คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวิน อักขรายุธ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 661 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1570/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองที่ถูกยึดในคดีล้มละลาย จำกัดเฉพาะจำนวนเงินจำนองและดอกเบี้ย
ผู้ร้องรับจำนองที่ดิน 2 แปลง โฉนดเลขที่ 47398 และ 26695 จากจ. เพื่อประกันหนี้เงินกู้ของ จ. เพียงรายเดียวโดยระบุจำนวนเงินจำนองสำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 47398 เป็นเงิน 600,000 บาท และโฉนดเลขที่ 26695 เป็นเงิน 1,900,000 บาท เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 26695 เพียงแปลงเดียวเพื่อบังคับชำระหนี้ ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอรับชำระหนี้จำนองจากที่ดินโฉนดเลขที่ 26695 เพียงเท่าจำนวนเงินจำนองของที่ดินดังกล่าวพร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามส่วนเฉลี่ยของจำนวนเงินจำนองของที่ดินแปลงดังกล่าว แม้ผู้ร้องจะฟ้องบังคับจำนองที่ดินทั้งสองแปลงแล้วและอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาสามารถบังคับชำระหนี้จากที่ดินทั้งสองแปลงที่รับจำนองไว้ก็ตาม แต่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ก็มิได้ให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะขอใช้สิทธิจำนองบังคับเอาจากทรัพย์จำนองเกินกว่าจำนวนเงินจำนองอันเป็นการกระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้อื่นที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนองส่วนที่อยู่นอกเหนือจากความรับผิดตามสัญญาจำนองนั้น ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองที่ได้ฟ้องบังคับจำนองจนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว และยื่นคำร้องคดีนี้ขอรับชำระหนี้จำนองจากทรัพย์จำนองตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม การยื่นคำร้องตามจำนวนทุนทรัพย์แต่เสียเพียงค่าคำร้อง 20 บาท แม้ผู้ร้องมิได้ฎีกา ก็สมควรคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในที่ดิน แม้มีการโอนต่อและจำนอง
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่า จำเลยที่ 1รับโอนที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันคู่ความจนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสีย ดังนั้น ในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับที่พิพาท การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 นำไปจำนองกับจำเลยที่ 3 ย่อมมิอาจนำ ป.พ.พ. มาตรา237 มาใช้บังคับ โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทของจำเลยที่ 1 และการจำนองที่พิพาทของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายและจำนอง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่เป็นลูกหนี้โจทก์ และคำพิพากษาคดีก่อนผูกพัน
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยฟังว่า จำเลยที่ 1รับโอนที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวผูกพันคู่ความจนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรือยกเสีย ดังนั้นในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์เกี่ยวกับที่พิพาท การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 นำไปจำนองกับจำเลยที่ 3 ย่อมมิอาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มาใช้บังคับ โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทของจำเลยที่ 1 และการจำนองที่พิพาทของจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีเดิม: โจทก์ไม่มีอำนาจร้องขอเพิกถอนนิติกรรมหากจำเลยที่ 1 ยังไม่เป็นลูกหนี้
คดีเดิมซึ่งโจทก์ฟ้อง ร. เป็นจำเลยที่ 1 และฟ้องจำเลยที่ 1คดีนี้เป็นจำเลยที่ 2 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องในส่วนของจำเลยที่ 1 โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 รับโอนที่พิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน คำพิพากษาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันคู่ความในคดีเดิม จนกว่าจะถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ดังนั้นในช่วงเวลาที่คดีเดิมอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2นำไปจดทะเบียนจำนองไว้กับจำเลยที่ 3 ย่อมไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มาใช้บังคับได้เพราะยังไม่มีหนี้ที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายที่พิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2กับจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาทเลินเล่อจากการเก็บรักษายาคุมกำเนิด – ไม่มีเหตุคาดหมายการโจรกรรม
ยาคุมกำเนิดที่ถูกคนร้ายโจรกรรมไปนั้น จำเลยนำไปเก็บรักษาที่บ้านพักแพทย์ เนื่องจากไม่มีห้องเก็บยาโดยเฉพาะ บ้านพักดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งสำนักงานสาธารณสุข ห่างกันเพียง 5 - 6 เมตร มีรั้วรอบ และมีเวรยามดูแลตลอดเวลา บุคคลผู้อาศัยในบ้านพักแพทย์ล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนัก-งานสาธารณสุขแห่งนั้น เมื่อออกจากบ้านพักบุคคลเหล่านั้นจะปิดบ้านใส่กุญแจ และนำลูกกุญแจไปให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่รับผิดชอบเก็บรักษาเพื่อจะได้ใช้เมื่อมีการเบิกยาทั้งก่อนเกิดเหตุ ก็ไม่ปรากฏว่าได้เกิดกรณียาคุมกำเนิดหรือวัสดุครุภัณฑ์สูญหายไปแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุให้คาดหมายได้ว่า การควบคุมดูแลกุญแจบ้านพักแพทย์ตามวิธีการที่จำเลยทั้งสี่ใช้อยู่นั้นจะเป็นเหตุให้เกิดการโจรกรรมยาคุมกำเนิดไปได้จะถือว่าการโจรกรรมยาคุมกำเนิดดังกล่าวมาจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสี่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษายา - สถานที่เก็บปลอดภัย, การควบคุมกุญแจที่เหมาะสม ไม่ถือเป็นความประมาท
