พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์นำเข้าตามบัญชีราคาสินค้าและการเปรียบเทียบราคากับอะไหล่แท้
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นอะไหล่ยานยนต์ที่มีเครื่องหมายการค้า เอ็น.พี.อาร์.ไดโด้ และฟูจิ ซึ่งยานยนต์ยี่ห้อโคมัตสุ มิตซูบิชิ โตโยต้า ซูบารุ นิสสันและอีซูซุ ใช้ทดแทนอะไหล่แท้เมื่อบัญชีราคาสินค้าที่ตัวแทนจำหน่ายยานยนต์ยี่ห้อดังกล่าวยื่นต่อเจ้าหน้าที่ประเมินอากรได้ผ่านการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว ราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าจึงควรมีราคาตามบัญชีราคาสินค้าดังกล่าวหรือใกล้เคียงกัน แต่ปรากฏว่าราคาตามที่โจทก์สำแดงนั้นต่ำกว่าราคาตามบัญชีราคาสินค้าดังกล่าวมากและโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าแตกต่างกับสินค้าตามบัญชีราคาสินค้านั้นที่ตัวสินค้าหรือภาชนะบรรจุอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ราคาต่างกันมากเช่นนั้น ราคาที่โจทก์สำแดงจึงมิใช่ราคาขายส่งเงินสดทั่วไปที่ไม่มีการลดหย่อนราคาแก่กัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดดังนั้นการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 โดยเปรียบเทียบกับราคาตามบัญชีราคาสินค้าของอะไหล่แท้และถือเกณฑ์ให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 5 ในกรณีอะไหล่ดังกล่าวใช้ได้กับยานยนต์หลายยี่ห้อให้ใช้ราคาอะไหล่แท้ที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ และให้ต่างกันไม่เกินร้อยละ 20 ในกรณีที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้โดยทั่วไปจึงเป็นการประเมินโดยการเปรียบเทียบราคาที่มีเหตุผล ถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามมาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์ตามบัญชีราคาสินค้า และการใช้คำสั่งกรมศุลกากรในการประเมินราคา
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นอะไหล่ยานยนต์ ราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าจึงควรเท่ากับหรือใกล้เคียงกับราคาตามบัญชีราคาสินค้าที่ตัวแทนจำหน่ายยานยนต์นั้นเสนอให้เจ้าหน้าที่ประเมินอากรตรวจสอบและรับรองราคาไว้ แต่ปรากฏว่าราคาที่โจทก์สำแดงนั้นต่ำกว่าราคาตามบัญชีราคาสินค้ามาก โดยโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าแตกต่างกับสินค้าตามบัญชีราคาสินค้าที่ตัวสินค้า หรือภาชนะบรรจุอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ราคาต่างกันมากเช่นนั้น ดังนั้นราคาที่โจทก์สำแดงจึงไม่ใช่ราคาขายส่งเงินสดทั่วไป ที่ไม่มีการลดหย่อนราคาแก่กัน ถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริง ในท้องตลาดฉะนั้น การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมิน ราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 28/2527 โดยเปรียบเทียบกับราคาตามบัญชีราคาสินค้าและอะไหล่แท้ และถือเกณฑ์ ให้ต่างกันไม่เกินร้อยละ 5 ในกรณีที่อะไหล่ดังกล่าวใช้ได้กับยานยนต์ หลายยี่ห้อให้ใช้ราคาของอะไหล่แท้ที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ และต่างกัน ไม่เกินร้อยละ 20 ในกรณีที่ใช้ทดแทนได้กับอะไหล่แท้โดยทั่วไป จึงเป็นการเปรียบเทียบราคาที่มีเหตุผล ถือได้ว่าเป็นราคา อันแท้จริงในท้องตลาดตามกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาอะไหล่ยานยนต์นำเข้า: การเปรียบเทียบราคาตามบัญชีราคาสินค้าและคำสั่งกรมศุลกากร
สินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นอะไหล่ยานยนต์ที่มีเครื่องหมายการค้าเอ็น.พี.อาร์.ไดโด้และฟูจิซึ่งยานยนต์ยี่ห้อโคมัตสุมิตซูบิชิโตโยต้า ซูบารุนิสสันและอีซูซุ ใช้ทดแทนอะไหล่แท้ เมื่อบัญชีราคาสินค้าที่ตัวแทนจำหน่ายยานยนต์ยี่ห้อดังกล่าวยื่นต่อเจ้าหน้าที่ประเมินอากรได้ผ่านการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว ราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าจึงควรมีราคาตามบัญชีราคาสินค้าดังกล่าวหรือใกล้เคียงกัน แต่ปรากฏว่าราคาตามที่โจทก์สำแดงนั้นต่ำกว่าราคาตามบัญชีราคาสินค้าดังกล่าวมากและโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าแตกต่างกับสินค้าตามบัญชีราคาสินค้านั้นที่ตัวสินค้าหรือภาชนะบรรจุอย่างไร อันจะเป็นเหตุให้ราคาต่างกันมากเช่นนั้นราคาที่โจทก์สำแดงจึงมิใช่ราคาขายส่งเงินสดทั่วไปที่ไม่มีการลดหย่อนราคาแก่กัน