คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สวิน อักขรายุธ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 661 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645-5646/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินโต้แย้ง: เพิกถอนโฉนดที่ดินธรณีสงฆ์วัด โดยพิจารณาจากสภาพพื้นที่ การครอบครอง และประวัติวัด
ในระหว่างพิจารณา พ. รักษาการเจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่นาย ช. และนาย น. ฟ้องคดีแทนวัดโจทก์พร้อมกับได้ชี้แจงเหตุผลประกอบและได้ส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่โดยไม่ได้ระบุมอบอำนาจให้นาย ช. เป็นผู้ฟ้องคดีแทนด้วยเพราะนาย ช. ถึงแก่กรรมไปแล้วย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใดทั้งกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา47แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนาย ช. และนาย น. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์มาแต่ต้น ที่ดินโจทก์ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าช้ามาแต่โบราณกาลล้อมรอบด้วยที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎต่อมาว่านาย ห.เป็นผู้แจ้งสิทธิครอบครองในที่ป่าช้าดังกล่าวไว้ด้วยเหตุผลที่จะกันไม่ให้ถูกบุกรุกยึดครองโดยเจตนาของนาย ห. ดังกล่าวนี้ได้ประกาศชัดเจนว่าถือครองในฐานะแทนโจทก์ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านโต้แย้งเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่บริเวณที่ดินใกล้เคียงที่ป่าช้าซึ่งหากจำเลยยึดถือครอบครองและออกโฉนดซึ่งมีทั้งซากวัตถุโบราณซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมการฝังศพตลอดจนทางจำเลยก็ยอมรับถึงความเชื่อถือที่ไม่ยอมใช้น้ำในหนองโบสถ์ตรงตามที่พยานโจทก์เบิกความเป็นหนองน้ำใช้ล้างกระดูกศพแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าคำยืนยันของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงว่าที่ดินพิพาทที่ล้อมรอบป่าช้าของโจทก์เป็นที่ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการฝังศพจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. โจทก์จำเลยไม่อาจยกการครอบครองขึ้นยันวัดโจทก์การออกโฉนดในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบและโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนได้ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645-5646/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทสิทธิในที่ดินธรณีสงฆ์ วัดย้ายที่ การครอบครองปรปักษ์ และการเพิกถอนโฉนด
ในระหว่างพิจารณา พ. รักษาการเจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่นาย ช. และนาย น. ฟ้องคดีแทนวัดโจทก์พร้อมกับได้ชี้แจงเหตุผลประกอบ และได้ส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่โดยไม่ได้ระบุมอบอำนาจให้นาย ช. เป็นผู้ฟ้องคดีแทนด้วยเพราะนาย ช. ถึงแก่กรรมไปแล้วย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใด ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 47 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง นาย ช. และนาย น. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์มาแต่ต้น ที่ดินโจทก์ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าช้ามาแต่โบราณกาล ล้อมรอบด้วยที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎต่อมาว่านาย ห.เป็นผู้แจ้งสิทธิครอบครองในที่ป่าช้าดังกล่าวไว้ด้วยเหตุผลที่จะกันไม่ให้ถูกบุกรุกยึดครอง โดยเจตนาของนาย ห. ดังกล่าวนี้ได้ประกาศชัดเจนว่าถือครองในฐานะแทนโจทก์ ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านโต้แย้งเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่บริเวณที่ดินใกล้เคียงที่ป่าช้า ซึ่งหากจำเลยยึดถือครอบครองและออกโฉนดซึ่งมีทั้งซากวัตถุโบราณซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมการฝังศพ ตลอดจนทางจำเลยก็ยอมรับถึงความเชื่อถือที่ไม่ยอมใช้น้ำในหนองโบสถ์ตรงตามที่พยานโจทก์เบิกความเป็นหนองน้ำใช้ล้างกระดูกศพ แล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าคำยืนยันของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงว่าที่ดินพิพาทที่ล้อมรอบป่าช้าของโจทก์ เป็นที่ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการฝังศพจริง ที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. โจทก์ จำเลยไม่อาจยกการครอบครองขึ้นยันวัดโจทก์ การออกโฉนดในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ และโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนได้ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645-5646/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพาทเกี่ยวกับที่ดินธรณีสงฆ์และการเพิกถอนโฉนดที่ดิน โดยมีข้อพิพาทเรื่องการครอบครองและสิทธิในที่ดิน
