คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา ไม่เป็นความผิดพรากผู้เยาว์
จำเลยและผู้เสียหายรักใคร่ชอบพอกันฉันชู้สาว ผู้เสียหายเต็มใจให้จำเลยร่วมประเวณีโดยสมัครใจ หลังจากนั้นประมาณ 20 วันจำเลยสึกจากพระภิกษุ โดยจำเลยและผู้เสียหายอยู่กินฉันสามีภรรยาตลอดมาจนมีบุตรด้วยกันคนหนึ่ง โดยจำเลยแต่ผู้เดียวเป็นผู้ทำงานหาเลี้ยงผู้เสียหาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยมีเจตนาพาผู้เสียหายไปและร่วมประเวณีกับผู้เสียหายด้วยประสงค์จะเลี้ยงดูผู้เสียหายเป็นภริยา แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยอยู่ในสมณเพศ แต่ต่อมาภายหลังจำเลยก็สึกจากสมณเพศโดยสมัครใจ และอยู่กินเลี้ยงดูผู้เสียหายตลอดมาจนเกิดบุตรด้วยกัน การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายน้ำมันเบนซิน การชำระภาษีและเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ความผิดนัดและดอกเบี้ย
จำเลยทำสัญญาต่อการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระเงินให้โจทก์เป็นค่าภาษีและส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามจำนวนน้ำมันเบนซินที่ผลิตได้ ต่อมาจำเลยได้ชำระภาษีและส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันให้โจทก์ การที่โจทก์รับชำระเงินดังกล่าวไว้ตลอดมาถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยผู้เป็นลูกหนี้แล้วว่า โจทก์ถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้นนับแต่จำเลยเริ่มปฏิบัติตามสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจเรียกจำเลยให้ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันได้ตามสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 5/2523 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2523 ข้อ 10 และคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 5/2524 เรื่อง การจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2524 ข้อ 7 ระบุให้ผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันกรณีเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผลิตและจำหน่ายจากโรงกลั่นน้ำมันในราชอาณาจักรเพื่อใช้ในราชอาณาจักร ส่งเงินแก่ผู้รับชำระภาษีน้ำมันพร้อมกับการชำระภาษีน้ำมันและกฎกระทรวง(พ.ศ. 2507) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งทำในราชอาณาจักร พ.ศ. 2507 ข้อ 2(ค) ระบุให้ชำระภาษีภายใน10 วัน นับแต่วันที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งจำนวนภาษีที่ต้องชำระให้ทราบ ดังนั้น เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยให้ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ซึ่งจำเลยทราบถึงหนังสือดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ส่งเงินพร้อมกับชำระภาษีภายในกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 โดยโจทก์ไม่ต้องทวงถามก่อน โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่า โจทก์มีอำนาจจัดเก็บภาษีสรรพสามิตภาษีน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน กับมีอำนาจเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธอำนาจหน้าที่ดังกล่าวจึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจรับชำระภาษีและเงินกองทุนน้ำมันดังกล่าวโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลภายนอก (กรมสรรพสามิต) และการแสดงเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างคู่สัญญา
จำเลยจ้างโรงกลั่นน้ำมันทหาร (บางจาก) ผลิตน้ำมันเบนซินให้จำเลยโดยการผสมน้ำมันกับสารบางชนิด ทำให้เป็นน้ำมันเบนซินและเบนซินพิเศษ เป็นการร่วมกับโรงกลั่นน้ำมันทหาร (บางจาก)ประกอบอุตสาหกรรมน้ำมัน และจำเลยทำสัญญาไว้กับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่า จำเลยจะเป็นผู้ชำระภาษีและส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันตามจำนวนน้ำมันเบนซินที่ผลิตได้โดยชำระให้แก่โจทก์ สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่คู่สัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และหลังจากทำสัญญาโจทก์ก็รับชำระเงินจากจำเลย ถือได้ว่าโจทก์แสดงเจตนาถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาแล้วต่อมาจำเลยไม่ชำระเงินเข้ากองทุนตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินให้โจทก์ เพื่อส่งเข้ากองทุนน้ำมันได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 374.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษคดีอาญา: ห้ามบวกโทษซ้ำเมื่อศาลชั้นต้นรวมโทษแล้ว แม้จำเลยมิได้โต้แย้ง
ศาลชั้นต้นได้บวกโทษซึ่งรอการลงโทษไว้ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1684/2529 เข้ากับโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1634/2530ไว้แล้ว จึงนำโทษในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1684/2529 มาบวกกับโทษในคดีนี้อีกไม่ได้ แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ศาลฎีกาก็แก้ไขให้ถูกต้องได้ โดยให้นับโทษคดีนี้ต่อจากโทษในคดีหมายเลขแดงที่ 1634/2530 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้เดิม vs. ผู้รับโอนสุจริตและมีค่าตอบแทน
