คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์และการไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายเมื่อความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นบทเฉพาะ
จำเลยกับพวกร่วมกันเป็นคนร้ายปล้นทรัพย์ผู้เสียหายมีความผิดฐาน ปล้นทรัพย์ซึ่ง เป็นบทเฉพาะแล้ว จำเลยไม่มีความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวและการประเมินอันตรายสาหัส: ศาลมีอำนาจกำหนดโทษและรอการลงโทษได้
วันเกิดเหตุผู้เสียหายไปที่บ้านจำเลยเพื่อปรับความเข้าใจกับจำเลยเรื่องที่ผู้เสียหายถูกหาว่าเป็นชู้กับภรรยาจำเลย ประมาณ10 นาทีก็กลับไป วันเดียวกันผู้เสียหายเมาสุรากลับมาที่บ้านจำเลยเคาะประตูเรียกภรรยาจำเลยอ้างว่าลืมหมูไว้ จำเลยเปิดประตูออกมาบอกว่าหมูไม่มีและไม่ยอมให้ผู้เสียหายเข้าไปในบ้านผู้เสียหายได้ชกเตะต่อยจำเลยแล้วเกิดต่อสู้กัน ผู้เสียหายใช้ขวดสุราตีและถีบจำเลยล้มลง จำเลยวิ่งเข้าไปเอามีดในครัวมาแทงผู้เสียหายเห็นได้ว่าขณะที่จำเลยใช้มีดแทง ผู้เสียหายมิได้ก่อภัยอันใดขึ้นที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันการที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการป้องกันตัว โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง เท่ากับอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษและคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้รอการลงโทษไปในตัว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษตามที่เห็นสมควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษให้จำเลยจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215 กรณีจะเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)หรือไม่ต้องพิจารณาจากผลของการทำร้ายว่าเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่มิใช่ต้องพิจารณาเฉพาะจากบาดแผลที่ปรากฏให้เห็นชัด เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเจ็บที่ท้องจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ผู้เสียหายย่อมได้รับอันตรายสาหัสแล้ว คดีที่ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์มีเหตุสมควรรอการลงโทษ ศาลฎีกาก็พิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกาย การป้องกันตัว การพิจารณาอันตรายสาหัส และการรอการลงโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ปรับ 1,000 บาทโทษจำคุกรอไว้ 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำคุก1 ปี จำเลยฎีกาว่าคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหาย เป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีจึงต้องห้าม ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6 วันเกิดเหตุเวลา 11 นาฬิกา ผู้เสียหายไปที่บ้านจำเลยเพื่อ ปรับความเข้าใจกับจำเลยถึง เรื่องที่ผู้เสียหายถูก หาว่าเป็นชู้ กับภริยาจำเลยระหว่างที่จำเลยไปทำงานต่างประเทศประมาณ 10 นาที ก็กลับไป เวลา 15 นาฬิกา วันเดียวกันผู้เสียหายเมาสุรากลับมา ที่บ้านจำเลยเคาะประตูเรียกภรรยาจำเลยอ้างว่า ลืมหมูไว้ จำเลย เปิดประตูออกมาบอกว่าหมูไม่มีและไม่ยอมให้ผู้เสียหายเข้าไปในบ้าน ผู้เสียหายจึงได้ ชกเตะ ต่อย จำเลยแล้วเกิดการต่อสู้ กัน ผู้เสียหาย ใช้ ขวดสุราตี และถีบ จำเลยล้มลง จำเลยวิ่งเข้าไปเอามีดในครัว มาแทงผู้เสียหาย ดังนี้ ขณะที่จำเลยใช้ มีดแทงไม่ปรากฏว่าผู้เสียหาย ได้ ก่อภัยอันใด ขึ้นที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตัว การที่จำเลย ใช้มีดแทงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการป้องกันโดย ชอบด้วย กฎหมาย การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำเลยฐาน ทำร้าย ร่างกายและรอการลงโทษไว้เป็นลงโทษจำเลย ฐาน พยายาม ฆ่า ผู้อื่นตาม ที่โจทก์ฟ้อง เท่ากับเป็นการอุทธรณ์ขอให้ เพิ่มโทษและคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้รอการลงโทษไปในตัว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะใช้ ดุลพินิจ กำหนดโทษตาม ที่เห็นสมควรได้การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษ จึงหาได้ ฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ.มาตรา 192 ประกอบด้วย มาตรา 215 ไม่ การจะเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 297(8) หรือไม่ต้อง พิจารณาจากผลของการทำร้ายว่าเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วย อาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจนประกอบกรณียกิจตาม ปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่ มิใช่ต้อง พิจารณาเฉพาะ จากบาดแผลที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนภายนอก เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเจ็บที่ท้องจนประกอบกรณียกิจ ตาม ปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ย่อมถือ ว่าผู้เสียหายได้ รับอันตรายสาหัสแล้ว แม้เป็นคดีที่ฎีกาได้ เฉพาะ ปัญหาข้อกฎหมาย แต่ ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ เหตุที่เกิดขึ้นเพราะผู้เสียหายเป็นฝ่ายรุกรานก้าวร้าวก่อเหตุขึ้นก่อนส่วนจำเลยซึ่ง ไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อนถูก ขังในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นถึง 1 เดือน เศษ เพียงพอที่จะทำให้รู้สึกตัวกลัวผิดแล้ว ทั้งผู้เสียหายก็ไม่ประสงค์จะเอาเรื่องกับจำเลย กรณีจึงสมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยไว้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1893/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวต้องสมเหตุสมผล ผู้ถูกทำร้ายมิได้ก่อภัย การใช้มีดแทงจึงไม่เป็นการป้องกันตนเอง
วันเกิดเหตุผู้เสียหายไปที่บ้านจำเลยเพื่อปรับความเข้าใจกับจำเลยเรื่องที่ผู้เสียหายถูกหาว่าเป็นชู้กับภรรยาจำเลย ประมาณ10 นาทีก็กลับไป วันเดียวกันผู้เสียหายเมาสุรากลับมาที่บ้านจำเลยเคาะประตูเรียกภรรยาจำเลยอ้างว่าลืมหมูไว้ จำเลยเปิดประตูออกมาบอกว่าหมูไม่มีและไม่ยอมให้ผู้เสียหายเข้าไปในบ้านผู้เสียหายได้ชกเตะต่อยจำเลยแล้วเกิดต่อสู้กัน ผู้เสียหายใช้ขวดสุราตีและถีบจำเลยล้มลง จำเลยวิ่งเข้าไปเอามีดในครัวมาแทงผู้เสียหายเห็นได้ว่าขณะที่จำเลยใช้มีดแทง ผู้เสียหายมิได้ก่อภัยอันใดขึ้นที่จำเลยจำต้องกระทำเพื่อป้องกันการที่จำเลยใช้มีดแทงผู้เสียหายจึงไม่เป็นการป้องกันตัว
โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าผู้อื่นตามฟ้อง เท่ากับอุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษและคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้รอการลงโทษไปในตัว เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ก็ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะใช้ดุลพินิจกำหนดโทษตามที่เห็นสมควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษให้จำเลยจึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 ประกอบด้วยมาตรา 215
กรณีจะเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)หรือไม่ต้องพิจารณาจากผลของการทำร้ายว่าเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำต้องทุพพลภาพหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันหรือไม่มิใช่ต้องพิจารณาเฉพาะจากบาดแผลที่ปรากฏให้เห็นชัด เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเจ็บที่ท้องจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ผู้เสียหายย่อมได้รับอันตรายสาหัสแล้ว
คดีที่ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าตามพฤติการณ์มีเหตุสมควรรอการลงโทษ ศาลฎีกาก็พิพากษาให้รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามหรือไม่เมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษหนักขึ้น และดุลพินิจไม่รอการลงโทษในคดีป่าไม้