ในระหว่างพิจารณา พ. รักษาการเจ้าอาวาสวัดโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้สัตยาบันการที่นาย ช. และนาย น. ฟ้องคดีแทนวัดโจทก์พร้อมกับได้ชี้แจงเหตุผลประกอบและได้ส่งหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่โดยไม่ได้ระบุมอบอำนาจให้นาย ช. เป็นผู้ฟ้องคดีแทนด้วยเพราะนาย ช. ถึงแก่กรรมไปแล้วย่อมเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งห้ามไว้แต่ประการใดทั้งกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา47แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนาย ช. และนาย น. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์มาแต่ต้น ที่ดินโจทก์ดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าช้ามาแต่โบราณกาลล้อมรอบด้วยที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎต่อมาว่านาย ห.เป็นผู้แจ้งสิทธิครอบครองในที่ป่าช้าดังกล่าวไว้ด้วยเหตุผลที่จะกันไม่ให้ถูกบุกรุกยึดครองโดยเจตนาของนาย ห. ดังกล่าวนี้ได้ประกาศชัดเจนว่าถือครองในฐานะแทนโจทก์ซึ่งจำเลยก็มิได้คัดค้านโต้แย้งเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อเท็จจริงที่บริเวณที่ดินใกล้เคียงที่ป่าช้าซึ่งหากจำเลยยึดถือครอบครองและออกโฉนดซึ่งมีทั้งซากวัตถุโบราณซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมการฝังศพตลอดจนทางจำเลยก็ยอมรับถึงความเชื่อถือที่ไม่ยอมใช้น้ำในหนองโบสถ์ตรงตามที่พยานโจทก์เบิกความเป็นหนองน้ำใช้ล้างกระดูกศพแล้วยิ่งเห็นได้ชัดว่าคำยืนยันของโจทก์ดังกล่าวเป็นความจริงว่าที่ดินพิพาทที่ล้อมรอบป่าช้าของโจทก์เป็นที่ที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการฝังศพจริงที่ดินพิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด บ. โจทก์จำเลยไม่อาจยกการครอบครองขึ้นยันวัดโจทก์การออกโฉนดในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบและโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์มีอำนาจขอให้เพิกถอนได้ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณี การสนับสนุนความผิด และการกระทำโดยความยินยอม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานเป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยใช้อุบายหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา 283 แต่ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยหญิงนั้นสมัครใจยินยอมเอง อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 282 ศาลก็มีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3ตาม ป.อ. มาตรา 282 ได้
เมื่อความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยหญิงนั้นสมัครใจยินยอม ตาม ป.อ. มาตรา 282 และฐานจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณีเป็นปกติธุระ ตาม พ.ร.บ. ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503มาตรา 8 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ย่อมต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 282 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
การที่จำเลยที่ 2 ยึดถือหนังสือเดินทางและตั๋วโดยสารเครื่องบินของพวกผู้เสียหายไว้ เป็นไปโดยความยินยอมของพวกผู้เสียหายตามข้อตกลงแล้วการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 188แม้ความผิดข้อหานี้ต้องห้ามมิให้ฎีกา แต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่เป็นความผิดแล้ว ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 185 ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
จำเลยที่ 1 เพียงขับรถพาหญิงซึ่งสมัครใจค้าประเวณีไปส่งตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย การที่จำเลยที่ 1 รับเงินค่าหญิงบริการจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมมาก็ต้องนำไปมอบให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการรับไว้แทนจำเลยที่ 2การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนจำเลยที่ 2 ในความผิดตาม ป.อ.มาตรา 282 และ พ.ร.บ. ปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2503 มาตรา 8 ประกอบกับ ป.