คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับชำระหนี้ยังคงใช้ได้ แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถูกเพิกถอนและมีคำสั่งใหม่
กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ ซึ่งต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 มาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น ต้องนำมาใช้เท่าที่ไม่ขัดกับกฎหมายล้มละลาย กล่าวคือคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถูกเพิกถอนไปและต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะในส่วนที่ผิดพลาดและถูกเพิกถอนเท่านั้น กระบวนพิจารณาในส่วนนี้ย่อมนำ ป.วิ.พ. มาใช้ได้ส่วนกระบวนพิจารณาที่กระทำโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเริ่มต้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เป็นต้นว่ากรณีคำขอรับชำระหนี้ กรณีการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินโดยการมีหนังสือแจ้งความไปยังบุคคลที่เป็นหนี้ลูกหนี้ผู้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119และกรณีอื่น ๆ อีกซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ กระบวนพิจารณาเหล่านี้ย่อมดำเนินต่อไปได้ตามวิธีพิจารณาคดีล้มละลายในเรื่องนั้น ๆโดยไม่ต้องไปเริ่มต้นกระบวนพิจารณาเหล่านั้นใหม่ในกรณีที่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเปลี่ยนแปลงไปโดยผลของคำพิพากษาศาลสูงเว้นแต่กรณีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดสิ้นผลโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลสูง กรณีคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ยื่นไว้แต่เดิม ไม่มีส่วนใดที่ผิดกฎหมายจึงไม่ถูกเพิกถอนไปด้วยและยังคงใช้ได้อยู่ แม้ศาลอุทธรณ์จะยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นยังคงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเช่นเดิมผู้ร้องไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ใหม่ ทั้งกำหนดระยะเวลาสำหรับการยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นกำหนดระยะเวลาให้กระทำก่อนระยะเวลาที่กำหนดไว้สิ้นสุดลง แต่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งแรกแล้ว แม้จะเป็นการยื่นก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองก็ถือว่าได้ยื่นไว้แล้วก่อนระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองสิ้นสุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ภาษีอากรหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลต่อการยกเลิกการล้มละลาย
แถลงการณ์กระทรวงการคลังระบุว่า "ฯลฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากร จึงขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากร ฯลฯ ได้ยื่นชำระภาษีอากร ฯลฯ ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ตามเงื่อนไข ฯลฯ ข้อ 4 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสีย ฯลฯ ภาษีอากร ฯลฯ รับแจ้งการประเมินฯลฯ ก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์นี้ แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ฯลฯ ในแบบแจ้งการประเมิน ฯลฯ นั้น และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตามข้อ 7 แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้าภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หรือต่อศาลผู้เสียภาษีอากรต้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฟ้องนั้น และได้ รับอนุมัติเสียก่อน ฯลฯ" ดังนั้น กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูกแจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนและภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตาม แถลงการณ์กระทรวงการคลัง โดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดยเสมอภาค
คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ชำระหนี้ภาษีอากรครบถ้วนหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ถือเป็นการชำระหนี้โดยสมบูรณ์ ทำให้พ้นจากภาวะล้มละลาย
กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูกแจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อคณะกรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลัง ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2525 ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วน และภายในเวลาที่กำหนดลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว โดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ทั้งนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้รับชำระหนี้โดยเสมอภาคแต่คดีที่ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์ได้โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็ม จำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีอากรหลังแจ้งการประเมินและการขยายเวลาชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้
