คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประจักษ์ พุทธิสมบัติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกีดขวางทางเข้าออกร้านค้าด้วยแผงลอยเป็นการละเมิด ทำให้เจ้าของร้านมีสิทธิเรียกร้องให้รื้อถอนและชดใช้ค่าเสียหาย
แผงลอยกับรถเข็นของจำเลยวางอยู่ริมทางเท้าของถนนสาธารณะแต่ปิดบังหน้าร้านและข้างร้านของโจทก์บางส่วน แม้โจทก์จะผ่านเข้าออกร้านของโจทก์ในส่วนอื่นได้บ้างก็ตาม แต่ก็เป็นการไม่สะดวกเท่าที่ควร เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการก่อสร้างรบกวนการอยู่อาศัย แม้ไม่ถึงขั้นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจ แต่ยังต้องชดใช้
จำเลยตอกเสาเข็มปลูกสร้างอาคารโรงแรม 16 ชั้น ทำให้โจทก์ทนทุกขเวทนาแสนสาหัส นอนไม่หลับเพราะหนวกหู ฝุ่นละอองจากการก่อสร้างทำให้บ้านเรือนสกปรกบ้านสั่นสะเทือน หินและไม้ตกลงบนหลังคาบ้านโจทก์อันอาจจะเกิดอันตรายต่อโจทก์และบริวารได้ไม่ปรากฏว่าความทนทุกข์ทรมานสาหัสดังกล่าวเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือจิตใจของโจทก์ แต่เป็นเรื่องเสียหายต่ออนามัยและสิทธิจะอยู่อย่างสงบไม่ถูกรบกวนเพราะความทรมานนอนไม่หลับอันเนื่องจากฝุ่นละอองเสียงจากการก่อสร้างอันได้แก่การตอกเสาเข็ม และความหวาดระแวงอันเกิดจากสิ่งของตกหล่น ลงมาบนหลังคาอันอาจเกิดอันตรายแก่อาคารและผู้อยู่อาศัยในบ้าน รวมทั้งการอัดตัวของดินทำให้บ้านเรือนโจทก์เสียหายอันอาจเป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยเหตุการณ์เช่นนี้เกิดอยู่ตลอดเวลาประมาณ 2 เดือน ทำให้โจทก์เสียหายแก่อนามัยรวมทั้งสิทธิส่วนตัวที่จะมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุขทั้งร่างกายและจิตใจ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรถเช่าซื้อไม่ต้องรับผิดชอบการกระทำผิดของผู้เช่า หากไม่มีส่วนรู้เห็นเป็นใจ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ไม่ได้ความว่ากรรมการของผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่เกิดเหตุ หรือมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์บรรทุกของกลางของผู้ร้องไป ผู้ร้องย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยจะเอารถยนต์บรรทุกของกลางไปกระทำผิดเมื่อใดแม้จำเลยจะผิดนัดผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซื้อหลายงวด และผู้ร้องไม่บอกเลิกสัญญาก็ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3286/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการเอาทรัพย์ผู้อื่นไปเพื่อหักหนี้ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หากราคาทรัพย์ไม่เกินจำนวนหนี้
จำเลยเอาสร้อยคอทองคำและพระเลี่ยมทองคำรวมราคา 30,000 บาทของผู้เสียหายไปเพื่อเป็นการตอบแทนที่ผู้เสียหายได้ร่วมประเวณีกับจำเลย เพราะเหตุที่ผู้เสียหายไม่ยอมชำระเงินจำนวน 5,000 บาทตามที่ได้ตกลงกันไว้ เป็นการเอาไปเพื่อหักใช้หนี้กันและทรัพย์ที่เอาไปนั้น จำเลยก็เข้าใจว่ามีราคาไม่เกินกว่าจำนวนหนี้ที่เป็นหนี้จำเลยอยู่ จำเลยเอาทรัพย์ไปเพราะจำเลยเชื่อว่าเป็นประโยชน์ที่จำเลยควรได้ จึงเป็นการเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยไม่มีเจตนาทุจริต ไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการขอคืนอากรขาเข้า: การประเมินราคาและกำหนดเวลาฟ้องร้อง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลัง ฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่25 ตุลาคม 2513 สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้น ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ตามฐานราคาสินค้าที่สั่งให้โจทก์แก้นั่นเองโจทก์จึงต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา30 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 8
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียไว้เกินโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือเป็นเพราะยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นก็ตาม จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดสองปี นับจากวันนำของเข้าทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เสียไว้เกินเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้น นอกจากจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้นำเข้ายังต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบ หรือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบอีกด้วยจึงจะมีสิทธิขอคืนเงินอากรได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียโดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่ 24 กันยายน2530 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2532 เกินกำหนดสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนอากร, การประเมินราคา, และสิทธิในการอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลังฯ(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้น ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ตามฐานราคาสินค้าที่สั่งให้โจทก์แก้นั่นเอง