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ไม่รอการลงโทษ และไม่ปรับนั้นเป็นการแก้ไขมากและเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประวิงคดีโดยจำเลย และการงดสืบพยานตามคำรับรอง ศาลชอบด้วยกระบวนพิจารณา
จำเลยที่ 3 ระบุอ้างพยานบุคคลไว้ตาม บัญชีพยานร่วม 3 ปากคือ ตัว จำเลยที่ 3 ต. และ พ. โดยระบุว่า พ. เป็นพยานหมาย การนัดสืบพยานนัดแรกจำเลยที่ 3 ก็ขอเลื่อนคดี นัดที่สองและที่สามก็คงนำพยานมาสืบเพียงครั้งละ 1 ปาก ทั้งที่ในนัดที่สองจำเลยที่ 3 สามารถจะขอให้ศาลหมายเรียก พ. มาสืบได้ ดังนี้การที่จำเลยที่ 3 เพิ่งขอหมายเรียกให้ พ. มาศาลในนัดที่สามก่อนวันนัดเพียง 6 วันแล้วอ้างว่าส่งหมายเรียกไม่ได้ ขอเลื่อนคดอีก อันเป็นการขัดต่อ คำรับรองของจำเลยที่ 3 ที่แถลงไว้นัดก่อนว่าถ้า พยานไม่มาศาลก็ให้ถือ ว่าไม่ติดใจสืบนั้นแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ดำเนิน กระบวนพิจารณาในลักษณะประวิงคดี จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 3 เลื่อนคดีอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ดำเนินการขอหมายเรียกพยานตามกำหนด และคำรับรองต่อศาล
จำเลยระบุอ้างพยานบุคคลไว้ 3 ปาก พยานสองปากแรกเป็นพยานนำพยานปากที่ 3 เป็นพยานหมาย แต่ในวันสืบพยานจำเลยนัดแรกและนัดที่ 2 จำเลยมิได้ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานแต่อย่างใดเพิ่งขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานให้มาศาลในนัดที่ 3 โดยมีคำขอก่อนวันนัดเพียง 6 วัน แล้วอ้างว่าส่งหมายเรียกไม่ได้และขอเลื่อนคดีอีก อันเป็นการขัดต่อคำรับรองของจำเลยที่ได้แถลงในนัดก่อนว่าถ้าพยานไม่มาก็ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบ จึงไม่มีเหตุผลสมควรให้เลื่อนคดีอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1837/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามคำรับรองศาลเรื่องพยาน และผลของการขอเลื่อนคดี
จำเลยระบุอ้างพยานบุคคลไว้ 3 ปาก พยานสองปากแรกเป็นพยานนำพยานปากที่ 3 เป็นพยานหมาย แต่ในวันสืบพยานจำเลยนัดแรกและนัดที่ 2 จำเลยมิได้ขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานแต่อย่างใดเพิ่งขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานให้มาศาลในนัดที่ 3 โดยมีคำขอก่อนวันนัดเพียง 6 วัน แล้วอ้างว่าส่งหมายเรียกไม่ได้และขอเลื่อนคดีอีก อันเป็นการขัดต่อคำรับรองของจำเลยที่ได้แถลงในนัดก่อนว่าถ้าพยานไม่มาก็ให้ถือว่าไม่ติดใจสืบ จึงไม่มีเหตุผลสมควรให้เลื่อนคดีอีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินและทรัพย์สินที่ไม่พอชำระหนี้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์และไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้หรือสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยนำสืบรับว่าทำสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะโง่เขลาเบาปัญญาและถูกหลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยจึงต่างกับคำให้การรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ จำเลยเป็นหนี้โจทก์เป็นเงิน 6,175,070 บาท จำเลยมีเพียงเงินเดือน เดือนละ 5,000 บาท ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทหนี้สินและล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้และการมีทรัพย์สินไม่เพียงพอชำระหนี้
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่นำสืบว่าได้ลงชื่อในสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะความโง่เขลาเบาปัญญาถูกนาย ว. หลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยต่างกับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่.
of 39