การร้องขอเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 นั้น ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมีการโอน และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆของจำเลยเสียเปรียบ เพราะการที่จำเลยนำทรัพย์เท่าที่มีไปชำระเจ้าหนี้คนใดโดยเฉพาะเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้คนนั้น และทำให้เจ้าหนี้คนอื่นเสียเปรียบ กฎหมายมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกันซึ่งเป็นหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบแก่กัน จำเลยโอนขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ช. ก่อนโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายไม่ถึง1 เดือน แม้จะเป็นการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งทำให้ ช.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาขายฝากก็ตาม แต่เมื่อ ช. ผู้รับโอนมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก่อนทำสัญญาขายฝาก และ ช.ผู้รับโอนเข้าทำสัญญากับจำเลยโดยไม่ทราบความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย จึงเพิกถอนการโอนรายนี้ตามมาตรา 115 ไม่ได้พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และมาตรา 115ต่างก็มีวัตถุประสงค์คุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ต่างกันเพียงว่า ถ้าโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิมคนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นแล้ว อาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวก็พอให้เพิกถอนได้โดยไม่ต้องให้เจ้าหนี้เดิมพิสูจน์ว่าตนสุจริตและมีค่าตอบแทน เพราะเจ้าหนี้เช่นนี้รู้หรือควรจะรู้แล้วถึงสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย แต่ถ้าเป็นการโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยผู้รับโอนซึ่งไม่เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิมและโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ก็ยังเพิกถอนได้ตามมาตรา 114 ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 115 ตรงกันข้าม ถ้าผู้รับโอนเช่นนี้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจะนำมาตรา 115 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมิได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันมาก่อน อีกประการหนึ่งจะถือว่าผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การคุ้มครองเจ้าหนี้และผู้รับโอนสุจริต
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น มีความหมายว่า การโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบแต่กรณีการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน หากจะถือว่าการโอนของจำเลยเป็นการให้เปรียบแก่ผู้รับโอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยต้องเสียหาย ไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอน วัตถุประสงค์ของมาตรา 114และ 115 ยังคงคุ้มครองผู้สุจริตและมีค่าตอบแทนเช่นเดียวกันต่างกันเพียงว่าถ้า โอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและจำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิม คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวเป็นการพอเพียงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนเสียได้ แต่ถ้า เป็นการโอนไปภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยโอนไปยังผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิม ต้องอาศัยความไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนของผู้รับโอนด้วยจึงเพิกถอนได้ตามมาตรา 114 เช่นกันจะใช้มาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนแก่ผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนแล้วไม่ได้ พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 113 เป็นเรื่องลูกหนี้ทำให้ทรัพย์สินของตนลดลงเพื่อให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ โดยผู้รับโอนไม่จำต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้โอนมาก่อน แต่การจะเพิกถอนได้ต้องปรากฏว่าในขณะทำการโอนนั้นผู้รับโอนได้รู้เท่าถึงการกระทำของลูกหนี้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้เดิม vs. ผู้รับโอนสุจริต
การร้องขอเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115นั้น ต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมีการโอน และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ เพราะการที่จำเลยนำทรัพย์เท่าที่มีไปชำระเจ้าหนี้คนใดโดยเฉพาะเป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้คนนั้น และทำให้เจ้าหนี้คนอื่นเสียเปรียบ กฎหมายมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกัน ซึ่งเป็นหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบแก่กัน จำเลยโอนขายฝากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ ช.ก่อนโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายไม่ถึง 1 เดือน แม้จะเป็นการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งทำให้ช.มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาขายฝากก็ตาม แต่เมื่อ ช.ผู้รับโอนมิได้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยก่อนทำสัญญาขายฝาก และ ช.ผู้รับโอนเข้าทำสัญญากับจำเลยโดยไม่ทราบความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย จึงเพิกถอนการโอนรายนี้ตามมาตรา 115 ไม่ได้
