พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำคัดค้านหนี้เกินกำหนดตามกฎหมายล้มละลาย การแก้ไขคำร้องไม่มีผล
ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้อง และผู้ร้องได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2531 ครบกำหนดที่ผู้ร้องจะต้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วันในวันที่ 24 มีนาคม 2531 แต่ผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลในวันที่ 8 เมษายน 2531 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกินกำหนดเวลาที่ต้องยื่นคำคัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องคัดค้าน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้วและถือว่าไม่มีคำร้องคัดค้านที่ยื่นต่อศาล เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านเพื่อให้เห็นว่าผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงไม่มีคำร้องคัดค้านที่จะต้องแก้ไข ที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้คำคัดค้านและคำขอแก้ไขคำคัดค้านไม่เป็นผล
ผู้ร้องบรรยายคำร้องว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้อง และผู้ร้องได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 10มีนาคม 2531 ครบกำหนดที่ผู้ร้องจะต้อง คัดค้านต่อศาลภายใน 14 วันในวันที่ 24 มีนาคม 2531 แต่ ผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านต่อ ศาลในวันที่ 8 เมษายน 2531 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกินกำหนดเวลาที่ต้องยื่นคำคัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องคัดค้าน จึงชอบด้วย กฎหมายแล้วและถือ ว่าไม่มีคำร้องคัดค้านที่ยื่นต่อศาลเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านเพื่อให้เห็นว่าผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงไม่มีคำร้องคัดค้านที่จะต้อง แก้ไข ที่ศาลชั้นต้นไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้านจึงชอบด้วย กฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลาย: ความสำคัญของกรอบเวลาตามกฎหมาย และผลของการยื่นคำคัดค้านเกินกำหนด
ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้อง และผู้ร้องได้รับหนังสือเมื่อวันที่10 มีนาคม 2531 ครบกำหนดที่ผู้ร้องจะต้องคัดค้านต่อศาลภายใน14 วัน คือวันที่ 24 มีนาคม 2531 คำร้องของผู้ร้องจึงตรงตามนัยพ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 119 วรรคสาม แต่เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้าน ในวันที่ 8 เมษายน 2531 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกินกำหนดเวลาที่จะต้องยื่นคำคัดค้าน และการคัดค้านไม่ชอบถือว่าไม่มีคำร้องคัดค้านยื่นต่อศาล การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้าน ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เพื่อให้เห็นว่าผู้ร้องยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายนั้น จึงไม่มีคำร้องคัดค้านที่จะต้องแก้ไข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมรับผิดตามคำพิพากษา แม้มีการชำระหนี้บางส่วนโดยลูกหนี้ร่วมคนอื่น หนี้ยังไม่ระงับ
หนี้ตาม คำพิพากษาที่ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อ โจทก์โดยจำกัดวงเงินให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดนั้น จำเลยที่ 3 ต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้อง รับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าโจทก์จะได้ รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ชำระหนี้ส่วนที่ตนต้อง รับผิดยังไม่ครบและโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้อง ชำระหนี้ในส่วนที่ตน ยังต้อง รับผิด ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชอบหนี้ส่วนตนจนกว่าจะชำระหนี้ทั้งหมด หรือจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน
หนี้ตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ โดยจำกัดวงเงินให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดนั้น จำเลยที่ 3 ต้องผูกพันชำระหนี้ในส่วนที่ตนต้องรับผิดจนกว่าจะชำระหนี้ส่วนที่ต้องรับผิดจนครบหรือจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ชำระหนี้ส่วนที่ตนต้องรับผิดยังไม่ครบและโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมจึงต้องชำระหนี้ในส่วนที่ตนยังต้องรับผิด ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ความเป็นธรรมในการแต่งตั้งทายาทร่วมเป็นผู้จัดการมรดก
บุตรของเจ้ามรดกที่ยังมีชีวิตอยู่มีอยู่ด้วยกันเพียง 2 คน คือผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งต่างก็ ทราบเรื่องเกี่ยวกับมรดกของผู้ตายดีว่ามีทรัพย์อะไรบ้าง การแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสองซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิ์ รับมรดกของผู้ตายด้วยกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันนั้น ย่อมมีความเป็นธรรมดีกว่าที่จะแต่งตั้งให้คนหนึ่งคนใดจัดการมรดกไปเพียงลำพังคนเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบตัวและการเบิกความรับสารภาพบางส่วนเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78
จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานหลังเกิดเหตุเป็นเวลาเดือนเศษ และแม้จะไม่ให้การเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชั้นสอบสวน แต่ในชั้นศาลจำเลยก็เบิกความรับว่าอยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนถึงเวลาเกิดเหตุ เพียงแต่ปฏิเสธว่ามิใช่เป็นคนยิงเท่านั้น การมอบตัวและเบิกความดังกล่าวเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานและให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาเป็นเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีคดีเพิกถอนสัญญา ศาลไม่เห็นควรระงับการบังคับคดี
จำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และมิได้ปฏิบัติตาม คำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่ง ถึงที่สุดแล้ว โจทก์ย่อมขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ ทันที การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความเกิดจากกลฉ้อฉล เจตนาลวง ก็เป็นข้ออ้างของจำเลยที่ 1 เพียงฝ่ายเดียว ซึ่ง โจทก์มิได้ยอมรับตาม ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ด้วย และเป็นคดีโต้เถียง กันอยู่ในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงไม่มีเหตุสมควรที่จะงดการบังคับคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ หากไม่มีกลฉ้อฉลหรือเจตนาลวง การงดบังคับคดีไม่สมควร
การที่จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และจำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ย่อมขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ทันที
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลฉ้อฉลเจตนาลวง หรือจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงของจำเลยที่ 2 และโจทก์อันจะเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะให้งดการบังคับคดี
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลฉ้อฉลเจตนาลวง หรือจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงของจำเลยที่ 2 และโจทก์อันจะเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะให้งดการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีหลังทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: เหตุงดบังคับคดีต้องมีเหตุสมควร
การที่จำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นซึ่งถึงที่สุดแล้วนั้น โจทก์ย่อมขอให้ศาลบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ทันที เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์เพราะกลฉ้อฉลเจตนาลวง หรือจงใจนิ่งเสียไม่ไขข้อความจริงของจำเลยที่ 2 และโจทก์อันจะเป็นผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ตกเป็นโมฆะแล้วคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะให้งดการบังคับคดี