จึงถือไม่ได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดดังนั้นการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าตามคำสั่งทั่วไป กรมศุลกากรที่ 28/2527 โดยเปรียบเทียบกับราคาตามบัญชีราคาสินค้าของอะไหล่แท้และถือเกณฑ์ให้ต่างกันได้ไม่เกินร้อยละ 5 ในกรณีอะไหล่ดังกล่าวใช้ได้กับยานยนต์หลายยี่ห้อให้ใช้ราคาอะไหล่แท้ที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ และให้ต่างกันไม่เกินร้อยละ 20 ในกรณีที่ใช้ทดแทนอะไหล่แท้โดยทั่วไป จึงเป็นการประเมินโดยการเปรียบเทียบราคาที่มีเหตุผล ถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามมาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปกปิดโรคประจำตัวก่อนทำประกันภัยทำให้สัญญามีโมฆียะและจำเลยมีสิทธิบอกล้างได้
ล. รู้ตัวว่าตนเป็นโรคไตวายร้ายแรง แต่ละเว้นไม่เปิดเผยความจริงทำให้จำเลยเข้าทำสัญญายอมรับประกันชีวิตล. โดยไม่ทราบการเป็นโรคไตร้ายแรงดังกล่าว ทำให้สัญญาประกันชีวิตเป็นโมฆียะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 865 เมื่อจำเลยบอกล้างภายในกำหนดแล้ว สัญญาย่อมตกเป็น โมฆะ ดังนี้โจทก์ในฐานะผู้รับประโยชน์ไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้เงินตามสัญญาประกันชีวิตได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งหมายบังคับคดี ตัวแทน vs. ตัวการ การส่งหมายให้ตัวการชอบแล้ว แม้ไม่ได้แจ้งตัวแทน
การที่จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้ ว. ไปดำเนินการควบคุมการขายทอดตลาดเข้าสู้ราคา คัดค้านราคาและอื่น ๆ จนเสร็จนั้นว. เป็นเพียงตัวแทน จำเลยที่ 1 เป็นตัวการ และยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 1 อยู่ตามเดิม จำเลยที่ 1 มิได้กลายเป็นผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีต่อไป อันศาลจะต้องส่งคำคู่ความหรือหมายนัดให้แก่ว. แต่เพียงผู้เดียวไม่ และในกรณีเช่นนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องส่งคำคู่ความหรือหมายนัดให้ทั้งสองคน คงเพียงแต่ส่งให้แก่บุคคลหนึ่งคนใดคือจำเลยที่ 1 หรือ ว. ก็ได้ เมื่อปรากฏว่าการส่งหมายต่าง ๆ ใช้วิธีประกาศทางหนังสือพิมพ์มาตลอด ตั้งแต่ชั้นพิจารณาและบังคับคดี การขายทอดตลาดครั้งที่ 1ถึงครั้งที่ 3 ก็ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์จำเลยที่ 1 เองก็ไม่เคยคัดค้านว่าเป็นการส่งไม่ชอบ การส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ครั้งที่ 4 โดยวิธีประกาศทางหนังสือพิมพ์จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1425/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดขายทอดตลาดชอบด้วยกฎหมาย แม้จะแจ้งแก่ตัวการ (จำเลย) แทนตัวแทน (ผู้รับมอบอำนาจ)
การที่จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้ ว. ไปดำเนินการควบคุมการขายทอดตลาดเข้าสู้ราคา คัดค้านราคาและอื่น ๆ จนเสร็จนั้น ว.เป็นเพียงตัวแทน จำเลยที่ 1 เป็นตัวการและยังคงมีฐานะเป็นจำเลยที่ 1อยู่ตามเดิม และในกรณีเช่นนี้ก็ไม่จำเป็นต้องส่งคำคู่ความหรือหมายนัดให้ทั้งสองคน คงเพียงแต่ส่งให้แก่บุคคลหนึ่งคนใด คือ จำเลยที่ 1 หรือ ว. ก็ได้ เมื่อปรากฏว่า การส่งหมายต่าง ๆ ได้ใช้วิธีประกาศทางหนังสือพิมพ์มาตลอดตั้งแต่ชั้นพิจารณาและชั้นบังคับคดี การขายทอดตลาดครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 ก็ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ จำเลยที่ 1 เองก็ไม่เคยคัดค้านว่าเป็นการส่งที่ไม่ชอบ การส่งหมายให้จำเลยที่ 1 ครั้งที่ 4 โดยวิธีประกาศทางหนังสือพิมพ์จึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด แม้จำเลยหลบหนี
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง ก่อนสอบคำให้การจำเลยที่ ๑ หลบหนี ศาลชั้นต้นออกหมายจับและสั่ง จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ ๑ ชั่วคราว ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ ๒ ไม่คัดค้าน เมื่อคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แม้จำเลยที่ ๑ ยังมิได้ให้การ และอยู่ระหว่าง หลบหนี เมื่อไม่มีการคัดค้าน ศาลฎีกาก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลย ทั้งสองได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙(๒) จำหน่ายคดีจาก สารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธิโจทก์และผลกระทบ
