คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวิน อักขรายุธ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 661 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในชั้นไต่สวนมูลฟ้องถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ได้ หากเป็นข้อสำคัญในคดี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคหนึ่ง มีความหมายว่าเป็นการเบิกความในการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาก็เป็นการพิจารณาคดีของศาลเช่นเดียวกัน ส่วนคำว่าข้อสำคัญในคดี หมายถึง เนื้อหาหรือสาระของคำเบิกความ มิใช่เรื่องขั้นตอนในการเบิกความถ้าพยานเบิกความเท็จและข้อความที่เบิกความเป็นสาระสำคัญของคดีที่เบิกความไม่ว่าจะเป็นการเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือในชั้นพิจารณาของศาล ก็เป็นการเบิกความเท็จที่เป็นข้อสำคัญในคดีเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในชั้นศาล: ข้อสำคัญในคดี
ป.อ.มาตรา 177 วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า เป็นการเบิกความในการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาก็เป็นการพิจารณาคดีของศาลเช่นเดียวกัน ส่วนคำว่าข้อสำคัญในคดีหมายถึง เนื้อหาหรือสาระของคำเบิกความ มิใช่เรื่องขั้นตอนในการเบิกความถ้าพยานเบิกความเท็จและข้อความที่เบิกความเป็นสาระสำคัญของคดีที่เบิกความไม่ว่าจะเป็นการเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือในชั้นพิจารณาของศาล ก็เป็นการเบิกความเท็จที่เป็นข้อสำคัญในคดีเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเกิดผลเมื่อมีการตกลงเงื่อนไขชัดเจน แม้ยังไม่ได้ลงนามเป็นหนังสือ และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเดิมไม่ทำให้สัญญาเดิมเป็นโมฆะ
การที่จำเลยตกลงให้โจทก์เช่าอาคารสืบต่อจากผู้เช่าเดิมโดยถือตามสัญญาเช่าฉบับเดิม และโจทก์ได้ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างและค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลยตามเงื่อนไขที่จำเลยเสนอกับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าแล้ว โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในฐานะผู้เช่ากับผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าเดิม การที่โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงรายการการชำระเงินในภายหลัง หามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเช่าฉบับเดิมไม่
แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระเงินกินเปล่างวดแรกและไปลงนามทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิมในวันที่ 1 กรกฎาคม 2531 แต่จำเลยก็มีหนังสือถึงตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์แจ้งความประสงค์เข้าทำสัญญาตามข้อตกลงนั้นได้ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ซึ่งภายในระยะเวลาที่บ่งไว้นี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะถอนคำเสนอได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 354 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาตามข้อตกลงเดิมในวันใดก็ได้ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2531เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้ทำสัญญาเช่าตามข้อตกลงเดิม โจทก์ก็ได้แสดงเจตนาเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิม โดยนำเงินกินเปล่างวดแรกที่ถึงกำหนดชำระแล้วไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยกำหนดไว้ ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องรับผูกพันตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ทำให้เกิดสัญญาเช่าขึ้น การที่จำเลยเสนอเงื่อนไขขึ้นมาใหม่โดยลดระยะเวลาการเช่าลงกับเพิ่มเงินกินเปล่าขึ้น โจทก์มิได้สนองรับจึงไม่เกิดสัญญาขึ้นใหม่และไม่มีผลลบล้างข้อตกลงเดิม
โจทก์จำเลยตกลงกันที่จะทำสัญญาเช่าไว้เป็นหนังสือ และยังไม่มีการลงนามในสัญญาเช่าอันจะมีผลให้สาระสำคัญของสัญญาตามที่ตกลงกันไว้กลายเป็นสัญญาเช่าที่เป็นหนังสือ แต่เมื่อเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญของสัญญานั้น โจทก์ได้ตรวจแก้ไขและจำเลยก็ยอมรับแล้ว จึงไม่มีเหตุให้เป็นที่สงสัยว่าอาจจะมีข้อความใดที่ตกหล่นหรือเกินเลยไปจากคู่สัญญามุ่งทำสัญญากันแต่อย่างใด ทั้งคำเสนอและคำสนองของคู่สัญญาก็มีความชัดแจ้งและถูกต้องตรงกันทุกประการแล้วจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่ยังมิได้มีสัญญาต่อกัน
กรณีที่มีการตกลงให้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือแต่ให้ถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 366วรรคสอง นั้น มีได้เฉพาะเมื่อกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้น เมื่อไม่มีกรณีเป็นที่สงสัยจะบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: การเสนอและสนองสัญญา, การปฏิบัติตามสัญญา, ความเสียหายจากการผิดสัญญา, การได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจ
การที่จำเลยตกลงให้โจทก์เช่าอาคารสืบต่อจากผู้เช่าเดิมโดยถือตามสัญญาเช่าฉบับเดิม และโจทก์ได้ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างและค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลยตามเงื่อนไขที่จำเลยเสนอกับเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าแล้ว โจทก์จำเลยจึงมีความผูกพันต่อกันในฐานะผู้เช่ากับผู้ให้เช่าตามสัญญาเช่าเดิมการที่โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงรายการการชำระเงินในภายหลังหามีผลเป็นการยกเลิกสัญญาเช่าฉบับเดิมไม่ แม้โจทก์จะยังมิได้ชำระเงินกินเปล่างวดแรกและไปลงนามทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิมในวันที่ 1 กรกฎาคม 2531แต่จำเลยก็มีหนังสือถึงตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์แจ้งความประสงค์เข้าทำสัญญาตามข้อตกลงนั้นได้ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2531ซึ่งภายในระยะเวลาที่บ่งไว้นี้ จำเลยย่อมไม่มีสิทธิที่จะถอนคำเสนอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 354โจทก์จึงมีสิทธิที่จะแสดงเจตนาเข้าทำสัญญาตามข้อตกลงเดิมในวันใดก็ได้ภายในวันที่ 14 กรกฎาคม 2531 เมื่อจำเลยปฏิเสธไม่ยอมให้ทำสัญญาเช่าตามข้อตกลงเดิม โจทก์ก็ได้แสดงเจตนาเข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยตามข้อตกลงเดิม โดยนำเงินกินเปล่างวดแรกที่ถึงกำหนดชำระแล้วไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2531 ภายในกำหนดเวลาที่จำเลยกำหนดไว้ถือได้ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่จำเลยจะต้องรับผูกพันตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ทำให้เกิดสัญญาเช่าขึ้น การที่จำเลยเสนอเงื่อนไขขึ้นมาใหม่โดยลดระยะเวลาการเช่าลงกับเพิ่มเงินกินเปล่าขึ้น โจทก์มิได้สนองรับจึงไม่เกิดสัญญาขึ้นใหม่และไม่มีผลลบล้างข้อตกลงเดิม โจทก์จำเลยตกลงกันที่จะทำสัญญาเช่าไว้เป็นหนังสือ และยังไม่มีการลงนามในสัญญาเช่าอันจะมีผลให้สาระสำคัญของสัญญาตามที่ตกลงกันไว้กลายเป็นสัญญาเช่าที่เป็นหนังสือ แต่เมื่อเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญของสัญญานั้น โจทก์ได้ตรวจแก้ไขและจำเลยก็ยอมรับแล้ว จึงไม่มีเหตุให้เป็นที่สงสัยว่าอาจจะมีข้อความใดที่ตกหล่นหรือเกินเลยไปจากคู่สัญญามุ่งทำสัญญากันแต่อย่างใด ทั้งคำเสนอและคำสนองของคู่สัญญาก็มีความชัดแจ้งและถูกต้องตรงกันทุกประการแล้ว จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่ยังมิได้มีสัญญาต่อกัน กรณีที่มีการตกลงให้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือแต่ให้ถือว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำขึ้นเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคสอง นั้นมีได้เฉพาะเมื่อกรณีเป็นที่สงสัยเท่านั้น เมื่อไม่มีกรณีเป็นที่สงสัยจะบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินมรดกผ่านสัญญาแบ่งทรัพย์มรดก ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
ที่พิพาทเป็นของสหกรณ์นิคมจัดสรรให้มารดาของโจทก์และจำเลยทำกิน เนื่องจากมารดาของโจทก์และจำเลยชรามากและเจ็บป่วยไม่สะดวกที่จะเข้าประชุมได้ จึงให้จำเลยถือสิทธิแทน ดังนี้เมื่อมารดาตายสิทธิในที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกซึ่งจะต้องตกเป็นของทายาทตามกฎหมาย จำเลยเป็นเพียงผู้ถือสิทธิแทนทายาท กรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทได้มีการไกล่เกลี่ยและตกลงกันเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งการโอนด้วยการตกทอดโดยทางมรดกเป็นข้อยกเว้นตาม มาตรา12 แห่ง พ.ร.บ. จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 อนุญาตให้ทำได้ สัญญาดังกล่าวหาได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายอันจะตกเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินจากการตกทอดทางมรดกและการแบ่งทรัพย์มรดกโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีข้อจำกัดตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ
ที่พิพาทเป็นของสหกรณ์นิคมจัดสรรให้มารดาของโจทก์และจำเลยทำกินเนื่องจากมารดาของโจทก์และจำเลยชรามากและเจ็บป่วยไม่สะดวกที่จะเข้าประชุมได้ จึงให้จำเลยถือสิทธิแทน ดังนี้เมื่อมารดาตายสิทธิในที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์มรดกซึ่งจะต้องตกเป็นของทายาทตามกฎหมายจำเลยเป็นเพียงผู้ถือสิทธิแทนทายาท กรณีพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับสิทธิในที่พิพาทได้มีการไกล่เกลี่ยและตกลงกันเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์และจำเลย ซึ่งการโอนด้วยการตกทอดโดยทางมรดกเป็นข้อยกเว้นตาม มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 อนุญาตให้ทำได้ สัญญาดังกล่าวหาได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามโดยกฎหมายอันจะตกเป็นโมฆะไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2420/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการบังคับคดีต้องยื่นภายใน 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืน หรือก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น
