พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างรั้วกีดขวางทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่ร่นแนวรั้วตามกฎหมาย จำเลยต้องรื้อถอน
จำเลยก่อสร้างรั้วริมซอย อันเป็นทางสาธารณะที่มีความกว้าง ไม่ถึง 6 เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตและโดยไม่ร่นแนวรั้วให้ห่างจาก ศูนย์กลางซอย อย่างน้อย 3 เมตร จึงเป็นการ ฝ่าฝืนข้อบังคับกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 72 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 21และเป็นการฝ่าฝืนที่ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ตามมาตรา 42 จำเลยจึงต้องรื้อถอนรั้วดังกล่าว ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ความผิดฐานละเมิดตาม ป.พ.พ. หากแต่เป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครอง ประโยชน์และ ความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามกฎหมายควบคุมอาคาร ไม่ใช่ละเมิด โจทก์มีสิทธิฟ้องรื้อถอนได้เสมอ
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายมิใช่ ความผิด ฐานละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากแต่เป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยแก่ประชาชนเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องบังคับให้รื้อถอนได้เสมอตราบที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินความประมาทของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์: ความเร็ว, ไฟส่องสว่าง, และการตัดหน้า
จำเลยขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วประมาณ50 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ในขณะที่การจราจรบริเวณที่เกิดเหตุไม่พลุกพล่าน ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยขับขี่รถเร็วเกินไปขณะเกิดเหตุ พ. ขับขี่รถจักรยานยนต์ตัดหน้ารถของจำเลยอย่างกระชั้นชิด จำเลยไม่อาจหยุดรถได้ทันจึงเกิดชนกันขึ้นจึงมิใช่ความประมาทของจำเลยทั้งในขณะเกิดเหตุรถชนกันเวลาประมาณทุ่มเศษ เป็นเวลาเพิ่งเริ่มจะมืดแต่ยังมีแสงสว่างจากไฟฟ้าเกาะกลางถนน สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลพอสมควร ในถนนที่การจราจรไม่พลุกพล่าน การที่จำเลยไม่เปิดไฟหน้ารถ ก็ยังไม่อาจถือว่าจำเลยขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้เกิดการชนกันขึ้นเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 648/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาการประกวดราคาและการริบเงินประกันซองเมื่อผู้ชนะไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข
คำฟ้องของจำเลยบรรยายเกี่ยวกับข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาอันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกสัญญากับโจทก์ที่ 1 และอ้างว่าโจทก์ที่ 1 ทราบข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวแล้วแม้จะไม่มีเอกสารประกอบข้ออ้างนั้นก็ย่อมเป็นคำบรรยายฟ้องที่แสดงแจ้งชัดแล้ว ข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาจะมีอยู่หรือไม่อย่างไรย่อมสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องแนบมากับคำฟ้องไม่ ส่วนที่โจทก์ที่ 1 อ้างว่า จำเลยมิได้บรรยายว่าจำเลยได้รับความเสียหายอย่างไรจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุมนั้น เป็นข้อที่โจทก์ที่ 1 มิได้ยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น คำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นโจทก์ในสำนวนแรกและคำให้การของโจทก์ที่ 1 ในฐานะที่เป็นจำเลยที่ 1 ในสำนวนที่สองนั้นกล่าวไว้อย่างเดียวกันว่าในวันนัดลงนามในสัญญาก่อสร้างกับจำเลยนั้นจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ที่ 1 ทราบว่าหนังสือของบริษัท ซ. ที่โจทก์ที่ 1 ยื่นแก่จำเลยครั้งแรกไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ที่1 ลงนามในสัญญาแทนบริษัท ซ. ได้ ในวันนั้นโจทก์ที่ 1 จึงลงนามไปฝ่ายเดียวก่อน โดยจะจัดการให้บริษัท ซ. ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 มีอำนาจลงนามมายื่นแก่จำเลยอีกครั้งหนึ่งคำฟ้องและคำให้การของโจทก์ที่ 1 เช่นนี้จึงเป็นการยอมรับแล้วว่าในการลงนามในสัญญาก่อสร้างจะต้องให้บริษัท ซ. ลงนามด้วยดังนั้นที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่าโจทก์ที่ 1 มิได้ผิดสัญญาเพราะโจทก์ที่ 1 ไม่มีหน้าที่จะต้องนำบริษัท ซ. มาลงนามด้วยเพียงแต่โจทก์ที่ 1 ลงนามฝ่ายเดียวในสัญญาก็สมบูรณ์แล้วเนื่องจากมิได้มีข้อกำหนดระบุไว้เช่นนั้น จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยหนี้จากทรัพย์สินที่ได้จากการบังคับคดีและการพิจารณาความเพียงพอของทรัพย์สินอื่นในการชำระหนี้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยในเงินบำเหน็จอันเนื่องมาจากการลาออกของลูกหนี้ว่า จำเลยมีทรัพย์สินเพียงเงินเดือน บำเหน็จและโบนัส เท่านั้น จำเลยได้ลาออกจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยซึ่งจะได้บำเหน็จและโบนัสประจำปีกับเงินเดือนก่อนที่จะลาออกจากงานและองค์การโทรศัพท์ฯ จัดส่งเงินจำนวนดังกล่าวมาให้แล้ว ตามคำร้องดังกล่าวแสดงว่าผู้ร้องประสงค์ขอเฉลี่ยในเงินดังกล่าวอันเนื่องมาจากลูกหนี้ลาออกจากงาน ดังนั้น เมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้ขออายัดเงินรายเดียว แต่มีการทยอยส่งมาหลายงวด คำขอเฉลี่ยของผู้ร้องย่อมคลุมถึงเงินที่ส่งมาให้ทุกงวด โดยไม่ต้องยื่นคำขอซ้ำเข้ามาอีก ผู้ร้องนำสืบแล้วว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก ดังนั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินอื่นอยู่ โดยไม่นำสืบว่าทรัพย์สินดังกล่าวเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้องหรือไม่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่ไม่ได้ยกขึ้นในชั้นศาล และการเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อสู้ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดเรื่องอายุความเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ในการชี้สองสถาน และจำเลยไม่ได้คัดค้าน จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่าคดีขาดอายุความแล้วหรือไม่ จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้จำเลยจะฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้รับมอบอำนาจมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจหาได้ไม่เพราะไม่ใช่ประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาที่ต่างจากที่ให้การไว้ในชั้นต้นและอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยทั้งสามในประเด็นที่ว่าคดีขาดอายุความแล้วปรากฏว่าในการชี้สองสถาน ศาลมิได้กำหนดเรื่องอายุความเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้ จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์มิได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีแต่ยกขึ้นเป็นประเด็นในชั้นฎีกาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะผู้รับมอบอำนาจมิได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้รับมอบอำนาจเหตุที่จำเลยทั้งสามยกขึ้นฎีกาจึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยทั้งสามให้การสู้คดีไว้ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้องฐานหมิ่นประมาท แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย
เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานหมิ่นประมาททั้งสองกระทง แม้ฎีกาของโจทก์ที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาททั้งสองกระทงจะเป็นฎีกาปัญหาข้อกฎหมายก็ตาม ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการอุทธรณ์: ข้อจำกัดด้านเวลาและอำนาจฟ้อง กรณีขาดอายุความและไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
โจทก์สำแดงราคาสินค้าเพื่อเสียภาษีอากร พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่าไม่ถูกต้องจึงให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่ม ซึ่งมีทั้งอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันอยู่ชัดเจนดังนี้ ถือว่าได้มีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องอย่างไรชอบที่จะอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 30 เสียก่อนเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วันโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จะอ้างว่าการที่โจทก์อุทธรณ์ต่อจำเลยเป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลด้วยไม่ได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนเงินอากรขาเข้าที่โจทก์ชำระไว้เกินคืน แม้โจทก์จะอ้างว่าโจทก์เสียภาษีอากรเกินดังกล่าวไปโดยไม่ยินยอมโดยมีข้อคัดค้านต่อจำเลยไว้ก็ตาม กรณีเป็นเรื่องการเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงโจทก์ต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี นับแต่วันที่นำของเข้า มิฉะนั้นคดีของโจทก์ขาดอายุความ ตามมาตรา 10 วรรคห้าแห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร, อำนาจฟ้องภาษีการค้าและบำรุงเทศบาล, การประเมินภาษีอากรเกิน
เมื่อโจทก์สำแดงราคาสินค้านำเข้าเพื่อเสียภาษีอากรและกรมศุลกากรเรียกให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มซึ่งมีทั้งอากรขาเข้าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรแล้ว แม้การเรียกเก็บภาษีอากรทั้งสามประเภทจะต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน หากโจทก์เห็นว่าการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลไม่ถูกต้องอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา30 เสียก่อน ไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนให้อุทธรณ์ในกรณีนี้ต่อกรมศุลกากรได้ การที่โจทก์อุทธรณ์การประเมินต่อกองวิเคราะห์ราคาของกรมศุลกากรถือไม่ได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกคืนภาษีทั้งสองประเภท การเรียกร้องขอคืนอากรเพราะเหตุที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะแล้ว มิใช่มีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์