คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้สินล้นพ้นตัว: ศาลยืนตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แม้จำเลยอ้างถูกหลอกลวง
จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย แต่นำสืบว่าได้ลงชื่อในสัญญากู้กับสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความจริง แต่ทำไปเพราะความโง่ เขลาเบาปัญญาถูกนาย ว. หลอกลวง ทางนำสืบของจำเลยต่างกับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้
การฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่เป็นเรื่องโจทก์ จำเลยต่างมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ตามคำฟ้องและคำให้การ เมื่อข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังไม่ได้และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่จริง จึงมีข้อพิจารณาต่อไปว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 14 และมาตรา 9 หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีล้มละลาย: จำเลยเป็นหนี้สินล้นพ้นตัวและมีเหตุให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยให้การว่าไม่เคยกู้เงินและรับเงินไปจากโจทก์ไม่เคยทำหนังสือรับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความให้ไว้กับโจทก์ ลายมือชื่อในสัญญารับสภาพหนี้และสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลย เมื่อทางนำสืบของจำเลยต่าง กับคำให้การจึงรับฟังเป็นความจริงไม่ได้ แต่ ทางนำสืบของจำเลยดังกล่าวเจือสมกับคำพยานโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์และเป็นหนี้กำหนดจำนวนได้ แน่นอนและถึง กำหนดชำระแล้ว จำเลยมีเงินเดือนเดือน ละ 5,000 บาท ไม่มีทรัพย์อื่นใด อีก ดังนี้ จำเลยเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีเหตุอื่นที่แสดงว่าไม่สมควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลย่อมมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำรงชีพจากรายได้ค้าประเวณี ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอื่นเพียงพอ
ความผิดฐาน ดำรงชีพ จากรายได้ของหญิงซึ่ง ค้าประเวณีตามป.อ. มาตรา 286 นั้น จะต้อง ได้ความว่าจำเลยไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ หรือไม่มีปัจจัยอันพอเพียงสำหรับดำรงชีพจึงจะลงโทษจำเลยได้ เมื่อโจทก์นำสืบได้ แต่ เพียงว่าจำเลยได้รับเงิน ค่าบริการจากหญิงซึ่ง ค้าประเวณีเท่านั้น โดย ไม่ นำสืบให้เห็นว่า จำเลยไม่มีปัจจัยอย่างอื่นอันปรากฏสำหรับดำรงชีพ หรือไม่มีปัจจัย อันพอเพียงสำหรับดำรงชีพ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิด ฐาน ดำรงชีพ อยู่ จากรายได้ของหญิงซึ่ง ค้าประเวณี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการมรดกหลายคน กรณีข้อพิพาทเรื่องยักยอกทรัพย์มรดก
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่าง ขอให้ตั้ง ตน เป็นผู้จัดการมรดกข้อเท็จจริงได้ความว่าทรัพย์สินบางรายการที่ทั้งสองฝ่ายกล่าวหาว่าแต่ ละฝ่ายได้ ยักยอกเอาทรัพย์สินของกองมรดกไปนั้น ยังฟังไม่ได้ว่าฝ่ายใดเป็นผู้กระทำผิด ดังนี้ เพื่อให้ผู้ร้องทั้งสองกับผู้คัดค้าน และทายาทอื่นทุกฝ่ายได้ รับประโยชน์จากกองมรดกด้วย ความเป็นธรรม มากที่สุด จึงสมควรให้ผู้ร้องทั้งสองกับผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้น พ.ร.บ.การขนส่งทางบกฯ สำหรับรถยนต์ส่วนบุคคลน้ำหนักไม่เกิน 1,600 กก. และการใช้รถไม่ตรงตามประเภท
พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 4 ไม่ใช้ บังคับแก่ การขนส่งโดย รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 1,600 กิโลกรัมรถยนต์บรรทุกของจำเลยมีน้ำหนัก 1,050 กิโลกรัม จึงไม่เป็นรถที่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ ดังนี้จำเลยนำรถคันนั้นมาใช้ รับจ้างบรรทุกขนส่งคนโดยสาร ก็ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบกฯ มาตรา 23 ประกอบด้วย มาตรา 126.