พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่น แม้มีข้อตกลงยกเลิก แต่ต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนจึงมีผลผูกพัน สิทธิเดินผ่านไม่มีอายุความ
เดิมที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 เป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลังก่อนแย่งแยกหรือแบ่งโอน จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะ เปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์เดินออกสู่ทางสาธารณะแต่ต่อมาจำเลยล้อมรั้วปิดกั้นในที่ดินของจำเลยทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์ที่แบ่งแยกจากที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 อยู่ในที่ล้อม จึงมีสิทธิผ่าน ที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกที่แบ่งหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง 2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1338 วรรคสองเพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน ทางจำเลยโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดย ผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่น แม้มีสัญญายกเลิกทาง แต่ไม่จดทะเบียนเป็นหนังสือ สัญญาไม่มีผลผูกพัน
เดิมที่ดินของโจทก์ เป็นที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ซึ่งมีจำเลยเป็นเจ้าของ อยู่ติดถนนสาธารณะ ต่อมาโจทก์ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลังก่อนแบ่งแยกหรือแบ่งโอนจำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์ทั้งสองเดินออกสู่ทางสาธารณะได้แต่ต่อมาจำเลยได้ปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ปิดกั้นด้านหน้าทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ หากจะออกสู่ทางสาธารณะด้านหลังจะต้องอาศัยทางในที่ดินของผู้อื่น และโจทก์ไม่มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ล้อมจึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1350 การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านดังกล่าวเป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ด้วยปากเปล่าจึงไม่มีผลผูกพัน และเมื่อเป็นทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียน โจทก์มีสิทธิเดินผ่านที่ดินของจำเลยได้เมื่อจำเลยปิดทางเดินทำให้โจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะโจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้เปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4176/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ การยกเลิกสิทธิทางผ่านต้องทำเป็นหนังสือ
เดิมที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 เป็นของจำเลย ต่อมาโจทก์ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวบางส่วนเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ด้านหลัง ก่อนแบ่งแยกหรือแบ่งโอน จำเลยได้ทำสัญญากับโจทก์ว่าจะเปิดทางเดินกว้าง 2.5 เมตร ให้โจทก์เดินออกสู่ทางสาธารณะ แต่ต่อมาจำเลยล้อมรั้วปิดกั้นในที่ดินของจำเลยทำให้โจทก์ไม่สามารถออกสู่ทางสาธารณะได้ ที่ดินของโจทก์ที่แบ่งแยกจากที่ดิน น.ส.3 เลขที่ 402 อยู่ในที่ล้อม จึงมีสิทธิผ่านที่ดินของจำเลยที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนไปสู่ทางสาธารณะได้ตามป.พ.พ. มาตรา 1350
การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน
ทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ
การยกเลิกสัญญาที่จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางผ่านกว้าง2.5 เมตร เป็นข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ต้องทำนิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1338 วรรคสอง เพียงแต่ตกลงยกเลิกกันด้วยปากเปล่า ไม่มีผลผูกพัน
ทางจำเป็นโดยผลของกฎหมายไม่จำต้องไปจดทะเบียน
สิทธิของโจทก์ที่จะเดินผ่านในที่ดินของจำเลยเกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย โจทก์ย่อมจะฟ้องให้จำเลยเปิดทางได้โดยไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันหนี้ที่จำกัดวงเงินและความรับผิดตามสัญญาอุปกรณ์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เคยตกลงผูกพันตามสัญญาโอนขายลดเช็คฉบับเดิม ในการที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาขายลดเช็คที่ได้กระทำขึ้นใหม่ภายหลัง เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้สินที่มีอยู่แล้ว และที่จะเกิดขึ้นในภายหลังผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คที่คู่สัญญาได้กระทำขึ้นต่อมาอีกภายหลัง แต่ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดเกินกว่าจำนวนเงินที่ต้องรับผิดตามสัญญาโอนขายลดเช็คที่สัญญาค้ำประกันได้ทำขึ้นเป็นสัญญาอุปกรณ์อยู่เดิม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่ลดหย่อนไม่ถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาต้องเปรียบเทียบกับราคาตลาด
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้า จึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาซื้อขายที่แท้จริงนำเข้า: การเปรียบเทียบราคาตลาดเพื่อประเมินมูลค่า
ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันจริงไม่อาจถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป ทั้งนี้เพราะผู้ซื้อกับผู้ขายอาจลดหย่อนราคาให้แก่กันก็เป็นได้ การคิดราคาอันแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้าจึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามกฎหมายศุลกากร ต้องพิจารณาจากราคาซื้อขายปกติ ไม่ใช่ราคาที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงกันเอง
คำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 2 หมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด"(ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาที่นำของเข้าหรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันนั้นอาจเป็นราคาที่ลดหย่อนให้แก่กัน ราคาที่ซื้อขายกันจริงจึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป การคิดราคาแท้จริงในท้องตลาดสำหรับของที่นำเข้าจึงต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะซื้อขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลาและที่ที่นำของเข้าด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสำแดงสินค้าขาเข้าต้องเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด มิใช่ราคาที่ตกลงซื้อขายกันเอง
ราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเรื่องภายในที่รู้เห็นกันเองระหว่างโจทก์กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่ามีการตกลงซื้อขายกันตามราคาดังกล่าวจริงเพราะอาจเป็นการสมยอมกันทำเอกสารขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรให้เสียน้อยกว่าที่ควรต้องเสียก็เป็นได้และแม้จะเป็นราคาที่ตกลงซื้อขายกันจริงก็ยังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่าราคาที่ซื้อขายกันนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2วรรคสิบสอง เพราะคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามบทกฎหมายดังกล่าวหมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ราคาที่ผู้ซื้อกับผู้ขายตกลงซื้อขายกันนั้นอาจเป็นราคาที่ลดหย่อนให้แก่กัน ราคาที่ซื้อขายกันจริงจึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเสมอไป จะต้องคิดเปรียบเทียบกับราคาซึ่งจะพึงขายของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การคัดค้านการขายทอดตลาดต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนอุทธรณ์ฎีกา
แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีได้กำหนดเงื่อนไขในการขายทอดตลาดไว้ว่าจะต้องขออนุญาตศาลก่อนเคาะไม้หรือตกลงขายก็ตาม แต่แท้จริงผู้ทำการขายทอดตลาดแสดงการตกลงขายก็คือเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 282 หาใช่ศาลไม่ ดังนั้น หากจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดไม่ชอบจะอุทธรณ์คำสั่งทันทีไม่ได้ แต่จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้น ตามมาตรา 27และมาตรา 296 วรรคสอง เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3899/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าจากการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรของบริษัทเงินทุน
พนักงานศาลส่งหมายนัดชี้สองสถานให้โจทก์โดยการปิดหมายวันที่ 25 กรกฎาคม 2534 และศาลภาษีอากรกลางนัดชี้สองสถานวันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์ย่อมมีเวลายื่นบัญชีระบุพยานได้ก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8วรรคหนึ่ง แต่โจทก์กลับยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดชี้สองสถาน โดยอ้างเหตุผลว่าเกิดผิดพลาดเพราะความพลั้งเผลอของโจทก์ มิได้ศึกษาข้อกำหนดและข้อกฎหมายให้ถ่องแท้มิใช่เกิดจากเจตนาหรือจงใจที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดข้อกล่าวอ้างเช่นนี้มิใช่เหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวที่ศาลจะอนุญาตตามคำร้องขอของโจทก์ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรข้อ 8 วรรคสี่ได้ กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนซื้อ หรือมีไว้ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นและหากโจทก์ซื้ออสังหาริมทรัพย์มาก็ต้องจำหน่ายไปภายใน 3 ปี แสดงว่าขณะที่โจทก์รับโอนที่ดินมาเนื่องจากลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้ให้แก่โจทก์โจทก์ย่อมทราบดีแล้วว่าเป็นการรับโอนมาเพื่อที่จะขายต่อให้แก่ผู้อื่นไปตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ยอมรับโอนที่ดินที่ลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้ โจทก์ก็ต้องคำนวณแล้วเห็นว่าโจทก์จะได้รับผลประโยชน์หรือผลกำไรมากกว่าการที่จะดำเนินการบังคับชำระหนี้ต่อไปดังนั้น การที่โจทก์ยอมรับโอนที่ดินที่ลูกหนี้นำมาตีใช้หนี้แล้วต่อมาโจทก์ได้ขายที่ดินนั้นให้แก่ผู้อื่นต่อไปจึงถือได้ว่าเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ซึ่งโจทก์ต้องเสียภาษีการค้า ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์