ตามแถลงการณ์ของกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฎฐ แห่งประมวลรัษฎากรได้ขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากรเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากรได้ยื่นชำระภาษีอากรให้ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ทั้งนี้มีเงื่อนไขในข้อ 4 ว่าในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร รับแจ้งการประเมินก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์ แต่ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลาในแบบแจ้งการประเมิน และพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตามข้อ 7 แล้วผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้าภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล ผู้เสียภาษีอากรต้องขอถอนอุทธรณ์หรือถอนฟ้องนั้นและได้รับอนุมัติเสียก่อน การที่ลูกหนี้ผู้เสียภาษีอากรซึ่งถูกฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนั้น มิใช่กรณีลูกหนี้ซึ่งถูกแจ้งการประเมินภาษีอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อศาล จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าวดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามแถลงการณ์กระทรวงการคลังโดยไม่ต้องขอถอนฟ้องก่อน ลูกหนี้ซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมีเจ้าหนี้เพียงรายเดียวคือโจทก์ การที่ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรง ย่อมไม่ก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อหนี้สินของลูกหนี้ได้ชำระเต็มจำนวนแล้วเหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายย่อมหมดไป จึงต้องยกเลิกการล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ภาษีอากรหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และผลต่อการยกเลิกการล้มละลาย
แถลงการณ์กระทรวงการคลังระบุว่า "ฯลฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตาม มาตรา 3 อัฏฐ แห่งประมวลรัษฎากรจึงขยายเวลาชำระและนำส่งภาษีอากร เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มิได้เสียภาษีอากร ฯลฯ ได้ ยื่นชำระภาษีอากร ฯลฯ ถูกต้อง ครบถ้วน โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ ฯลฯ ทั้งนี้ตาม เงื่อนไข ฯลฯข้อ 4 ในกรณีผู้มีหน้าที่เสีย ฯลฯ ภาษีอากร ฯลฯ รับแจ้งการประเมินฯลฯ ก่อนวันที่ที่ลงในแถลงการณ์นี้ แต่ ยังมิได้ชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนตาม กำหนดเวลา ฯลฯ ในแบบแจ้งการประเมิน ฯลฯ นั้นและพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว หากได้ นำภาษีอากรที่ค้างชำระอยู่นั้นไปชำระภายในระยะเวลาตาม ข้อ 7 แล้ว ผู้นั้นไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มใด ๆ สำหรับภาษีอากรส่วนที่ชำระนั้น ถ้า ภาษีอากรค้างนั้น ค้างอยู่ในชั้น อุทธรณ์ต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อ ศาลผู้เสียภาษีอากรต้อง ขอถอน อุทธรณ์หรือถอน ฟ้องนั้น และได้ รับอนุมัติเสียก่อน ฯลฯ" ดังนั้น กรณีผู้เสียภาษีอากรอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ด ขาดในคดีที่ผู้เสียภาษีอากรถูก ฟ้องให้เป็นบุคคลล้มละลายก็ดี หรือกรณีลูกหนี้ถูก แจ้งการประเมินภาษีและมิได้อุทธรณ์การประเมินนั้นต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือต่อ ศาลในเรื่องการประเมินก็ดี ทั้งสองกรณีไม่อยู่ในเงื่อนไขของแถลงการณ์กระทรวงการคลังดังกล่าว ดังนั้น เมื่อลูกหนี้ชำระค่าภาษีอากรค้างให้โจทก์ครบถ้วนและภายในเวลาที่กำหนด ลูกหนี้ย่อมได้ รับยกเว้นเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตาม แถลงการณ์กระทรวงการคลังโดย ไม่ต้องขอถอน ฟ้องก่อน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ ผู้เดียว ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายที่จะได้ รับชำระหนี้โดย เสมอภาค คดีที่ลูกหนี้ถูก ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว คือโจทก์ ลูกหนี้ชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ ไม่ก่อให้เกิดการได้ เปรียบเสียเปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น การชำระหนี้ของลูกหนี้จึงเท่ากับเป็นการชำระหนี้ต่อ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เต็มจำนวน เหตุที่จะให้ลูกหนี้เป็นคนล้มละลายหมดไป จึงต้อง ยกเลิกการล้มละลาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศผูกพันได้ หากไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้ กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ มาบังคับแก่กรณีและดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตาม ขั้นตอนขัดต่อ กฎหมายหรือขัดต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ จึงผูกพันลูกหนี้เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดย ไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศผูกพันลูกหนี้ และบังคับได้ในไทย หากไม่ขัดกฎหมาย
