คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3380/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ระงับด้วยการส่งมอบรถยนต์ ไม่เป็นหนี้ที่แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความตกลงกันว่า จำเลยกับพวกร่วมกันชำระเงินให้แก่โจทก์ 290,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็นงวด หากผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที โดยยอมส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนให้โจทก์ในสภาพใช้การได้ ถ้าจำเลยชำระหนี้ครบถ้วนก็ให้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ดังกล่าวเป็นของจำเลย เมื่อจำเลยผิดนัดและส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์แล้ว จึงไม่มีหนี้ที่จะบังคับคดีต่อไป โจทก์จะถือเอาจำนวนเงินในสัญญายอมจำนวน 240,000 บาท มาอ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวยังไม่ได้ เพราะหากพิพาทกันในชั้นบังคับคดีต่อไปก็ยังไม่แน่นอนว่าจำเลยจะอ้างชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์อาจต้องยอมรับรถคืนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นหนี้ที่ไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมเงินแก่ลูกหนี้ที่มีหนี้สินจากการซื้อกิจการ ไม่ถือว่าเจ้าหนี้จงใจให้ก่อหนี้เกินตัว
การที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินในวันเดียวกับที่ลูกหนี้ไปค้ำประกันเงินกู้ของบริษัท โดยการกู้ยืมเงินทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกหนี้ได้กิจการของบริษัทนั้นมา เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีหนี้สินอื่นใดมาก่อน จึงมิใช่กรณีเจ้าหนี้ให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้นโดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: การโต้เถียงดุลพินิจศาลในข้อเท็จจริง และการขอรอการลงโทษในความผิดที่มีโทษจำคุกเกินห้าปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264 265 ให้จำคุก 2 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จำคุก 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ บทมาตราแห่งความผิด เพียงแต่ ปรับบทกฎหมายที่ลงโทษให้ถูกต้อง และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า คำพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ หรือลงโทษสถานเบาในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ม.218 วรรคแรก ปัญหาข้อเท็จจริง-การแก้ไขโทษเล็กน้อย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264265 ให้จำคุก 2 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 จำคุก 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ บทมาตราแห่งความผิด เพียงแต่ ปรับบทกฎหมายที่ลงโทษให้ถูกต้อง และยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาปลอมเอกสารตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า คำพยานโจทก์ไม่น่าเชื่อ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดข้อหานี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ หรือลงโทษสถานเบาในข้อหามีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดย ไม่ได้รับอนุญาต เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อความผิดข้อหานี้ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3213/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนและหลังล้มละลาย: ความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ล้มละลาย และผลของการจำนองต่อเนื่อง
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะจดทะเบียนจำนองทรัพย์ พิพาทซึ่ง เดิมเป็นของลูกหนี้ไว้กับผู้คัดค้านที่ 3 หลังลูกหนี้ถูก ฟ้องขอให้ล้มละลาย แต่ เมื่อเป็นการจดทะเบียนจำนองเพราะผู้คัดค้านที่ 2รับโอนทรัพย์พิพาทมาจากผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับเป็นลูกหนี้จำนองแทนผู้คัดค้านที่ 1 เท่ากับการจดทะเบียนจำนองดังกล่าวมีผลสืบเนื่องมาจากภารจำนองเดิม ระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3ซึ่ง ทำขึ้นก่อนลูกหนี้ถูก ฟ้องขอให้ล้มละลาย ถือ ไม่ได้ว่าการที่ผู้คัดค้านที่ 2 จดทะเบียนจำนองดังกล่าว เป็นการกระทำภายหลังมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3 จึงได้ รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี แต่ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการให้จำเลยรับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068,1050 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดเจ้าหน้าที่ของโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1ให้มาพบกับมีหมายเรียกให้มาไต่สวนให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนทั้งไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลประเมินภาษีแล้วให้จำเลยที่ 1ทราบ จำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้อุทธรณ์แต่อย่างใด ฉะนั้นภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นภาษีเด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 87 ทวิ,88,21 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีที่เจ้าพนักงานประเมิน ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ เจ้าหน้าที่ของโจทก์หมายเรียกมาสอบถามและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบแต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปไต่สวนและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ประเมินและแจ้งผลการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ทราบแล้วจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 71(1),21 จำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า500,000 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-เลิกห้าง-อำนาจฟ้อง-ภาษีเด็ดขาด-หนี้ภาษี
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและต้อง มีการชำระบัญชี ซึ่ง ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดย จำเลยที่ 2ในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12491251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1โดย จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้อง รับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำ กว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนิน กิจการมาให้ตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522,2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาทจำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-การเลิกห้าง-ภาษีค้างชำระ: ศาลยืนฟ้องล้มละลายได้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี ซึ่งห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 1251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้
จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522, 2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) 21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3072/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษจำคุกหลายกระทงความผิดที่เกี่ยวข้องกับเอกสาร และข้อยกเว้นตาม ป.อ. มาตรา 91(2) ที่ศาลควรพิจารณารวมโทษ
คดีทั้งเจ็ดสำนวนที่โจทก์ขอให้นับโทษจำคุกจำเลยติดต่อกันเป็นการกระทำความผิดซึ่งมีอัตราโทษจำคุกแต่ละกระทง ความผิดไม่เกิน 10 ปี พยานหลักฐานของโจทก์ส่วนใหญ่เป็นชุด เดียวกันผู้เสียหายเป็นหน่วยราชการเดียวกัน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องจำเลยสำหรับการกระทำผิดทั้งเจ็ดสำนวนรวมเป็นคดีเดียวกันได้ แม้ศาลจะเรียงกระทงลงโทษจำคุก จำเลยที่ 2 ทั้งเจ็ดสำนวนแล้วมีโทษจำคุกเกินกว่า20 ปี ก็คงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ได้เพียง 20 ปี ตามที่กำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 91(2) แต่การที่โจทก์แยกฟ้องจำเลยที่ 2 แต่ละกระทงความผิดเป็นรายสำนวนไปโดยศาลมิได้สั่งรวมการพิจารณาและพิพากษาเข้าด้วยกันเช่นนี้ ศาลก็จะลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 เกินกว่าที่กำหนดไว้ตาม ป.อ. มาตรา 91(2) ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับชำระหนี้ยังใช้ได้ แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถูกเพิกถอนและมีคำสั่งใหม่
กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาล-ชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 209 ประกอบด้วยพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น ต้องนำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายล้มละลาย กล่าวคือคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถูกเพิกถอนไปและต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะในส่วนที่ผิดพลาดและถูกเพิกถอนเท่านั้นกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ย่อมนำ ป.วิ.พ. มาใช้ได้ ส่วนกระบวนพิจารณาที่กระทำโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเริ่มต้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วเป็นต้นว่ากรณีคำขอรับชำระหนี้ กรณีการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินโดยการมีหนังสือแจ้งความไปยังบุคคลที่เป็นหนี้ลูกหนี้ผู้ล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 และกรณีอื่น ๆ อีกซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ กระบวนพิจารณาเหล่านี้ย่อมดำเนินต่อไปได้ตามวิธีพิจารณาคดีล้มละลายในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องไปเริ่มต้นกระบวนพิจารณาเหล่านั้นใหม่ในกรณีที่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเปลี่ยนแปลงไปโดยผลของคำพิพากษาศาลสูง เว้นแต่กรณีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดสิ้นผลโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลสูง กรณีคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ยื่นไว้แต่เดิม ไม่มีส่วนใดที่ผิดกฎหมายจึงไม่ถูกเพิกถอนไปด้วยและยังคงใช้ได้อยู่ แม้ศาลอุทธรณ์จะยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นยังคงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเช่นเดิมผู้ร้องไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ใหม่ ทั้งกำหนดระยะเวลาสำหรับการยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นกำหนดระยะเวลาให้กระทำก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้สิ้นสุดลง แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งแรกแล้ว แม้จะเป็นการยื่นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองก็ถือว่าได้ยื่นไว้แล้วก่อนระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองสิ้นสุดลง
of 39