อ. มาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีค้ามนุษย์และค้าประเวณี: ศาลแก้โทษจำคุกจำเลยที่ 2-3 ลดหย่อนตามเหตุบรรเทาโทษ และยกฟ้องจำเลยอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่2และที่3ฐานเป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยใช้อุบายหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา283แต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่2และที่3เป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยหญิงนั้นสมัครใจยินยอมเองอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา282ศาลก็มีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยที่2และที่3ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา282ได้ เมื่อความผิดฐานเป็นธุระจัดหาหรือชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงโดยหญิงนั้นสมัครใจยินยอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา282และฐานจัดหาผู้กระทำการค้าประเวณีเป็นปกติธุระตามพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503มาตรา8เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทย่อมต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา282อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90 การที่จำเลยที่2ยึดถือหนังสือเดินทางและตั๋วโดยสารเครื่องบินของพวกผู้เสียหายไว้เป็นไปโดยความยินยอมของพวกผู้เสียหายตามข้อตกลงแล้วการกระทำของจำเลยที่2และที่3จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา188แม้ความผิดข้อหานี้ต้องห้ามมิให้ฎีกาแต่เมื่อการกระทำของจำเลยที่2และที่3ไม่เป็นความผิดแล้วศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185ประกอบด้วยมาตรา215และมาตรา225 จำเลยที่1เพียงขับรถพาหญิงซึ่งสมัครใจค้าประเวณีไปส่งตามที่จำเลยที่2มอบหมายการที่จำเลยที่1รับเงินค่าหญิงบริการจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมมาก็ต้องนำไปมอบให้แก่จำเลยที่2เป็นการรับไว้แทนจำเลยที่2การกระทำของจำเลยที่1จึงเป็นเพียงผู้สนับสนุนจำเลยที่2ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา282และพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณีพ.ศ.2503มาตรา8ประกอบกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาห้ามเรื่องข้อที่ยุติแล้ว และประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยนอกคำฟ้องได้ในขอบเขตที่กฎหมายอนุญาต
โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสามในราคา2,500,000บาทแต่ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจำเลยทั้งสองชำระค่าที่ดินให้โจทก์ทั้งสามเพียง1,000,000บาทยังค้างชำระ1,500,000บาทโจทก์ทั้งสามทวงถามแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างหรือไม่เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ปัญหาฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยโดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นประเด็นในคดีแต่จำเลยที่2ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบอย่างไรและด้วยเหตุผลใดจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่ศาลนำลายมือชื่อในเอกสารพิพาทซึ่งจำเลยที่2ปฎิเสธว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองไปเปรียบเทียบกับลายมือชื่อในเอกสารฉบับอื่นที่มีอยู่ในสำนวนกับที่คู่ความได้อ้างมาเป็นพยานในคดีนี้ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลได้รู้เห็นเองและเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งและการวินิจฉัยพยานหลักฐานของศาล
โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสามในราคา 2,500,000 บาท แต่ในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองชำระค่าที่ดินให้โจทก์ทั้งสามเพียง 1,000,000บาท ยังค้างชำระ 1,500,000 บาท โจทก์ทั้งสามทวงถามแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวย่อมเห็นได้ว่าจำเลยทั้งสองโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ส่วนข้อเท็จจริงจะเป็นไปตามที่โจทก์ทั้งสามกล่าวอ้างหรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้อง-จำเลยทั้งสอง
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นไม่รับวินิจฉัยโดยให้เหตุผลว่าไม่เป็นประเด็นในคดี แต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบอย่างไรและด้วยเหตุผลใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้กล่าวโดยชัดแจ้ง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลนำลายมือชื่อในเอกสารพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 ปฏิเสธว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองไปเปรียบเทียบกับลายมือชื่อในเอกสารฉบับอื่นที่มีอยู่ในสำนวนกับที่คู่ความได้อ้างมาเป็นพยานในคดีนี้ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลได้รู้เห็นเองและเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลย่อมมีอำนาจกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อน, ทางสาธารณะ, การเพิกถอนบันทึกโฉนด, สิทธิในที่ดิน
