คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องระบุชัดเจนถึงผู้ค้ำประกันและหนี้ที่ค้ำ หากไม่ชัดเจน ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีแต่จำเลยที่ 3 ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันไว้เท่านั้น โดยข้อความในสัญญามิได้ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของผู้ใดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันนั้นมาให้โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งข้อความในสัญญาก็กล่าวถึงการค้ำประกันต่อบริษัทโดยตลอด มิได้บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 3 เจตนาจะค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ย่อมไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4141/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องระบุชัดเจนถึงผู้ค้ำประกันและผู้รับประกัน มิฉะนั้นใช้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีแต่จำเลยที่ 3 ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันไว้เท่านั้น โดยข้อความในสัญญามิได้ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ค้ำประกันหนี้ของผู้ใดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันนั้นมาให้โจทก์ โดยไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ทั้งข้อความในสัญญาก็กล่าวถึงการค้ำประกันต่อบริษัทโดยตลอด มิได้บ่งชี้ว่า จำเลยที่ 3 เจตนาจะค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์แต่อย่างใด โจทก์ย่อมไม่อาจใช้หนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นหลักฐานฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงกฎหมายเงินทุนโดยใช้วิธีการกู้ยืมเงินผ่านตัวกลาง ทำให้ธุรกรรมเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนต้องการให้ผู้คัดค้านที่ 3ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน กู้ยืมเงิน แต่ไม่สามารถทำได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 35 จำเลยจึงให้ผู้คัดค้านที่ 1 กู้ยืมเงินเพื่อนไปให้ผู้คัดค้านที่ 3กู้ยืมเงินนั้นต่อด้วยวิธีให้ผู้คัดค้านที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลยที่ 1 โดยผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับอาวัล และผู้คัดค้านที่ 3 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ผู้คัดค้านที่ 1 โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้รับอาวัล ต่อมาก่อนผู้คัดค้านที่ 3 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ได้มีการหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินกันระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1และผู้คัดค้านทั้งสามย่อมเป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 นิติกรรมการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีผลบังคับโดยศาลไม่จำต้องเพิกถอน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะเรียกเงินกู้คืนจากผู้คัดค้านที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4006/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการพิสูจน์การใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้า
การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับสินค้าของโจทก์ที่ผลิตออกแจกจ่ายแก่ลูกค้าและประชาชนในประเทศไทยก่อนจำเลยเพื่อทราบข้อมูลว่าสินค้าที่โจทก์ผลิตออกมาจะได้รับความนิยมจากประชาชนหรือไม่เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ถึงแม้ในชั้นแรกโจทก์จะแจกจ่ายแก่ประชาชนเป็นระยะเวลาสั้น ๆและมีจำนวนไม่มานักก็ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทแล้ว เมื่อโจทก์ใช้มาก่อนจำเลยผู้จดทะเบียนและได้ความว่าสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทได้รับความนิยมจากประชาชนในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯมาตรา 41(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าเช็คในฐานะผู้รับอาวัล: เช็คสั่งจ่ายผู้ถือ สิทธิไล่เบี้ย 10 ปี
เจ้าหนี้สลักหลังเช็คพิพาทเป็นอาวัลผู้สั่งจ่าย เมื่อธนาคารตามเช็คพิพาทปฏิเสธการจ่ายเงิน เจ้าหนี้ในฐานะผู้รับอาวัลได้ใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรง เจ้าหนี้ย่อมได้สิทธิในอันที่จะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยบุคคลซึ่งตนได้ประกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 940 ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164คำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็ค การเลิกสัญญาเช่าซื้อ และสิทธิของผู้ทรงเช็คหลังเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
