คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนำ: สัญญาจำนำจำกัดความรับผิดตามวงเงินประกัน ไม่ขยายไปถึงหนี้ทั้งหมด
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ไว้กับโจทก์รวม 4 ฉบับ สัญญาจำนำ 3 ฉบับ กำหนดวงเงินจำนำค้ำประกันไว้ อีก 1 ฉบับ จำนำหุ้น 1,000 หุ้น โดยไม่ได้กรอกข้อความกำหนดวงเงินประกันไว้ สัญญาข้อ 3 กำหนดไว้ว่า "ผู้จำนำยินยอมให้ผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และผู้จำนำยอมรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมอยู่ด้วย" มีความหมายเพียงว่า หากผู้รับจำนำผ่อนผันการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยังต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อยู่ และจำเลยที่ 2 จะยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมภายในวงเงินที่นำทรัพย์สินมาจำนำเป็นประกันหนี้เท่านั้น หาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากวงเงินที่กำหนดไว้ไม่สัญญาข้อ 5 กำหนดว่า"ถ้าขายทรัพย์สินจำนำได้เงินสุทธิต่ำกว่าต้นเงินจำนำและดอกเบี้ยที่ค้างชำระผู้จำนำยอมรับชดใช้จำนวนเงินที่ยังขาดอีกจนครบ และถ้าหากขายทรัพย์สินที่จำนำได้เงินสุทธิเกินค่าจำนำมากน้อยเท่าใด ผู้จำนำยอมให้เอาไปหักใช้หนี้สินใด ๆ ที่ลูกหนี้ค้างชำระแก่ผู้จำนำอีกด้วยหากยังมีเงินเหลืออยู่อีก ผู้รับจำนำก็จะคืนให้แก่ผู้จำนำไป" สัญญาข้อนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเท่าราคาทรัพย์สินที่นำมาจำนำและชดใช้ให้ครบตามวงเงิน แม้สัญญาจำนำฉบับที่ไม่ได้กำหนดวงเงินไว้ก็มีความหมายเพียงว่า เมื่อบังคับจำนำแก่ทรัพย์สินที่จำนำแล้วต้องนำเงินที่ขายทรัพย์สินได้ทั้งหมดมาชำระหนี้ เว้นแต่กรณีชำระหนี้แล้วมีเงินเหลือจึงจะคืนให้จำเลยที่ 2 เท่านั้นมิใช่คู่สัญญาประสงค์จะให้ผู้จำนำต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในหนี้ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์จำนำ การแปลเจตนาในสัญญา อาจแปลได้โดยไม่ต้องนำพยานบุคคลมาสืบ จำเลยอุทธรณ์ ไม่จำต้องแก้อุทธรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ทำเช่นนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบเนื่องจากจำเลยไม่ได้รับแจ้งและไม่มีโอกาสคัดค้านราคา จำเลยมีสิทธิเข้าร่วมฟังการขาย
ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยร่วมกันชำระหนี้ให้โจทก์ หากไม่ชำระให้ยึดทรัพย์จำนอง ขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในชั้นบังคับคดีจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไม่ชอบ เนื่องจากในวันขายทอดตลาดจำเลยทั้งสองได้เข้าพบผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเพื่อนำหลักฐานมาแสดงว่าได้มีการตกลงกับโจทก์ให้งดการบังคับคดีไว้ ซึ่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลก็ได้มีคำสั่งให้เลื่อนการขายทอดตลาดจากเวลา 10 นาฬิกาไปเป็นเวลา 14 นาฬิกาเพื่อให้จำเลยนำหลักฐานมาแสดงและกำชับด้วยว่าให้มาศาลก่อนขายทอดตลาดจำเลยมาศาลเวลา 13.20 นาฬิกา ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปแล้วถ้า ข้อเท็จจริงเป็นดัง จำเลยอ้างก็อาจเป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบเนื่องจากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีไม่อยู่ในเวลาขายทอดตลาด การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไปโดยไม่ได้ไต่สวนให้ได้ความชัด เสียก่อนว่า สมควรเพิกถอนการขายทอดตลาดหรือไม่ ดังนี้ต้องยกคำสั่งศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไป และสั่งใหม่ตามรูปคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากมีพฤติการณ์ไม่สุจริตและไม่พยายามชำระหนี้
จำเลยและสามีต่าง รับราชการมีเงินเดือนซึ่ง ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2) โจทก์ย่อมไม่ สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วย เงินเดือนได้ จำเลยจึงมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใด อีกถือ ได้ ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการ และการอ้างทรัพย์สินภายหลังศาลมีคำสั่ง
