คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จองทรัพย์ เที่ยงธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, กรรมการบริษัท, หนังสือรับรอง, การมอบอำนาจ, ค่าเสียหายสัญญาเช่าซื้อ
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า กรรมการผู้มีอำนาจสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนและผูกพันโจทก์ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 โดยโจทก์แนบสำเนาหนังสือรับรองมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง หนังสือรับรองดังกล่าวสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ออกให้และปรากฏชื่อ ธ.กับ ว.รวมอยู่ในรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทด้วยและโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อตามหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่า สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองของบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 ไม่ใช่ต้นฉบับของทางราชการ หรือมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ และหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 เป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้ คำให้การของจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงเรื่องกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องว่ามิได้เป็นไปตามเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยยกเหตุที่หนังสือรับรองอำนาจกรรมการบริษัทโจทก์เป็นเพียงสำเนาที่ไม่มีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ ซึ่งไม่เกี่ยวกับข้อต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และศาลอุทธรณ์นำหนังสือรับรองตามเอกสารหมาย จ.1 ไปเปรียบเทียบกับหนังสือรับรองอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกค้าแทนบริษัทโจทก์ได้แล้ววินิจฉัยว่าขณะยื่นคำฟ้องกรรมการบริษัทโจทก์คนหนึ่งไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ
จำนวนกรรมการและรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ตามต้นฉบับหนังสือรับรองตรงกับสำเนาหนังสือรับรองตามเอกสารท้ายฟ้องเมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าขณะยื่นคำฟ้องอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์มีอยู่จริง และการมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามฟ้อง
จำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้มีสามกรณี คือ ค่าขาดประโยชน์ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนที่โจทก์จะยึดรถคืนค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถยนต์ กับค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นอันผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบเนื่องจากการผิดสัญญาโดยทั่วไป เพราะเมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อและยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่การที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าราคาที่ได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไม่พอชำระหนี้ต่าง ๆที่ผู้เช่าต้องรับผิดตามสัญญานี้ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมที่จะชำระเงินที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่เจ้าของจนครบมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์ขอมาสูงเกินไปศาลก็ชอบที่จะลดลงได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 การที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายโดยไม่ได้แยกว่าส่วนใดโจทก์ลดลงมาเท่าใด แม้ว่าเป็นการนำสืบที่ไม่ชัดแจ้งแต่ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดค่าเสียหายให้ชดใช้ตามที่เห็นสมควรได้สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนและกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้เจ้าของคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่เมื่อค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อและค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ไม่ได้ราคาเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหลังจากหักเงินที่โจทก์รับไว้แล้ว ตลอดจนค่าติดตามยึดรถคืนไม่ใช่ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามสัญญาดังกล่าว เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญา จึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในจำนวนเงินดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 นับถัดจากวันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อ, อัตราดอกเบี้ย, การลดหย่อนค่าเสียหาย, การชำระหนี้
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า กรรมการผู้มีอำนาจสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทกระทำการแทนและผูกพันโจทก์ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 โดยโจทก์แนบสำเนาหนังสือรับรองมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง หนังสือรับรองดังกล่าวสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ออกให้และปรากฏชื่อ ธ.กับว. รวมอยู่ในรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทด้วยและโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อตามหนังสือมอบอำนาจท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้องเพียงว่า สำเนาภาพถ่ายหนังสือรับรองของบริษัทเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 1 ไม่ใช่ต้นฉบับของทางราชการ หรือมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ และหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 3 เป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป มิใช่หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ดังนี้คำให้การของจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งถึงเรื่องกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องว่ามิได้เป็นไปตามเอกสารท้ายคำฟ้อง ซึ่งจำเลยมีหน้าที่จะต้องให้การโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยยกเหตุที่หนังสือรับรองอำนาจกรรมการบริษัทโจทก์เป็นเพียงสำเนาที่ไม่มีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยทางราชการ ซึ่งไม่เกี่ยวกับข้อต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจตามเอกสารท้ายฟ้อง และศาลอุทธรณ์นำหนังสือรับรองตามเอกสารหมาย จ.1 ไปเปรียบเทียบกับหนังสือรับรองอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์ขณะที่มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อในหนังสือมอบอำนาจทำสัญญาเช่าซื้อกับลูกค้าแทนบริษัทโจทก์ได้แล้ววินิจฉัยว่าขณะยื่นคำฟ้อง กรรมการบริษัทโจทก์คนหนึ่งไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ จำนวนกรรมการและรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ตามต้นฉบับหนังสือรับรองตรงกับสำเนาหนังสือรับรองตามเอกสารท้ายฟ้องเมื่อจำเลยทั้งสามมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าขณะยื่นคำฟ้องอำนาจของกรรมการบริษัทโจทก์มีอยู่จริงและการมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีนี้ได้ตามฟ้อง