จำเลยออกเช็คผ่อนชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ให้แก่โจทก์รวม 7 งวด งวดละฉบับ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทุกฉบับ จำเลยได้ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างโดยออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทอีก และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว สัญญาเช่าซื้อย่อมเลิกกันนับแต่นั้นเมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับจำเลยชำระให้แก่โจทก์ก่อนเลิกสัญญากัน ถือได้ว่าเป็นค่าเช่าซื้อที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้วด้วยเช็คแทนเงิน หาใช่ค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระและค้างชำระอยู่ไม่ แม้เช็คพิพาทจะรับเงินไม่ได้เพราะธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน มูลหนี้ตามเช็คก็ยังไม่ระงับจนกว่าจะได้ใช้เงินตามเช็คนั้นแล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดใช้หนี้ตามเช็คพิพาท เมื่อโจทก์นำเช็คพิพาทไปขายลดให้แก่ธนาคาร ธนาคารเรียกเก็บเงินตามเช็คไม่ได้และโจทก์ได้นำเงินไปชำระให้แก่ธนาคารแล้วรับเช็คคืน โจทก์จึงกลับมาเป็นผู้ทรงมีสิทธิฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาทหลังคืนรถเช่าซื้อ: มูลหนี้ยังอยู่ แม้เช็คไม่ผ่าน โจทก์ฟ้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321
เช็คพิพาททั้งสองฉบับจำเลยชำระให้แก่โจทก์ก่อนเลิกสัญญากันถือได้ว่าเป็นค่าเช่าซื้อที่โจทก์ได้รับชำระไว้แล้วด้วยเช็คแทนเงินหาใช่ค่าเช่าซื้อที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระและค้างชำระแม้เช็คดังกล่าวจะรับเงินไม่ได้ มูลหนี้ตามเช็คยังคงมีอยู่ไม่ระงับไปจนกว่าจะได้ใช้เงินตามเช็คนั้นแล้ว ดังนี้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 321

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องไม่เคลือบคลุม - สัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชี - ดอกเบี้ยเพิ่ม - สิทธิของโจทก์ในการบังคับชำระหนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 โดยถือเอาบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 13777 ของจำเลยที่มีไว้กับโจทก์เพื่อเดินสะพัดบัญชีกับโจทก์ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2526 จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,256,239.21 บาท จำเลยได้จำนองที่ดินและเครื่องจักรเป็นประดับหนี้ดังกล่าว หนี้ถึงกำหนดแล้วแต่จำเลยยังไม่ชำระให้โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้หากไม่ชำระให้ครบ ให้ยึดทรัพย์ที่จำนองออกขายทอดตลาด หากได้เงินยังไม่ชำระหนี้ก็ให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้โจทก์จนครบ คำฟ้องดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำของบีงคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้าหาครบถ้วนสมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 แล้ว ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ซึ่งเป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก และวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมายแต่อย่างใด สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเพิ่มดอกเบี้ยย้อนหลังในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ย่อมใช้บังคับได้ หากเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างคู่สัญญาโดยไม่ขัดกฎหมาย
จำเลยทำสัญญาตกลงกับโจทก์ให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเพิ่มจากร้อยละ 12.5 ต่อปี เป็นร้อยละ 15 ต่อปี และร้อยละ18 ต่อปี แม้เป็นการเพิ่มดอกเบี้ยย้อนหลัง แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาในทางแพ่งซึ่งทำขึ้นระหว่างธนาคารโจทก์กับจำเลยอันเป็นคู่สัญญา มิได้มีผลผูกพันถึงบุคคลภายนอก ทั้งวัตถุประสงค์ของสัญญาก็ไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ดังนี้ สัญญาดังกล่าวใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: ผลของการไม่บังคับจำนองตามคำพิพากษาเดิม
ในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยกับพวกให้ร่วมกันรับผิดใช้เงินแก่ผู้ร้อง มิฉะนั้นให้นำทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ผู้ร้องนั้น ศาลเพียงแต่พิพากษาให้จำเลยร่วมกับพวกชำระหนี้แก่ผู้ร้องเท่านั้น มิได้กล่าวถึงการบังคับจำนองด้วย จึงต้องถือว่าคำฟ้องที่ผู้ร้องขอให้บังคับจำนอง ศาลนั้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อผู้ร้องไม่อุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษานั้นจึงผูกพันผู้ร้องมิให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองรายนี้ต่อไป ดังนั้นผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สินในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันในทางจำนองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 อีกไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
of 39