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณีและดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ผลผูกพันและขอบเขตการบังคับใช้
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณี และดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้ เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย พิจารณาจากเจตนาลูกหนี้และราคาซื้อขายที่สมเหตุสมผล
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำการโอนที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านภายในสามเดือนก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่การโอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นการโอนที่สืบเนื่องมาจากลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวให้ผู้คัดค้านไว้ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องให้ลูกหนี้ (จำเลย) ทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายประมาณ 2 ปีเศษ โดยลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 จะต้องโอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านเมื่อสร้างเสร็จ ผู้คัดค้านชำระราคาแล้ว 200,000 บาท ยังเหลืออีก 200,000 บาท แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 นำที่ดินและตึกแถวไปจำนองบริษัท เครดิตฟองซิเอร์เอเซีย จำกัด ไว้ และไม่สามารถไถ่ถอนจำนองมาเพื่อโอนให้แก่ผู้คัดค้านได้ ฝ่ายผู้คัดค้านจึงได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 300,000 บาท เพื่อไถ่ถอนจำนอง ทำให้ผู้คัดค้านต้องเสียค่าโอนเกินกว่าที่สัญญากำหนดถึง 100,000 บาท การโอนดังกล่าวเป็นการโอนตามสัญญาที่ลูกหนี้จำต้องโอนให้ผู้คัดค้านอยู่แล้ว ซึ่งราคาที่ดินและตึกแถวที่ผู้คัดค้านรับโอนนั้นก็ใกล้เคียงกับราคาที่เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ของกรมบังคับคดีประเมินไว้ในปี 2529 เป็นเงิน 545,300 บาท แต่ ปรากฏว่าผู้คัดค้านรับโอนในปี 2524 ก่อนการประเมินถึง 5 ปี แสดงว่าราคาขณะรับโอนนั้นผู้รับโอนได้ รับโอนในราคาที่สูงกว่าปกติ พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีข้อเท็จจริงใดส่อแสดงว่าลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: สัญญาจะซื้อขายที่ทำไว้ก่อนฟ้อง ไม่ถือเป็นการโอนเพื่อเจตนาให้ได้เปรียบเจ้าหนี้
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำการโอนที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านภายในสามเดือน ก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตามแต่ การโอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นการโอนที่สืบเนื่องมาจากลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ได้ ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวให้ผู้คัดค้านไว้ตั้งแต่ ก่อนโจทก์ฟ้องให้ลูกหนี้ (จำเลย)ทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายประมาณ 2 ปีเศษ โดย ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1จะต้อง โอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านเมื่อสร้างเสร็จ ผู้คัดค้านชำระราคาแล้ว 200,000 บาท ยังเหลืออีก 200,000 บาท แต่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 นำที่ดินและตึกแถวไปจำนองบริษัท เครดิตฟองซิเอร์เอเซีย จำกัด ไว้ และไม่สามารถไถ่ถอนจำนองมาเพื่อโอนให้แก่ผู้คัดค้านได้ ฝ่ายผู้คัดค้านจึงได้ ชำระหนี้แทนลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1300,000 บาท เพื่อไถ่ถอนจำนอง ทำให้ผู้คัดค้านต้อง เสียค่าโอนเกินกว่าที่สัญญากำหนดถึง 100,000 บาทการโอนดังกล่าวเป็นการโอนตาม สัญญาที่ลูกหนี้จำต้องโอนให้ผู้คัดค้านอยู่แล้ว ซึ่ง ราคาที่ดินและตึกแถวที่ผู้คัดค้านรับโอนนั้นก็ใกล้เคียงกับราคาที่เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ของกรมบังคับคดีประเมินไว้ในปี 2529 เป็นเงิน 545,300 บาท แต่ ปรากฏว่าผู้คัดค้านรับโอนในปี 2524 ก่อนการประเมินถึง 5 ปี แสดงว่าราคาขณะรับโอนนั้นผู้รับโอนได้ รับโอนในราคาที่สูงกว่าปกติ พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีข้อเท็จจริงใด ส่อแสดงว่าลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ .
of 39