โจทก์จึงต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 8 สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียไว้เกินโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือเป็นเพราะยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นก็ตาม จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดสองปี นับจากวันนำของเข้าทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เสียไว้เกินเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นนอกจากจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วผู้นำเข้ายังต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบหรือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบอีกด้วย จึงจะมีสิทธิขอคืนเงินอากรได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียโดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้าเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่24 กันยายน 2530 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่5 ตุลาคม 2532 เกินกำหนดสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขาดอายุความฟ้องขอคืนภาษีอากร และไม่มีสิทธิฟ้องค่าภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศาล เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้า อันเป็นฐานของการคำนวณภาษีอากรสำหรับของที่นำเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นเหตุให้ต้องแก้จำนวนค่าอากรขาเข้าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้น อันเป็นการโต้แย้งจำนวนค่าภาษีอากรที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีอากรไว้ดังกล่าวว่าไม่ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบว่าจะต้องชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามฐานราคาของที่สั่งให้โจทก์แก้นั้นเอง มิฉะนั้นก็จะไม่ตรวจปล่อยของออกไปจากอารักขาของจำเลย โจทก์ทราบถึงการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวแล้ว ยอมแก้ราคาของตลอดจนจำนวนค่าอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้น กับยอมชำระค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่จำเลยเพื่อรับของที่นำเข้าไปจากอารักขาของจำเลยโดยได้บันทึกขอสงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ด้านหลังใบขนสินค้าขาเข้าย่อมเป็นการชำระค่าภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ไม่ใช่โจทก์สมัครใจชำระโดยไม่มีการโต้แย้งราคาของ ดังนั้นการที่โจทก์จะขอเรียกค่าภาษีอากรดังกล่าวคืนย่อมเป็นการโต้แย้งผลการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าว โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรให้วินิจฉัยเสียก่อนว่าโจทก์เสียภาษีไว้เกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายหรือไม่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว โจทก์จึงจะอุทธรณ์ต่อศาลหรือนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่มี สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้นคืนโดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้องจำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เพราะเหตุอันเกี่ยวกับการโต้แย้งราคาของตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า เมื่อปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่ 24 กันยายน 2530แต่โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2532เป็นเวลาเกินสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สิน ไม่ใช่คดีภาษีอากร
การที่โจทก์ฟ้องอธิบดีกรมสรรพากรให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 โดยอ้างว่าทรัพย์ที่ถูกยึดเป็นของโจทก์มิใช่ของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรนั้น มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ศาลภาษีอากรกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3056/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลาง: คดีพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์สิน ไม่ใช่คดีภาษีอากรโดยตรง
การฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ของอธิบดีกรมสรรพากร ตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากร มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรจำกัดเฉพาะคดีภาษี การฟ้องเพิกถอนยึดทรัพย์ไม่ใช่คดีภาษี
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าประกาศยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โจทก์ของจำเลยโดยใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12เป็นโมฆะและขอให้เพิกถอนเป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ตามอำนาจของจำเลยว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์และประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ มิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับภาษีอากรดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ดังนี้ ศาลภาษีอากรกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา.
of 39