การร้องคัดค้านการบังคับคดีจะต้องร้องคัดค้านภายในแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืน แต่ต้องกระทำเสียก่อนที่การบังคับคดีได้เสร็จลงหากการบังคับคดีได้เสร็จลงไปแล้วแม้เพิ่งทราบการฝ่าฝืนก็ร้องคัดค้านอีกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ฎีกาอ้างว่าหมายบังคับคดีให้ยึดทรัพย์จำเลยที่ 1แต่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยที่ 2 โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีนั่นเอง กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยที่ 2 จะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้นเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2แล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับรักษาทรัพย์ที่ยึดไว้เองตั้งแต่วันที่5 มีนาคม 2531 โดยไม่โต้แย้งคัดค้าน จนกระทั่งมีการขายทอดตลาดจนเจ้าพนักงานบังคับคดีแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้โจทก์เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2535 ซึ่งถือว่าการบังคับคดีได้เสร็จลงแล้วจำเลยที่ 2 เพิ่งยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2535ล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเพื่อให้เพิกถอนการยึดและการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายโฆษณาเป็น 'อาคาร' ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร เมื่อไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดขนาด/น้ำหนัก ผู้มีอำนาจสั่งรื้อไม่มีอำนาจฟ้อง
ป้ายที่ติดหรือตั้งไว้นอกที่สาธารณะ จะถือเป็นอาคารตามพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ข้อ 3(ข) ก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบ 2 ประการคือ เกี่ยวกับระยะห่างจากที่สาธารณะ และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ในขณะเกิดเหตุยังไม่มีกฎกระทรวงใช้บังคับ ป้ายที่จำเลยที่ 2 สร้างขึ้นบนอาคารของจำเลยที่ 1 ก็ไม่เป็นอาคารตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนรวมทั้งไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนป้ายดังกล่าว โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายโฆษณาไม่เป็นอาคารตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร หากไม่เข้าเกณฑ์ระยะห่างและขนาด/น้ำหนักที่กฎกระทรวงกำหนด อำนาจฟ้องจึงไม่เกิด
ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4 ข้อ 3(ข) ป้ายที่ติดหรือตั้งไว้นอกที่สาธารณะ จะถือว่าเป็นอาคารก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบ2 ประการ คือ เกี่ยวกับระยะห่างจากที่สาธารณะ และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่งจะมีการออกกฎกระทรวงภายหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้ว ซึ่งจะนำมาใช้บังคับคดีนี้มิได้ป้ายที่จำเลยที่ 2 สร้างขึ้นบนอาคารของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นอาคาร ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจตามมาตรา 40 และมาตรา 42(เดิม) ที่จะสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้างและรื้อถอน รวมทั้งไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนป้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2325/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้ายโฆษณาไม่ใช่ 'อาคาร' หากไม่มีกฎกระทรวงกำหนดขนาด/น้ำหนัก ผู้ว่าฯ ไม่มีอำนาจสั่งรื้อถอน
ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 4 ข้อ 3(ข) ป้ายที่ติดหรือตั้งไว้นอกที่สาธารณะจะถือว่าเป็นอาคารก็ต่อเมื่อครบองค์ประกอบ 2 ประการคือ เกี่ยวกับระยะห่างจากที่สาธารณะ และมีขนาดหรือมีน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ขณะเกิดเหตุคดีนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่งจะมีการออกกฎกระทรวงภายหลังเกิดเหตุคดีนี้แล้ว ซึ่งจะนำมาใช้บังคับคดีนี้มิได้ป้ายที่จำเลยที่ 2 สร้างขึ้นบนอาคารของจำเลยที่ 1จึงไม่เป็นอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจตามมาตรา 40 และมาตรา 42(เดิม)ที่จะสั่งให้จำเลยที่ 2 ระงับการก่อสร้างและรื้อถอนรวมทั้งไม่มีอำนาจร้องขอต่อศาลให้บังคับให้มีการรื้อถอนป้ายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง
of 67