ยาคุมกำเนิดที่ถูกคนร้ายโจรกรรมไปนั้น จำเลยนำไปเก็บรักษาที่บ้านพักแพทย์ เนื่องจากไม่มีห้องเก็บยาโดยเฉพาะ บ้านพักดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งสำนักงานสาธารณสุข ห่างกันเพียง5-6 เมตร มีรั้วรอบ และมีเวรยามดูแลตลอดเวลา บุคคลผู้อาศัยในบ้านพักแพทย์ล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขแห่งนั้นเมื่อออกจากบ้านพักบุคคลเหล่านั้นจะปิดบ้านใส่กุญแจ และนำลูกกุญแจไปให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่รับผิดชอบเก็บรักษาเพื่อจะได้ใช้เมื่อมีการเบิกยาทั้งก่อนเกิดเหตุ ก็ไม่ปรากฏว่าได้เกิดกรณียาคุมกำเนิดหรือวัสดุครุภัณฑ์สูญหายไปแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุให้คาดหมายได้ว่าการควบคุมดูแลกุญแจบ้านพักแพทย์ตามวิธีการที่จำเลยทั้งสี่ใช้อยู่นั้นจะเป็นเหตุให้เกิดการโจรกรรมยาคุมกำเนิดไปได้จะถือว่าการโจรกรรมยาคุมกำเนิดดังกล่าวมาจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสี่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมายหลังเลิกบริษัท: อำนาจของผู้ชำระบัญชีและความแน่นอนของหนี้ภาษี
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2517 - 2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบ และแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว
เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ
กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่ มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชี ซึ่งเป็นไปตาม ป.พ.พ. ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอน ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการประเมินภาษีหลังเลิกบริษัท การแจ้งไปยังผู้ไม่มีอำนาจทำให้หนี้ภาษีไม่แน่นอน และไม่สามารถฟ้องล้มละลายได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหมายเรียกถึงผู้จัดการของจำเลยภายหลังที่จำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท เพื่อให้ไปให้ถ้อยคำและชี้แจงเกี่ยวกับภาษีรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2517-2518 โดยมิได้มีหมายเรียกไปถึงผู้ชำระบัญชีซึ่งมีอำนาจหน้าที่จึงไม่ชอบและแม้ผู้จัดการของจำเลยได้มอบอำนาจให้ผู้ชำระบัญชีไปให้ถ้อยคำชี้แจงต่อเจ้าพนักงานของโจทก์ก็เป็นการมอบอำนาจที่ผู้มอบอำนาจไม่มีอำนาจจะกระทำได้มาแต่ต้นจึงไม่มีผลแต่อย่างใด และไม่อาจถือได้ว่าผู้ชำระบัญชีได้ทราบโดยชอบแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายกับภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยซึ่งไม่มีอำนาจเป็นการแจ้งการประเมินโดยไม่ชอบ กรรมการหรือผู้จัดการผู้มีอำนาจดำเนินการแทนนิติบุคคลนั้นย่อมหมายถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่มีอำนาจดำเนินการแทนโดยชอบอยู่มิได้หมายความถึงกรรมการหรือผู้จัดการที่ไม่มีอำนาจแล้ว กรณีที่จำเลยจดทะเบียนเลิกบริษัทและแต่งตั้งผู้ชำระต่อไปคือผู้ชำระบัญชีซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยแจ้งการประเมินภาษีอากรแล้ว จำเลยยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนตามมาตรา 9(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพราะอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่อาจนำหนี้จำนวนดังกล่าวมาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งประเมินภาษีหลังเลิกบริษัท: ต้องแจ้งผู้ชำระบัญชี ไม่ใช่กรรมการ/ผู้จัดการ
บริษัทจำเลยได้จดทะเบียนเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีย่อมมีอำนาจชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1250,1259(3) กรรมการหรือผู้จัดการของจำเลยหามีอำนาจอีกต่อไปไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรมีหมายเรียกและแจ้งการประเมินภาษีของบริษัทไปยังกรรมการและผู้จัดการของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้รับแจ้งการประเมินภาษีอากรจำนวนดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงยังไม่อาจใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรได้ จึงถือไม่ได้ว่าหนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9(3) เพราะอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจนำหนี้นี้มาฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิทายาทโดยชอบธรรมของบุตรที่เกิดจากการสมรสที่ตกเป็นโมฆะ และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
แม้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้ตายจะตกเป็นโมฆะแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ก็บัญญัติว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเกิดขณะที่ผู้คัดค้านที่ 1เป็นภริยาของผู้ตาย เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบหรือมีพยานมาหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงต้องฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 การที่ศาลชั้นต้นตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง แต่ได้ระบุฐานะของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้คัดค้านที่ 2 นั้นเกินคำขอท้ายคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านที่ 2 มิได้อุทธรณ์ไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)
of 67