คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าหุ้นขาดทุน: สัญญาซื้อขายหุ้นและการทดรองเงิน
ผู้ร้องได้ตกลงสั่งซื้อหุ้นกับบริษัทลูกหนี้โดยวิธีผู้ร้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำไปวางเป็นประกัน ผู้ร้องมีสิทธิสั่งซื้อหุ้นได้เป็นเงินไม่เกิน 3 เท่าของจำนวนเงินที่วางประกัน เมื่อซื้อหุ้นได้แล้วบริษัทลูกหนี้จะออกเงินทดรองค่าซื้อหุ้นให้ผู้ร้องก่อนโดยทำเป็นหนังสือว่าผู้ร้องได้กู้เงินของบริษัทลูกหนี้ไป ต่อมาถ้ามีการขายหุ้นดังกล่าว ก็จะมีการหักทอนบัญชีกัน ถ้า ได้กำไรก็จะนำเข้าบัญชีให้ผู้ร้องแต่ถ้า ขาดทุนจะเรียกให้ผู้ร้องชำระ กรณีจึงเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการ ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164ไม่ใช่กรณีที่บริษัทลูกหนี้เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปจากผู้ร้อง ตามมาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทการซื้อขายหุ้นและการทดรองเงิน กรณีตัวแทนเรียกเงินคืน อายุความ 10 ปี
การที่ผู้ร้องสั่งซื้อหุ้นกับจำเลยโดยผู้ร้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำไปวางเป็นหลักประกัน ผู้ร้องมีสิทธิสั่งซื้อหุ้นได้เป็นเงินไม่เกิน 3 เท่า ของจำนวนเงินที่วางประกัน เมื่อซื้อหุ้นได้แล้วจำเลยจะออกเงินทดรองค่าซื้อหุ้นให้ผู้ร้องก่อน โดยทำเป็นหนังสือว่าผู้ร้องได้กู้เงินของจำเลยไป ต่อมาถ้ามีการขายหุ้นดังกล่าวก็จะหักทอนบัญชีกัน ถ้าได้กำไรก็จะนำเข้าบัญชีให้ผู้ร้องแต่ถ้าขาดทุนจะเรียกให้ผู้ร้องชำระการเรียกเงินดังกล่าวเป็นเรื่องตัวแทนเรียกร้องเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายไปในกิจการอันตัวการมอบหมายแก่ตนจากตัวการซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 ไม่ใช่กรณีที่จำเลยเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆเรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปจากผู้ร้องตามมาตรา 165(7).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีของผู้รับภาระค่าภาษีแทนเจ้าของทรัพย์สิน แม้ไม่ใช่ผู้รับประเมิน แต่มีสิทธิเรียกคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
การรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะต้องเป็นกรณีที่ผู้ชำระหนี้รับช่วงสิทธิของผู้รับชำระหนี้มาฟ้องผู้ที่ตบชำระหนี้แทน แต่กรณีโจทก์ฟ้องจำเลยผู้รับชำระหนี้เสียเอง ย่อมไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(3) โจทก์เช่าโรงเรือนและที่ดินจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามสัญญาเช่าโจทก์มีหน้าที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินแทนกรมโรงงานอุตสาหกรรม และจำเลยที่ 1 ก็ยอมรับชำระค่าภาษีดังกล่าวจากโจทก์แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินหากจำเลยที่ 1 เรียกเก็บภาษีดังกล่าวเกินไป โจทก์ย่อมเรียกเงินส่วนนั้นคืนได้ แม้ว่าโจทก์จะไม่เป็นผู้รับประเมินและไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้ยื่นคำขอให้จำเลยที่ 2พิจารณาประเมินใหม่โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องด้วยอำนาจแห่งสิทธิของโจทก์เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษี: การแจ้งประเมินสะดุดหยุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำอาจทำให้ขาดอายุความตามกฎหมาย
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้วจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 191.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2639/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การแจ้งประเมินสะดุดอายุความ แต่การแจ้งซ้ำขยายอายุความไม่ได้
การแจ้งการประเมินภาษีอากรมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีย่อมเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 173 เริ่มนับใหม่เมื่อพ้นระยะเวลาสามสิบวันที่กำหนดให้นำค่าภาษีไปชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินและพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์การประเมินตามประมวลรัษฎากรอันโจทก์อาจบังคับยึดทรัพย์หรือใช้สิทธิฟ้องร้องได้ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน 10 ปีแล้ว จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 แม้โจทก์จะมีหนังสือแจ้งการประเมินไปยังจำเลยครั้งที่สองก็ไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงแล้วสะดุดหยุดลงอีก เพราะจะมีผลเป็นการขยายอายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 191.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2634/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สมยอมและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ความรู้และการยอมให้ก่อหนี้
เจ้าหนี้ฝากเงินไว้กับลูกหนี้ก่อนที่ลูกหนี้จะถูกธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าควบคุมกิจการเป็นเวลาหลายเดือน และก่อนที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายหรือถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังนั้น แม้เจ้าหนี้จะเป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของกรรมการคนหนึ่งของลูกหนี้ และเจ้าหนี้มิได้ถอนเงินจากลูกหนี้ในช่วงเวลานั้นก็ตามจะถือว่าเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นทั้ง ๆที่รู้อยู่ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่ได้ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของเจ้าหนี้ภาษีอากรกับกรรมการ
แม้ว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคสอง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทจำเลยที่ 1 จะมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่มีต่อจำเลยที่ 2 แต่ประการใด การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้ จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์โดยตรง คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 7 (2) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลภาษีอากรกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัท ไม่ใช่คดีภาษี
แม้ว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคสองโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทจำเลยที่ 1 จะมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่มีต่อจำเลยที่ 2แต่ประการใด การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้ จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์โดยตรงคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลภาษีอากรกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัทที่ทำให้บริษัทเสียหาย ไม่ใช่คดีภาษี
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคสองโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ แต่ก็เป็นสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทน มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา 7(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2590/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าที่ไม่เคยมีผู้นำเข้ามาก่อน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการใช้ราคา FOB เป็นฐานในการประเมินถูกต้อง
สินค้าประเภทที่จำเลยนำเข้ามาในประเทศไม่เคยมีผู้ใดนำเข้ามาก่อน กรมศุลกากร โจทก์จึงถือเอาราคา เอฟ.โอ.บี เป็นฐานเพื่อกำหนดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเพื่อเสียภาษี โดยไม่ปรากฏว่าราคาเอฟ.โอ.บี ที่จำเลยสำแดงในใบขนสินค้าเป็นราคาที่ถูกกว่าราคาเป็นจริง ต้องฟังว่าราคาที่จำเลยสำแดงในใบขนสินค้าถูกต้องและเจ้าพนักงานประเมินเพื่อเรียกเก็บภาษีอากรจากราคาดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย.
of 39