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และกำหนดจำนวนได้แน่นอน แม้จำเลยและสามีจะเป็นข้าราชการมีเงินเดือนรวมกันเดือนละ8,590 บาท แต่เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2)โจทก์ไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้จำเลยอ้างว่ามีเงินเหลือเดือนละ 4,000 บาท แต่จำเลยก็ไม่ชำระซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่มีความสุจริตในการชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดอีก ถือได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้นแม้จำเลยจะเป็นข้าราชการแต่ไม่ชำระหนี้อีกทั้งไม่แสดงว่าพยายามจะชำระหนี้หรือขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์โดยสุจริต จึงสมควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเงินฝากในธนาคารจำนวน60,000 บาท ซึ่งเป็นการอ้างภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลล้มละลาย: การพิจารณาหนี้สินล้นพ้นตัว แม้เป็นข้าราชการ และการอ้างทรัพย์สินหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 50,000 บาท และกำหนดจำนวนได้แน่นอน แม้จำเลยและสามีจะเป็นข้าราชการมีเงินเดือนรวมกันเดือนละ 8,590 บาท แต่เงินเดือนข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 (2) โจทก์ไม่สามารถบังคับในคดีแพ่งให้จำเลยชำระหนี้ด้วยเงินเดือนได้จำเลยอ้างว่ามีเงินเหลือเดือนละ 4,000 บาท แต่จำเลยก็ไม่ชำระซึ่งแสดงว่าจำเลยไม่มีความสุจริตในการชำระหนี้ และไม่ปรากฏว่าจำเลยมีทรัพย์สินอื่นใดอีก ถือได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ดังนั้นแม้จำเลยจะเป็นข้าราชการแต่ไม่ชำระหนี้อีกทั้งไม่แสดงว่าพยายามจะชำระหนี้หรือขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์โดยสุจริต จึงสมควรให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย
จำเลยเพิ่งมาอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยมีเงินฝากในธนาคารจำนวน 60,000 บาท ซึ่งเป็นการอ้างภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะพิสูจน์ว่าสามารถชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้กู้ยืมโดยเจ้าหนี้รู้ถึงหนี้สินของลูกหนี้ และการพิสูจน์ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
ขณะที่ลูกหนี้กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้ ลูกหนี้มีสัญญารับเหมาก่อสร้างซึ่ง ทำกับ ก. และกำลังจะได้ เงินอยู่แล้ว แสดงว่าลูกหนี้มีงานมีสิทธิเรียกร้องในเงินค่าจ้างและยังมีเงินหมุนเวียนสำหรับชำระหนี้ได้ ต่อไป แม้ลูกหนี้จะเอาเงินที่กู้ยืมจากเจ้าหนี้ไปใช้ หนี้ตาม เช็ค ซึ่ง กำลังถูก ดำเนิน คดีเนื่องจากเช็ค เบิกเงินไม่ได้ ยังถือ ไม่ได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวดังนี้ฟังไม่ได้ว่าเจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กู้ไปโดย รู้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เจ้าหนี้จึงขอรับชำระหนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 930/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำซ้อน: คดีที่ฟ้องก่อนยังไม่ถึงที่สุด ห้ามฟ้องคดีใหม่ที่มีประเด็นและคู่ความเดียวกัน
โจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกับคดีนี้ และโจทก์ฟ้องคดีนี้ขณะคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด โดยจำเลยที่ 16 ถึงที่ 20ในคดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนได้ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องคดีก่อน เมื่อโจทก์คดีนี้กับโจทก์ในคดีก่อนเป็นบุคคลคนเดียวกัน ทั้งจำเลยที่ 8ถึงที่ 20 ในคดีนี้ก็เป็นคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 14 ในคดีก่อนการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 8 ถึงที่ 20 เป็นคดีนี้จึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อนซึ่งยังไม่ถึงที่สุด ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173วรรคสอง(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ล้มละลายต้องมีจำนวนแน่นอน การบังคับให้ชำระหนี้ค่าทรัพย์สินและการส่งมอบทรัพย์สินคืน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 กำหนดให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 ดังนั้น แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นโต้เถียงในประเด็นเกี่ยวกับหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องอาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนหรือไม่ ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เช่าซื้อเครื่องยนต์เรือไปจากโจทก์แล้วผิดสัญญาเช่าซื้อเป็นผลให้สัญญาเลิกกัน โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือที่จำเลยที่ 1 เช่าซื้อไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องส่งคืนเครื่องยนต์เรือที่เช่าซื้อ หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคาดังนั้น มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย จึงเป็นมูลหนี้ส่งมอบทรัพย์สินคืน เมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ล้มละลายต้องมีจำนวนแน่นอน กรณีหนี้ส่งมอบทรัพย์สินคืนยังบังคับได้ ถือว่าหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องได้ความจริงตามมาตรา 9 ศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ดังนั้น แม้คู่ความมิได้โต้เถียงเรื่องหนี้ที่โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนแน่นอนได้หรือไม่ก็ตามศาลย่อมยกเรื่องดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนเพราะผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเลิกกัน โจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือและมีสิทธิติดตามเอาคืน หากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคา เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองและใช้ประโยชน์เครื่องยนต์เรือดังกล่าวอยู่ และอยู่ในสภาพที่สามารถบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าได้ติดตามเพื่อยึดเครื่องยนต์เรือคืน แต่จำเลยมีเรือหลายลำไม่ทราบว่าอยู่ในเรือลำใด จึงไม่สามารถยึดคืนได้ ก็หาใช่ว่าการคืนเครื่องยนต์เรือไม่สามารถกระทำได้จนต้องบังคับให้ใช้ราคาแทนอย่างเดียวไม่โจทก์ย่อมฟ้องร้องโดยอาศัยอำนาจศาลบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ และหากบังคับได้เช่นนี้หนี้ค่าเครื่องยนต์เรือก็ไม่ใช่หนี้ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยได้อีก ทั้งฟ้องโจทก์ไม่มีหนี้จำนวนอื่นคงมีแต่เครื่องยนต์เรือเท่านั้น เมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้ จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 754/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ไม่แน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: การบังคับให้ส่งคืนทรัพย์สินก่อนเรียกร้องค่าเสียหาย
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องได้ความจริงตามมาตรา 9ศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ดังนั้น แม้คู่ความมิได้โต้เถียงว่าหนี้ที่โจทก์ฟ้องกำหนดจำนวนแน่นอนได้หรือไม่ก็ตามศาลย่อมยกเรื่องดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเองได้ มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเป็นมูลหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนเพราะผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเลิกกันโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในเครื่องยนต์เรือและมีสิทธิติดตามเอาคืนหากคืนไม่ได้จึงจะใช้ราคา เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังครอบครองและใช้ประโยชน์เครื่องยนต์เรือดังกล่าวอยู่ และอยู่ในสภาพที่สามารถบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าได้ติดตามเพื่อยึดเครื่องยนต์เรือคืน แต่จำเลยมีเรือหลายลำไม่ทราบว่าอยู่ในเรือลำใด จึงไม่สามารถยึดคืนได้ก็หาใช่ว่าการคืนเครื่องยนต์เรือไม่สามารถกระทำได้จนต้องบังคับให้ใช้ราคาแทนอย่างเดียวไม่ โจทก์ย่อมฟ้องร้องโดยอาศัยอำนาจศาลบังคับให้จำเลยคืนเครื่องยนต์เรือได้ และหากบังคับได้เช่นนี้ หนี้ค่าเครื่องยนต์เรือก็ไม่ใช่หนี้ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยได้อีกทั้งฟ้องโจทก์ไม่มีหนี้จำนวนอื่น คงมีแต่เครื่องยนต์เรือเท่านั้นเมื่อหนี้ส่งมอบเครื่องยนต์เรือคืนยังอยู่ในสภาพที่อาจบังคับกันได้จึงไม่แน่นอนว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบเครื่องยนต์เรือจะมีหรือไม่ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้
of 39