คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวิน อักขรายุธ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 661 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย เริ่มนับแต่วันศาลมีคำสั่งเพิกถอน ไม่ใช่วันยื่นคำร้อง
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างบุคคลล้มละลายกับบุคคลภายนอก หากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน และให้บุคคลภายนอกโอนที่ดินสู่กองทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายถ้าไม่สามารถโอนได้ให้ใช้ราคาแทนพร้อมดอกเบี้ยนั้น ให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน มิใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการโอน เพราะตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่และยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องขอให้เพิกถอน และปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่เมื่อใดเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาหลักคือการได้เงิน: การลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง
การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของ ว.ไปแล้วปลอมลายมือชื่อของ ว.ลงในใบถอนเงินของธนาคาร และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานธนาคารและรับเงินไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆ เป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำแต่ละอย่างจะเป็นความผิดก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ที่จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการรับว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่จำเลยจะผิดกฎหมายบทใดเป็นอำนาจศาลจะพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง ธนาคาร
แม้วันเวลากระทำผิด ลักษณะของความผิดและผู้เสียหายจะแตกต่างกันแต่การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาทุ่งสงของว.ไปแล้วปลอมลายมือชื่อของว. ลงในใบถอนเงินของธนาคารดังกล่าว และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมทั้งใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานของธนาคารและได้รับเงินจำนวน 6,400 บาทไปเป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อจะให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลักส่วนการกระทำอย่างอื่นเป็นเพียงวิธีการเพื่อที่จะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำนั้น ๆ จะเป็นความผิด แต่ก็เป็นกรณีการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นเรื่องเจตนากระทำความผิดของจำเลยแตกต่างกันทั้งไม่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้ว่าจำเลยจะให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ ก็เป็นการรับสารภาพว่าได้กระทำการต่าง ๆ ดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่ว่าจำเลยจะมีความผิดตามบทกฎหมายใดหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2248/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวผิดหลายบท: การลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร และฉ้อโกง ธนาคาร
การที่จำเลยลักสมุดคู่ฝากเงินธนาคารของ ว. ไปแล้วปลอมลายมือชื่อของ ว. ลงในใบถอนเงินของธนาคาร และนำสมุดคู่ฝากเงินพร้อมใบถอนเงินไปแสดงต่อพนักงานธนาคารและรับเงินไป เป็นการกระทำที่มีเจตนามุ่งหมายเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารเป็นหลัก การกระทำต่าง ๆเป็นเพียงวิธีการเพื่อจะให้ได้เงินไปเท่านั้น แม้การกระทำแต่ละอย่างจะเป็นความผิดก็เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทที่จำเลยให้การรับสารภาพก็เป็นการรับว่าได้กระทำการต่าง ๆดังที่โจทก์ฟ้อง ส่วนที่จำเลยจะผิดกฎหมายบทใดเป็นอำนาจศาลจะพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2061/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินล้มละลาย การกระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
ลูกหนี้โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกันกับลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายในคดีอื่น เป็นการกระทำภายในระยะเวลา3 ปี ก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายในคดีนี้ เมื่อฟังได้ว่าผู้คัดค้านกับลูกหนี้สมคบกันทำสัญญาจะซื้อขายและสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเพื่อหลีกเลี่ยงการติดตามยึดทรัพย์ของพนักงานเจ้าหน้าที่และมิให้บรรดาเจ้าหนี้อื่นบังคับชำระหนี้ได้ โดยลูกหนี้และผู้คัดค้านไม่มีเจตนาซื้อขายและชำระราคากันจริง เป็นการกระทำโดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ผู้ร้องจึงมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซึ่งมีตราสารกับการจำนำ: ข้อจำกัดสิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
สิทธิซึ่งมีตราสารหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่ได้หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้ (จำเลย) มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามนัยมาตรา 750 แห่ง ป.พ.พ. เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96 (3) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่ใช่สิทธิซึ่งมีตราสาร จึงไม่ถือเป็นการจำนำเพื่อขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
สิทธิซึ่งมีตราสารหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่ได้หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้ (จำเลย) มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้นไม่ได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามนัยมาตรา 750 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 96(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2051/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ไม่เป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกัน
สิทธิซึ่งมีตราสารย่อมหมายถึงตราสารที่ใช้แทนสิทธิหรือทรัพย์ซึ่งเป็นเอกสารที่ทำขึ้นตามแบบพิธีในกฎหมาย และเป็นตราสารที่โอนกันได้ด้วยวิธีของตราสารนั้น ไม่หมายความถึงเอกสารธรรมดาที่ทำขึ้นเพื่อเป็นพยานหลักฐานแห่งสิทธิทั่ว ๆ ไป สิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อที่ลูกหนี้มอบให้เจ้าหนี้เพื่อประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้นั้น หาได้มีลักษณะเป็นสิทธิซึ่งมีตราสารในความหมายดังกล่าวไม่ แม้สิทธิดังกล่าวอาจโอนแก่กันได้ก็เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาเท่านั้น การที่ลูกหนี้มอบสิทธิการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์พร้อมทะเบียนรถยนต์และสัญญาเช่าซื้อแก่เจ้าหนี้เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ออกให้แก่เจ้าหนี้ จึงไม่เป็นการจำนำสิทธิซึ่งมีตราสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 750 เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 96(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีเงื่อนไขคดีถึงที่สุด ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากคำสั่งศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด
ข้อความในสัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ร้องจะยอมรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ และคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น เมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์อาจยืน ยก แก้ หรือกลับเสียซึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นก็ได้จึงยังฟังเป็นที่แน่นอนและถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ผู้ร้องจึงยังไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1956/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกัน: ความรับผิดเริ่มเมื่อศาลตัดสินถึงที่สุด
ข้อความในสัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ร้องจะยอมรับผิดชำระหนี้แทนลูกหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ และคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้นเมื่อคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์อาจยืน ยก แก้ หรือกลับเสียซึ่งคำสั่งของศาลชั้นต้นก็ได้ จึงยังฟังเป็นที่แน่นอนและถึงที่สุดแล้วไม่ได้ ผู้ร้องจึงยังไม่ต้องรับผิด
of 67