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้องก่อนสอบคำให้การจำเลยที่ 1 หลบหนี ศาลชั้นต้นออกหมายจับและสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ชั่วคราว ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 2 ไม่คัดค้านเมื่อคดีนี้เป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว โจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แม้จำเลยที่ 1 ยังมิได้ให้การ และอยู่ระหว่างหลบหนี เมื่อไม่มีการคัดค้าน ศาลฎีกาก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสองได้ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) จำหน่ายคดีจากสารบบความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การโอนในราคาต่ำกว่าตลาดเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
การโอนที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 นั้น ต้องเป็นการโอนภายในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย และภายหลังนั้น ให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอนและการโอนนั้นทำให้เจ้าหนี้คนอื่น ๆ เสียเปรียบ ที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอนนั้นหมายความว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนแล้วอันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนีได้ต่อไป จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านไว้ก่อนแล้ว ผู้คัดค้านจึงมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยในส่วนที่จะเรียกให้โอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านตามสัญญาจะซื้อจะขายอยู่แล้วก่อนโอนตามนัยบทกฎหมายดังกล่าวจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านในราคา 995,000 บาทต่อมาในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยโอนขายบ้านและที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนการโอนไว้ในราคาเพียง500,000 บาท แม้ก่อนการโอนผู้คัดค้านต้องไปไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยแต่ก็ปรากฏว่ามีการไถ่ถอนจำนองและโอนขายบ้านและที่ดินพิพาทในวันเดียวกัน โดยเงินที่นำไปไถ่ถอนเป็นเงินค่าบ้านและที่ดินพิพาทที่ต้องชำระให้จำเลยนั้นเอง การที่ผู้คัดค้านทำการไถ่ถอนจำนองและรับโอนบ้านและที่ดินพิพาทไปในราคาที่ต่ำกว่าราคาตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำไว้เดิม และเป็นการได้ทรัพย์ไปในขณะที่เจ้าหนี้รายอื่น ๆยังมิได้รับชำระหนี้ ประกอบกับได้ความว่าจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สิน การโอนทรัพย์สินของจำเลยในพฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นการทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนหรือการกระทำนั้นได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 มีความมุ่งหมายถึงการโอนทรัพย์สินหรือกระทำการใด ๆ ของลูกหนี้ ซึ่งได้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น โดยหาได้คำนึงถึงเหตุอันสมควรความจำเป็นหรือการถูกบังคับตามสัญญาไม่เมื่อตามพฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำไปโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนได้ การเพิกถอนการโอนเป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคุณสมบัติผู้จัดการมรดก: ศาลใช้ดุลพินิจจากพฤติการณ์และประโยชน์ของกองมรดก
ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านผู้ร้อง และขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก โดยกล่าวอ้างว่าตนไม่เคยมีความประพฤติเสื่อมเสียซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคท้ายนั้น ในการตั้งผู้จัดการมรดกให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดก ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 จึงต้องมีหน้าที่แสดงให้ศาลเห็นว่าตนมีความประพฤติดี เหมาะสมเป็นผู้จัดการมรดก แม้จะไม่มีการคัดค้านในข้อนี้เป็นการเฉพาะเจาะจง การที่ทายาทโดยธรรมเบิกความในคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกว่า เจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกเพียงเท่าที่เบิกความถึงแต่ความจริงเจ้ามรดกมีทรัพย์มรดกมากกว่านั้น ยังไม่พอฟังว่าเป็นการปิดบังทรัพย์มรดก.