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 และมาตรา 115 ต่างก็มีวัตถุประสงค์คุ้มครองบุคคลภายนอกผู้สุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ต่างกันเพียงว่า ถ้าโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย จำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิมคนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นแล้ว อาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวก็พอให้เพิกถอนได้ โดยไม่ต้องให้เจ้าหนี้เดิมพิสูจน์ว่าตนสุจริตและมีค่าตอบแทน เพราะเจ้าหนี้เช่นนี้รู้หรือควรจะรู้แล้วถึงสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลย แต่ถ้าเป็นการโอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยผู้รับโอนซึ่งไม่เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิมและโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ก็ยังเพิกถอนได้ตามมาตรา 114ไม่อยู่ในบังคับตามมาตรา 115 ตรงกันข้าม ถ้าผู้รับโอนเช่นนี้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจะนำมาตรา 115 มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะมิได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้กันมาก่อน อีกประการหนึ่งจะถือว่าผู้รับโอนได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นไม่ได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2534)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลาย: ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานแม้ไม่ได้ยื่นบัญชีแสดงเอกสาร หากเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในการสืบพยานจำเลยชั้นแรก พ.ผู้จัดการมรดกของร. อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความว่า ที่ดินตามสำเนาโฉนดที่ดินตามเอกสารหมาย ล.4 ราคาประเมินตารางวาละ 2,500 บาท ตามหนังสือรับรองราคาประเมินเอกสารหมายล.1 โจทก์จึงอ้างหนังสือรับรองราคาประเมินเอกสารหมาย จ.6 มาหักล้างคำของพ.และข้อความตามหนังสือรับรองราคาประเมินเอกสารหมายล.1เมื่อพ.พยานจำเลยเบิกความรับรองหนังสือรับรองราคาประเมินเอกสารหมาย จ.6 ดังกล่าวโจทก์ย่อมมีสิทธิอ้างอิงหนังสือรับรองราคาประเมินเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานประกอบคำของ พ. โดยไม่ต้องยื่นบัญชีแสดงเอกสารต่อศาลได้
จำเลยอ้างส่งหนังสือรับรองราคาประเมิน สำเนาหนังสือสัญญาจำนองและสำเนาบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 ต่อศาลโดยมิได้ยื่นบัญชีแสดงเอกสารดังกล่าว แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิ และเสรีภาพของผู้ที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 ว่ามีเหตุอันควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ และจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ อันเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดีที่มีความจำเป็นจะต้องสืบพยานอันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งเอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 เป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่จะแสดงได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยื่นบัญชีแสดงเอกสารดังกล่าวต่อศาลก็ตาม ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานแม้ไม่ได้ยื่นบัญชีแสดงเอกสาร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ในการสืบพยานจำเลย พยานจำเลยเบิกความว่า ที่ดินตามสำเนาโฉนดที่ดินเอกสารหมาย ล.4 และ ล.5 ราคาประเมินตารางวาละ 2,500 บาทตามหนังสือรับรองราคาประเมินเอกสารหมาย ล.1 โจทก์จึงอ้างหนังสือรับรองราคาประเมินเอกสารหมาย จ.6 มาหักล้างคำ ของ พยานจำเลย และข้อความตามหนังสือรับรองราคาประเมิน เอกสารหมาย ล.1 เมื่อพยานจำเลยเบิกความรับรองหนังสือรับรองราคาประเมินเอกสารหมาย จ.6 โจทก์ย่อมมีสิทธิอ้างหนังสือรับรองราคาประเมินเอกสารหมาย จ.6 เป็นพยานหลักฐานประกอบคำ ของ พยานจำเลยโดยไม่ต้องยื่นบัญชีแสดงเอกสารต่อศาลได้ การพิจารณาคดีล้มละลาย ผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนมีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 ว่ามีเหตุอันควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ และจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นประเด็นสำคัญในคดีที่มีความจำเป็นต้องสืบพยานอันเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งหนังสือรับรองราคาประเมิน สำเนาหนังสือสัญญาจำนองและสำเนาบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เอกสารหมาย ล.1 ถึง ล.3 เป็นพยานสำคัญที่จะแสดงได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ แม้จำเลยจะมิได้ยื่นบัญชีแสดงเอกสารดังกล่าว ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ และในปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกวินิจฉัยให้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์รถแยกจากทะเบียน การโอนทะเบียนหลังยึดไม่ใช่ความผิด
การโอนรถทางทะเบียนนั้น เป็นเพียงหลักฐานเพื่อแสดงว่าใครเป็นเจ้าของและมีสิทธิใช้รถซึ่งเป็นมาตรการในการควบคุมการใช้รถ ตามนัย พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 6,17 เท่านั้นมิใช่เป็นหลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโอนรถไปเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2528ภายหลังการยึดหนึ่งวัน และนำสืบเพียงว่า วันที่ 17 มกราคม2528 เป็นเพียงการโอนทางทะเบียน มิใช่โอนกรรมสิทธิ์ในตัวรถเช่นนี้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในรถคันที่โจทก์ฟ้องไปก่อนการยึดแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะเพิ่งโอนทะเบียนรถไปหลังจากการยึด 1 วัน ก็เป็นเพียงโอนทางทะเบียน มิใช่โอนกรรมสิทธิ์ในตัวรถ ดังนั้นจำเลยย่อมไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350.
of 39