คดีก่อน โจทก์ฟ้องการไฟฟ้านครหลวงเป็นจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยเข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในเขตที่ดินโฉนดเลขที่1006 เลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เฉพาะส่วนนอกจากที่แบ่งไว้เป็นถนนและที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000การไฟฟ้านครหลวงให้การว่า เมื่อ ล. เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ออกเป็น 72 แปลง จัดสรรให้บุคคลอื่นการแบ่งแยกได้กันที่ดินทำเป็นถนนเพื่อให้ประชาชนในบริเวณนั้นใช้โดยล.มีเจตนาจะให้ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นทางสาธารณะและประชาชนได้ใช้สัญจรมากว่า 20 ปีแล้ว การไฟฟ้านครหลวงได้เข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมจากถนนไปสู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ซึ่งเป็นทางสาธารณะไปแล้วนั้นก็ได้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อย ๆ อีกหลายแปลงรวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ปัญหาที่ว่าที่ดินทั้งสี่โฉนดของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นประเด็นที่พิพาทกันโดยตรงในคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นทางสาธารณะแล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของการไฟฟ้านครหลวงไม่เป็นการละเมิด พิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงในปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า ล. ได้อุทิศที่ดินทั้งสี่โฉนดให้เป็นทางสาธารณะแล้วดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วยเพราะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรกข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องฟังว่าที่ดินทั้งสี่แปลงพิพาทในคดีนี้เป็นทางสาธารณะ การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บันทึกลงในโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลงว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) จึงมิใช่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6081/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินตกเป็นทางสาธารณะ การไฟฟ้านครหลวงวางเสาไฟฟ้าไม่ละเมิดสิทธิเจ้าของที่ดิน
คดีก่อน โจทก์ฟ้องการไฟฟ้านครหลวงเป็นจำเลยกล่าวหาว่าจำเลยเข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าในเขตที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เลขที่77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ของโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 เฉพาะส่วนนอกจากที่แบ่งไว้เป็นถนน และที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000การไฟฟ้านครหลวงให้การว่า เมื่อ ล.เจ้าของที่ดินเดิมได้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่1006 ออกเป็น 72 แปลง จัดสรรให้บุคคลอื่น การแบ่งแยกได้กันที่ดินทำเป็นถนนเพื่อให้ประชาชนในบริเวณนั้นใช้ โดย ล.มีเจตนาจะให้ที่ดินส่วนที่กันไว้เป็นทางสาธารณะและประชาชนได้ใช้สัญจรมากว่า 20 ปีแล้ว การไฟฟ้านครหลวงได้เข้าไปปักเสาไฟฟ้าและพาดสายไฟฟ้าแรงสูงเชื่อมจากถนนไปสู่ที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1006 ซึ่งเป็นทางสาธารณะไปแล้วนั้นก็ได้แบ่งแยกออกเป็นแปลงย่อย ๆ อีกหลายแปลง รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 77997 เลขที่ 77998 และเลขที่ 78000 ปัญหาที่ว่าที่ดินทั้งสี่โฉนดของโจทก์เป็นทางสาธารณะหรือไม่ จึงเป็นประเด็นที่พิพาทกันโดยตรงในคดีก่อน ซึ่งในคดีก่อนศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินของโจทก์ตกเป็นทางสาธารณะแล้ววินิจฉัยว่าการกระทำของการไฟฟ้านครหลวงไม่เป็นการละเมิด พิพากษายกฟ้อง และคดีถึงที่สุด โดยศาลฎีกาก็ฟังข้อเท็จจริงในปัญหาดังกล่าวเช่นเดียวกันว่า ล.ได้อุทิศที่ดินทั้งสี่โฉนดให้เป็นทางสาธารณะแล้วดังนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์ในคดีนี้ด้วยเพราะเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาคดีนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องฟังว่าที่ดินทั้งสี่แปลงพิพาทในคดีนี้เป็นทางสาธารณะ การที่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 บันทึกลงในโฉนดที่ดินทั้งสี่แปลงว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1304 (2) จึงมิใช่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4900/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในชั้นไต่สวนมูลฟ้องถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 ได้ หากเป็นข้อสำคัญในคดี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 177 วรรคหนึ่ง มีความหมายว่าเป็นการเบิกความในการพิจารณาคดีของศาล ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาก็เป็นการพิจารณาคดีของศาลเช่นเดียวกัน ส่วนคำว่าข้อสำคัญในคดี หมายถึง เนื้อหาหรือสาระของคำเบิกความ มิใช่เรื่องขั้นตอนในการเบิกความถ้าพยานเบิกความเท็จและข้อความที่เบิกความเป็นสาระสำคัญของคดีที่เบิกความไม่ว่าจะเป็นการเบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือในชั้นพิจารณาของศาล ก็เป็นการเบิกความเท็จที่เป็นข้อสำคัญในคดีเช่นเดียวกัน
of 67