่อถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ชำระ อธิบดีกรมศุลกากรจึงใช้อำนาจกักสินค้าของโจทก์ไว้จนกว่า โจทก์จะชำระค่าภาษีอากรที่ค้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรมศุลกากรในการกักสินค้าค้างชำระภาษีอากร แม้มีการอุทธรณ์คดี
อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจตามมาตรา112 เบญจ แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่จะกักของใด ๆ ของผู้ที่ค้างชำระภาษีอากรซึ่งกำลังผ่านศุลกากรจนกว่าจะได้รับชำระอากรที่ค้างจนครบ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานของจำเลยได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มสำหรับสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าซึ่งผ่านศุลกากรไปแล้ว และแจ้งให้โจทก์ชำระภาษีอากรเพิ่มแล้ว แม้ว่าโจทก์จะอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีอยู่ก็ตาม ต้องถือว่าภาษีอากรที่เจ้าพนักงานประเมินเพิ่มและแจ้งให้โจทก์ชำระแล้วเป็นภาษีอากรค้างชำระโดยไม่ต้องรอให้ศาลมีคำพิพากษาเสียก่อน หากต่อมาศาลพิพากษาในคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณาว่าจำเลยประเมินภาษีอากรเพิ่มไม่ชอบ จำเลยย่อมมีหน้าที่คืนภาษีอากรดังกล่าวให้โจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ฉะนั้น เมื่อถือว่าเป็นภาษีอากรค้างชำระ อธิบดีกรมศุลกากรจึงใช้อำนาจกักสินค้าของโจทก์ไว้จนกว่าโจทก์จะชำระค่าภาษีอากรที่ค้างได้ คำสั่งให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2533 และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2533 โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคัดค้านคำสั่งนั้นได้ แต่ก็หาได้ทำไม่ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบด้วยมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง แม้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โดยเข้าใจผิดว่าเป็นข้อกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 มาตรา 10 การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้ลงชื่อในคำพิพากษามีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้น มิใช่เป็นการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี.
of 39