คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลล้มละลาย: พิจารณาจากภูมิลำเนาและสถานที่ประกอบธุรกิจ
จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชัยนาท แต่ได้ประกอบธุรกิจด้วยตนเองในรูปบริษัทจำกัด อยู่ในท้องที่เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยก็ยังคงดำเนินธุรกิจดังกล่าวอยู่ ดังนี้ เมื่อที่ตั้งบริษัทที่จำเลยประกอบธุรกิจอยู่นั้น อยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรี โจทก์จึงฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งธนบุรีได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4338/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอแก้คำร้องอุทธรณ์หลังพ้นกำหนด และเขตอำนาจศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ กรณีประกอบธุรกิจ
คำร้องขอแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งแม้จะไม่แก้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถอ่านเข้าใจและรู้ว่าถ้อยคำที่ขอแก้นั้นที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฉะนั้น จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะขอแก้หรือไม่ก็ได้การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอแก้อุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาต จึงชอบด้วยเหตุผลแล้ว แม้จำเลยที่ 1 จะมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดชัยนาท แต่จำเลยที่ 1 ก็ได้ประกอบธุรกิจด้วยตนเองในรูปบริษัทจำกัดอยู่ในท้องที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีโจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลแพ่งธนบุรีซึ่งเป็นศาลที่จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจอยู่ในเขตในขณะยื่นฟ้องได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 150.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางภาษีอากรเมื่อของเสียหายจากเหตุสุดวิสัยหลังนำเข้า และข้อยกเว้นการคืนภาษี
พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ซึ่งมาตรา 41 บัญญัติให้ถือว่าการนำของเข้ามาเป็นอันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ดังนั้น เมื่อเรือนำของที่โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชื่อส่งของถึงแล้ว ความรับผิดของโจทก์ที่จะชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้าจึงสำเร็จแล้วแม้ว่ายังไม่ได้รับการปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าอากรขาเข้าที่ชำระไปแล้วคืนได้
ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า ชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ (1) แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร) ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้
ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าสำเร็จก่อนสินค้าเสียหาย ไฟไหม้เรือไม่ใช่เหตุคืนภาษี
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก บัญญัติว่า ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของ เข้าสำเร็จ และมาตรา 41 บัญญัติว่า การนำของเข้ามาเป็นอันสำเร็จ แต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่ายของจาก เรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึงเรือ ล. นำของที่โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2531ซึ่งเป็น ท่าเรือที่มีชื่อส่งของถึงและจะถ่ายของจากเรือ ความรับผิดในอัน จะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่โจทก์นำเข้าจึงเกิดขึ้นในวันที่17 กรกฎาคม 2531 เมื่อโจทก์ชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับของที่ นำเข้าสำเร็จแล้ว แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการตรวจปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ล. ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะฟ้องเรียกค่าอากรขาเข้าที่ได้ชำระ ไปแล้วคืนได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7) ข้อ 2กำหนดให้ผู้นำเข้ายื่นแบบแสดงรายการค้าพร้อมกับการยื่นใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร และชำระภาษีในวันนำเข้าและ ป.รัษฎากรมาตรา 78 เบญจ(1) บัญญัติว่า วันนำเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งสินค้าตามมาตรา 78 ตรี และมาตรา 78 จัตวา หมายความว่าวันที่ ชำระอากรขาเข้าพ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคแรก บัญญัติว่า การเสียภาษีให้เสียแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยไปแล้ว เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 78 เบญจ(1)โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลแก่เจ้าหน้าที่ของจำเลยในวันดังกล่าว แม้ของ ที่โจทก์นำเข้านั้นจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ซึ่ง โจทก์ยังไม่ได้รับการตรวจปล่อยของดังกล่าวไปก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิ แก่โจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ได้ชำระ ไปแล้วคืน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4301/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรนำเข้าสำเร็จเมื่อเรือเข้าท่า แม้สินค้าเสียหายก่อนตรวจปล่อย และข้อจำกัดการอุทธรณ์เรื่องเหตุใหม่
พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 ทวิ วรรคแรก กำหนดให้ความรับผิดในอันจะต้องเสียค่าภาษีสำหรับของที่นำเข้าเกิดขึ้นในเวลาที่นำของ เข้าสำเร็จ ซึ่งมาตรา 41 บัญญัติให้ถือว่าการนำของเข้ามาเป็น อันสำเร็จแต่ขณะที่เรือซึ่งนำของเช่นนั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะถ่าย ของจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง ดังนั้นเมื่อเรือนำของที่ โจทก์สั่งซื้อเข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีชื่อ ส่งของถึงแล้ว ความรับผิดของโจทก์ที่จะชำระค่าอากรขาเข้าสำหรับ ของที่นำเข้าจึงสำเร็จแล้วแม้ว่ายังไม่ได้รับการปล่อยของไป และของนั้นได้ถูกไฟไหม้เสียหายหมดขณะที่อยู่บนเรือ ก็ไม่มีกฎหมาย ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าอากรขาเข้าที่ชำระไปแล้วคืนได้ ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยภาษีการค้า (ฉบับที่ 7)เรื่อง กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้าของผู้นำเข้าและผู้ส่งออก กำหนดให้ผู้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าชำระภาษีในวันนำเข้า ซึ่งวันนำเข้าดังกล่าวตามมาตรา 78 เบญจ(1)แห่งประมวลรัษฎากรให้หมายถึงวันที่ชำระอากรขาเข้า เช่นนี้ เมื่อตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 10 วรรคแรก กำหนดให้เสียภาษีแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2531 วันดังกล่าวจึงเป็นวันนำเข้าแล้ว โจทก์จะอ้างว่าการนำเข้าสำเร็จเมื่อมีการส่งมอบของที่นำเข้าโดยต้องพ้นจากความอารักขาของพนักงานศุลกากรแล้ว โดยอ้างบทบัญญัติในมาตรา 2 วรรคสิบเอ็ด (แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร)ซึ่งเป็นบทนิยามของคำว่า ผู้นำของเข้าหาได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไปในวันดังกล่าวแล้วจึงเป็นการชำระที่ถูกต้อง แม้ต่อมาของที่โจทก์นำเข้าจะถูกไฟไหม้เสียหายหมดก่อนที่จะได้รับการตรวจปล่อยของไป ก็ไม่มีกฎหมายให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ชำระไปแล้วคืนได้ ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าของที่นำเข้าถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ทำให้โจทก์มีสิทธิได้รับอากรคืนตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 95 ก็ดี รายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีการค้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 79 ตรี(15) ก็ดี เป็นข้อที่โจทก์มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างอีกทั้งปัญหาดังกล่าวไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร มาตรา 29.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4118/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความในคดีล้มละลาย แม้จำเลยอ้างหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัวมีผล
เมื่อมีคำพิพากษาให้จำเลยร่วมรับผิดชำระหนี้ 1,000,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายจำเลยจะโต้เถียงว่าไม่ได้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่ ต้องถือว่าเป็นหนี้ที่แท้จริงและถูกต้อง เมื่อไม่สามารถบังคับคดีเนื่องจากสืบหาทรัพย์สินของจำเลยไม่พบ และโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า30 วัน จำเลยไม่ชำระจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อจำเลยไม่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาทเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนและจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งไม่มีเหตุอื่นที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4118/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีล้มละลาย: จำเลยไม่อาจปฏิเสธหนี้ที่ศาลเคยตัดสินแล้ว
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ให้โจทก์ คำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์นำหนี้ตาม คำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีล้มละลายจำเลยที่ 2 จะโต้เถียงว่าไม่ได้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นหนี้ที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินสมบูรณ์ แม้มีผู้ลงนามเพียงคนเดียว และการมอบอำนาจตั้งตัวแทนผูกพันบริษัท
สัญญาซื้อขายลดเช็คเป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้เมื่อมีการทำกันขึ้นจริง เพียงแต่ลงชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามสัญญาเพียงฝ่ายเดียวก็เป็นการเพียงพอแล้ว ดังนั้นสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินที่บริษัทเจ้าหนี้ทำไว้กับบริษัท พ. แม้จะมีชื่อกรรมการบริษัทเจ้าหนี้ผู้ซื้อลดตั๋วเงินเพียงคนเดียวก็มีผลผูกพันบริษัทพ. ผู้ขายลดตั๋วเงินนั้น บริษัท พ.มอบอำนาจให้นางด. ลงนามร่วมกับกรรมการบริหารคนใดคนหนึ่งในสามคน มีนาย ข. นาย ธ.นายฤ. ในเอกสารขายลดเช็คของบริษัท พ. ได้ ดังนี้ เป็นการตั้งตัวแทนเพื่อการขายลดตั๋วเงิน เมื่อกรรมการคนหนึ่งของบริษัท พ. ได้ลงลายมือชื่อร่วมกับนาง ด. ในการเสนอขายลดตั๋วเงินกับบริษัทเจ้าหนี้ การกระทำของตัวแทนจึงมีผลผูกพันบริษัท พ.ซึ่งเป็นตัวการ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายลดเช็คสมบูรณ์ได้แม้มีผู้ลงนามฝ่ายเดียว การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นลงนามแทนบริษัทก็ผูกพันบริษัทได้
สัญญาซื้อขายลดเช็คเป็นสัญญาซึ่งกฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้ฉะนั้น สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินที่ทำขึ้นจริง เพียงแต่ลงชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดตามสัญญาเพียงฝ่ายเดียวก็สมบูรณ์ การที่คณะกรรมการของบริษัทมอบอำนาจให้ ด. ลงนามในเอกสารเกี่ยวกับการขายลดตั๋วเงินของบริษัทร่วมกับกรรมการบริหารคนใดคนหนึ่งได้นั้น กรณีเป็นการตั้งตัวแทนเพื่อขายลดตั๋วเงินกับเจ้าหนี้ มีผลผูกพันบริษัท ข้อบังคับของบริษัทหรือกฎหมายหาได้ห้ามมิให้บริษัทตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งของบริษัท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4079/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: การไม่ได้รับแจ้งการประมูลและสมรู้กันกดราคา
จำเลยยื่นคำร้องว่า จำเลยไม่ได้รับทราบการประกาศขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อีกทั้งไม่มีผู้ใดนำประกาศดังกล่าว ไป ติด ยังสถานที่ตั้งทรัพย์ที่จะขายและเป็นการประมูลที่ตกลงกัน ไว้ ล่วงหน้า ในกลุ่มผู้สู้ราคา ซึ่งมีความหมายว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งวันขายทอดตลาดทรัพย์ให้จำเลย ทราบเป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 306และการประมูลซื้อทรัพย์ที่ ขายทอดตลาดเป็นการสมรู้กันกดราคา ซื้อจำเลยมีสิทธิขอให้ศาลสั่ง เพิกถอนการขายทอดตลาดได้เมื่อยังไม่พ้นกำหนด 8 วัน นับแต่วัน ที่จำเลยทราบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง.
of 39