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือขอผัดชำระหนี้ถือเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ไม่ได้ระบุจำนวนเงินที่ชัดเจน ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่ง เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดและจำเลยที่2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ในฐานะ ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท รับผิดใช้ เงินตาม เช็ค ต่อมา ส. ในฐานะ หุ้นส่วนซึ่ง เป็นบุตรของจำเลยที่ 2 ผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 คนใหม่ได้ ทำหนังสือถึง โจทก์มีใจความว่า "เรียนคุณหมอ สุชาติ ที่นับถือ ตาม ที่คุณหมอให้ผมติดต่อ กับคุณพ่อผม (จำเลยที่ 2) นั้น ผมได้ ถาม แล้ว แก บอกให้ผมเรียนคุณหมอ ว่าแก ไม่มีเจตนาจะคิดโกงแต่ อย่างใด แต่เป็นเพราะว่าในปีนี้ทั้งปีชักหน้าไม่ถึงหลังตลอด เวลา อยากจะขอความกรุณาคุณ หมอ ช่วย ผ่อนผันให้จนกว่าจะส่งงาน เพราะในขณะนี้ แก ไม่มีเงินจริง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดผมขอยืนยันว่าเป็นความจริง หวังว่าคงจะได้ รับความกรุณาจากคุณหมอ เช่นเคย" ท้ายข้อความเป็น คำลงท้ายของหนังสือและลงลายมือชื่อของ ส. ส่วนตอนต้น ข้อความลงวันเดือน ปีที่ทำหนังสือไว้ด้วย ดังนี้ เอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือ ขอผัดชำระหนี้ของห้างจำเลยที่ 1 เพราะมีข้อความที่กล่าวถึง ระยะเวลา ที่ขอให้โจทก์ผ่อนผันให้ชำระหนี้ดังกล่าวได้จนกว่าจะส่งมอบงาน ซึ่ง เป็นกิจการของห้างจำเลยที่ 1 เอกสารดังกล่าวจึงเป็น หนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยที่ 1 แม้มิได้ระบุว่ามีหนี้จำนวนเท่าใด แต่ เมื่ออ่านข้อความทั้งหมด พอเข้าใจได้ ว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับ ว่าเป็นหนี้โจทก์ตาม จำนวนที่โจทก์แจ้งไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าและการเกิดความสับสน: การพิจารณาความเหมือน/คล้าย และการประเมินผลกระทบต่อสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LACOVO"อ่านออกเสียงว่า "ลาโคโว" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "TACOLAVO" อ่านออกเสียงว่า "ทาโคลาโว"เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ พยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่า "ลา" เป็นเสียงอักษร "ล"ส่วนพยางค์หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า "ทา"เป็นเสียงอักษร "ท" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีเสียงอักษร "ท" เลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงเหมือนกันอยู่ 3 พยางค์ คือลา โค และโว แต่ทั้งสามพยางค์นั้นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ยกเว้นเสียงโวเท่านั้นที่เป็นพยางค์สุดท้ายเช่นเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยมีข้อแตกต่างกันมาก ไม่อาจกล่าวได้ว่าเหมือนหรือคล้ายกันถึงขนาดทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า: พิจารณาความคล้ายคลึงจนทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้หรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า "LACOVO"อ่านออกเสียงว่า "ลาโคโว" ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า "TACOLAVO" อ่านออกเสียงว่า "ทาโคลาโว"เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ พยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่า "ลา" เป็นเสียงอักษร "ล"ส่วนพยางค์ หน้าของเครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า "ทา" เป็นเสียงอักษร "ท" สำหรับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่มีเสียงอักษร "ท" เลย แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยอ่านออกเสียงเหมือนกันอยู่ 3 พยางค์ คือ ลาโคและโว แต่ ทั้งสามพยางค์นั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์มิได้อยู่ในตำแหน่ง เดียว กับเครื่องหมายการค้าของจำเลย ยกเว้นเสียงโว เท่านั้นที่เป็นพยางค์ สุดท้ายเช่นเดียว กัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยมีข้อแตกต่างกันมากไม่อาจกล่าวได้ ว่าเหมือนหรือคล้ายกันถึง ขนาดทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำหุ้นในสัญญาจำนำ: ผู้จำนำรับผิดเฉพาะวงเงินจำนำ ไม่ใช่หนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ
การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ
จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของลูกหนี้ร่วมในการจำนำทรัพย์สิน: ความรับผิดจำกัดเฉพาะวงเงินจำนำ
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะ ผู้จำนำ ยอม รับผิดในฐานะ ลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 นั้น หมายความเพียงว่าจำเลยที่ 2จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่ จำเลยที่ 2 จะต้อง รับผิดในหนี้นอกเหนือจากราคาทรัพย์ที่จำนำก็ต่อ เมื่อมีข้อสัญญาแสดงฐานะ ว่าเป็นผู้ค้ำประกันโดย ชัดแจ้ง
of 39