พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเมื่อเอกสารทางบัญชีเสียหาย เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนดได้
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปให้ถ้อยคำและให้นำบัญชีและเอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีมาแสดงเพื่อตรวจสอบไต่สวนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19 ผู้แทนโจทก์ไปให้ถ้อยคำ แต่ไม่นำบัญชีและเอกสารมาให้ตรวจสอบ อ้างว่าบัญชีและเอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีถูกปลวกกัดกินเสียหายหมด ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ดังที่กล่าวอ้างเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามมาตรา 71(1) ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากชื่อในโฉนด: เจ้าของกรรมสิทธิ์ต้องเสียภาษีแม้มีการร่วมทุน
โจทก์ร่วมลงทุนกับ ว. ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลโดยใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่เพียงผู้เดียวแม้ว่าต่อมาจะได้ขายที่ดังกล่าวไปและแบ่งปันเงินที่ได้จากการขายที่ดินกันตามอัตราส่วนที่ลงหุ้นแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้าจากเงินได้ที่ได้จากการขายที่ดินทั้งหมดได้ เพราะโจทก์มีชื่อในโฉนดที่ดินอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินแต่เพียงผู้เดียวและโจทก์เป็นผู้ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้นไว้ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 61 ดังนั้น แม้ศาลภาษีอากรกลางจะยอมให้โจทก์นำสมุห์บัญชีธนาคาร และ ว.มาสืบยืนยันข้อเท็จจริงว่าว. ร่วมลงทุนและได้รับทุนและส่วนแบ่งกำไรคืนไปแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์หลุดพ้นหน้าที่ที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีการค้าจากการขายที่ดินทั้งหมดได้ การสืบพยานทั้งสองปากดังกล่าวจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ จึงชอบที่ศาลภาษีอากรกลางจะมีคำสั่งไม่อนุญาตให้หมายเรียกสมุห์บัญชีธนาคาร และตัดพยานปากนาย ว. เสียได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2583/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้มีชื่อในโฉนดต้องรับผิดชอบภาษีจากการขายที่ดิน แม้มีการร่วมลงทุน
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน อันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมินแต่เพียงผู้เดียว และโจทก์เป็นผู้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายที่ดินโฉนดดังกล่าว โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีการค้าโดยคิดจากจำนวนเงินที่ขายที่ดินได้ทั้งหมดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 61 และมาตรา 87(1) ที่โจทก์อ้างว่าได้ร่วมลงทุนกับ ล. โจทก์ประสงค์จะสืบพยานต่อไปก็ไม่ทำให้โจทก์พ้นจากหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากการขายที่ดินทั้งหมด ดังนี้ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งตัดพยาน จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการตำรวจละเว้นหน้าที่ช่วยเหลือการประกันตัว ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกควบคุม
จำเลยเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่โจทก์เป็นผู้ต้องหาและถูกจับมาควบคุมไว้ การที่จำเลยพูดในตอนแรกที่ญาติโจทก์แสดงความจำนงขอประกันตัวโจทก์ว่าจะประกันไปทำไมจะดัดนิสัย 2 - 3 วันก่อน และว่าจำเลยไม่ว่างจะไปตั้งด่านตรวจ แต่จำเลยกลับไปรับประทานอาหารโดยมิได้ตั้งด่านตรวจตามที่พูดไว้นานเกือบ1 ชั่วโมง จึงกลับมาที่สถานีตำรวจแล้วจำเลยพูดกับญาติโจทก์อีกครั้งหนึ่งว่าจะประกันไปทำไม ตอนนี้ผู้เสียหายกำลังแรงให้ถูกขัง 4 - 5 วันก่อน จากนั้นจำเลยก็ออกไปโต๊ะสนุกเกอร์ ดังนี้ จำเลยมีหน้าที่จะต้องอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่อ และตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญา ฯ และมีหน้าที่ต้องขวนขวายกระวีกระวาดแนะนำชี้แจงแก่ญาติโจทก์ที่มาติดต่อขอประกันตัวโจทก์ว่าจะยื่นเรื่องราวได้อย่างไร นำเสนอแก่ใคร และจำเลยต้องคอยให้โอกาสในการที่คนเหล่านั้นจะได้ดำเนินการดังกล่าวไปด้วยดี รวดเร็วและเรียบร้อยตามสมควรแก่เวลาและพฤติการณ์การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ถูกคุมขัง เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขรก.ตำรวจปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หน่วงเหนี่ยวการประกันตัวผู้ต้องหา ทำให้เกิดความเสียหาย
จำเลยเป็นข้าราชการตำรวจซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่โจทก์เป็นผู้ต้องหาและถูกจับมาควบคุมไว้ การที่จำเลยพูดในตอนแรกที่ญาติโจทก์แสดงความจำนงขอประกันตัวโจทก์ว่าจะประกันไปทำไมจะตัดนิสัย2-3 วันก่อน และว่าจำเลยไม่ว่าง จะไปตั้งด่านตรวจ แต่จำเลยกลับไปรับประทานอาหารโดยมิได้ตั้งด่านตรวจตามที่พูดไว้นานเกือบ1 ชั่วโมง จึงกลับมาที่สถานีตำรวจแล้วจำเลยพูดกับญาติโจทก์อีกครั้งหนึ่งว่าจะประกันไปทำไม ตอนนี้ผู้เสียหายกำลังแรงให้ถูกขัง4-5 วันก่อน จากนั้นจำเลยก็ออกไปโต๊ะสนุกเกอร์ ดังนี้ จำเลยมีหน้าที่จะต้องอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้มาติดต่อ และตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยระเบียบการดำเนินคดีอาญาฯ และมีหน้าที่ต้องขวนขวายกระวีกระวาดแนะนำชี้แจงแก่ญาติโจทก์ที่มาติดต่อขอประกันตัวโจทก์ว่าจะยื่นเรื่องราวได้อย่างไร นำเสนอแก่ใครและจำเลยต้องคอยให้โอกาสในการที่คนเหล่านั้นจะได้ดำเนินการดังกล่าว ไปด้วยดี รวดเร็วและเรียบร้อยตามสมควรแก่เวลาและพฤติการณ์ การกระทำ ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ ทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ผู้ถูกคุมขัง เป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 157.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2568/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเอกสาร การแก้ไขเอกสาร และการยืนยันหนี้เกินจำนวนที่ทวง
ไม่มีกฎหมายบังคับว่าการอ้างเอกสารเป็นพยานจะต้องมีผู้ทำเอกสารมาเบิกความรับรองจึงจะรับฟังได้ การที่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจเอกสารมาเบิกความประกอบเอกสารดังกล่าวเกี่ยวกับรายการและข้อผิดพลาดในเอกสาร ก็มิใช่พยานบอกเล่าเพราะเจ้าหน้าที่เบิกความไปตามที่ตรวจพบเห็นถือเป็นพยานโดยตรง แม้เอกสารมีรอยขูดลบแก้ไขโดยไม่มีผู้ใดรับรอง ก็ไม่ถึงกับรับฟังไม่ได้ สาระสำคัญอยู่ที่ว่าการแก้ไขนั้นถูกต้องหรือไม่ เอกสารที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมได้จากเอกสารของลูกหนี้ รวมเป็นส่วนหนึ่งของสำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้ ถือเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่นอันเป็นเอกสารเป็นชุด คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งทราบดีอยู่แล้วหรือสามารถตรวจสอบให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้น จึงไม่ต้องส่งสำเนาให้อีกฝ่ายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องมีจำนวนเงินเกินกว่าที่มีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ อ้างว่าเจ้าหนี้ที่ของลูกหนี้คิดยอดเงินดอกเบี้ยผิดไปเมื่อคิดใหม่แล้วคงมีดอกเบี้ยค้างอยู่จำนวนหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏว่าคิดผิดอย่างไร และที่คิดใหม่ถูกต้องอย่างไร การเอาตัวเลขที่อ้างว่าคิดถูกบวกเข้าไปในจำนวนหนี้ที่เรียกให้ผู้ร้องชำระและยืนยันหนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่มีเหตุผล จึงเป็นการยืนยันหนี้เกินกว่าที่ทวงไปเป็นการไม่ชอบต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้อยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปครั้งแรก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหากำไร ต้องเสียภาษีเงินได้และภาษีการค้า แม้จะไม่ได้ทำประโยชน์ในที่ดิน
การที่โจทก์ซื้อที่ดินมาโดยมิได้ทำประโยชน์ บางแปลงซื้อทิ้งไว้เกือบสิบปี บางแปลงซื้อมาไม่กี่เดือนก็ขายไป บางแปลงมีการปรับปรุงที่ดินให้ดีขึ้นเพื่อขายให้ได้ราคาและปรากฏว่าโจทก์มีการซื้อและขายที่ดินทุกปี ตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินมาและขายไป โดยมุ่งในทางการค้าหากำไร โจทก์จึงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2536/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้และการสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
จำเลยเป็นหนี้โจทก์เกินกว่าห้าหมื่นบาทตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง ต่อมาจำเลยได้รับหนังสือทวงถามจากโจทก์ให้ชำระหนี้สองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวเมื่อจำเลยนำสืบไม่ได้ว่า จำเลยมีรายได้ตามที่อ้างและเป็นเจ้าหนี้บุคคลอื่นอยู่หลายราย ซึ่งจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด และรูปคดีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 จึงต้องพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2396/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาเอกสารภายในกำหนด
ผู้ร้องยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2533 และทนายของผู้ร้องลงลายมือชื่อทราบวันนัดให้มาฟังคำสั่งในวันที่ 20 ธันวาคม 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันที่ 20 ธันวาคม2533 ให้ผู้ร้องจัดการนำส่งสำเนาฎีกาให้ทนายโจทก์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 10 วัน แม้ผู้ร้องมิได้มาฟัง คำสั่งก็ต้องถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง เมื่อผู้ร้องมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกา ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากเจ้าหนี้เป็นจำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ในวันเดียวกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2ยอมเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวตลอดจนดอกเบี้ยและเงื่อนไขในสัญญาโดยไม่ได้ระบุวงเงินค้ำประกันไว้ แสดงว่าลูกหนี้ที่ 2 ยอมเข้าค้ำประกันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงินเพียง20,000 บาท ดังนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ในวงเงิน 20,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญานับแต่วันผิดนัด จนถึงวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คำพิพากษาในคดีแพ่งที่ให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ร่วมรับผิดกับลูกหนี้จำเลยที่ 1 เต็มตามจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นหนี้เจ้าหนี้นั้น ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะสอบสวนและมีความเห็นให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯมาตรา 94,105 และศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งเห็นชอบด้วยกับความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตามมาตรา 107(3) ค่าฤชาธรรมเนียมที่ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 ชำระเป็นหนี้ที่ผูกพันลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 2 จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และเจ้าหนี้ย่อมขอรับชำระหนี้นี้ในคดีล้มละลายได้.