จำนวนเงินที่โจทก์เรียกร้องคดีนี้มีสามกรณี คือค่าขาดประโยชน์ระหว่างที่จำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองรถยนต์ที่เช่าซื้อก่อนที่โจทก์จะยึดรถคืนค่าใช้จ่ายในการติดตามยึดรถยนต์ กับค่าเสียหายเพราะเหตุอื่นอันผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบเนื่องจากการผิดสัญญาโดยทั่วไป เพราะเมื่อมีการผิดสัญญาเช่าซื้อและยึดรถยนต์ที่เช่าคืนมาแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ การที่สัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าราคาที่ได้ขายทรัพย์สินที่เช่าซื้อไม่พอชำระหนี้ต่าง ๆ ที่ผู้เช่าต้องรับผิดตามสัญญานี้ผู้เช่าซื้อ ตกลงยินยอมที่จะชำระเงินที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่เจ้าของจนครบมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ เมื่อโจทก์ขอมาสูงเกินไปศาลก็ชอบที่จะลดลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 การที่โจทก์นำสืบถึงค่าเสียหายโดยไม่ได้แยกว่าส่วนใดโจทก์ลดลงมาเท่าใด แม้ว่าเป็นการนำสืบที่ไม่ชัดแจ้งแต่ในเรื่องค่าเสียหาย ศาลก็อาจกำหนดค่าเสียหายให้ชดใช้ตามที่เห็นสมควรได้สำหรับดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องมาอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อไม่ชำระเงินค่าเช่าซื้อให้ครบถ้วนถูกต้องตามจำนวนและกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ ผู้เช่าซื้อตกลงยินยอมให้เจ้าของคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่เมื่อค่าขาดประโยชน์จากการที่โจทก์ไม่ได้ใช้รถยนต์ที่เช่าซื้อและค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์ไม่ได้ราคาเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหลังจากหักเงินที่โจทก์รับไว้แล้ว ตลอดจนค่าติดตามยึดรถคืนไม่ใช่ค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระตามสัญญาดังกล่าว เป็นความเสียหายที่เกิดจากการผิดสัญญา จึงให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในจำนวนเงินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 นับถัดจากวันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อกลับคืนมาตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเดิม กับการฟ้องขอทรัพย์สินคืนเมื่อเลิกสัญญา มิใช่ฟ้องซ้อน
คดีแรกโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาโดยสั่งปิดกิจการภัตตาคารและสั่งห้ามมิให้โจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับการเก็บรายได้จากภัตตาคารดังกล่าวโดยจำเลยที่ 1เป็นผู้เก็บรายได้เองและไม่ยอมมอบเงินรายได้นั้นให้โจทก์ทั้ง ๆ ที่สัญญาระบุว่าให้โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรายได้นั้นทั้งหมด ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ส่งมอบการเก็บรายได้จากการประกอบกิจการภัตตาคารดังกล่าวให้โจทก์เข้าไปเป็นผู้เก็บรายได้นั้นต่อไปและใช้ค่าเสียหายอันเป็นรายได้จากการประกอบกิจการนั้นที่จำเลยที่ 1 เก็บไว้คืนให้โจทก์คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้อีกโดยเรียกเอาค่าหลักประกันสัญญาค่าตกแต่งสถานที่ ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าวัตถุดิบคงเหลืออันเป็นทรัพย์สินของโจทก์คืนทั้งนี้ก็เพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งเลิกสัญญาแล้ว มิใช่เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาอย่างคดีแรก จึงเป็นคนละเรื่องกัน อีกทั้งในคดีแรกจำเลยที่ 2 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องคดีซ้ำซ้อน: สัญญาเดิม vs. การเรียกร้องทรัพย์สินคืนหลังเลิกสัญญา
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา โดยจำเลยที่ 1 สั่งปิดกิจการภัตตาคารและสั่งห้ามมิให้โจทก์และพนักงานการเงินของโจทก์เข้าเกี่ยวข้องกับการเก็บรายได้จากภัตตาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เก็บรายได้เองและไม่ยอมมอบเงินรายได้นั้นให้โจทก์ทั้ง ๆ ที่สัญญาได้ระบุไว้ว่าให้โจทก์มีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรายได้และรายจ่ายในการดำเนินกิจการภัตตาคารนั้นทั้งหมดขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ส่งมอบการเก็บรายได้จากการประกอบกิจการภัตตาคารให้โจทก์เข้าไปเป็นผู้เก็บรายได้นั้นต่อไปและใช้ค่าเสียหายอันเป็นรายได้จากการประกอบกิจการนั้นที่จำเลยที่ 1 เก็บไว้คืนให้โจทก์ โดยมิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วยในระหว่างพิจารณาคดีก่อนโจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้เรียกเอาค่าหลักประกันสัญญา ค่าตกแต่งสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ และค่าวัตถุดิบคงเหลืออันเป็นทรัพย์สินของโจทก์คืนเพื่อกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งเลิกสัญญาแล้ว มิใช่เป็นการเรียกให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาอย่างคดีแรก ดังนี้เป็นคนละเรื่องกัน โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด, เอกสารแปล, อัตราดอกเบี้ยผิดนัด
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลย โจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ เมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคา ผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 472 วรรคแรก
ป.วิ.พ.มาตรา 46 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุด การรับฟังเอกสารต่างประเทศ และดอกเบี้ยผิดนัด
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลยโจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่าจำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศเมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคาผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา472วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสามมิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่นเมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้วศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่าโจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ15ต่อปีจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ15ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขายสินค้าชำรุดในต่างประเทศ และการคิดดอกเบี้ยผิดนัดตามข้อตกลง
ขณะที่โจทก์ตกลงขายสินค้าให้จำเลย โจทก์ทราบถึงความประสงค์ของจำเลยอยู่แล้วว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์เพื่อนำไปตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งไปจำหน่ายในต่างประเทศ เมื่อทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องเพราะสีของผ้าตกซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากการนำสีที่ไม่มีคุณภาพมาใช้ในการผลิตทำให้สินค้านั้นเสื่อมราคา ผู้ซื้อในต่างประเทศปฏิเสธไม่ยอมรับซื้อสินค้านั้นจนจำเลยจำต้องลดราคาให้ ผู้ซื้อจึงยอมรับซื้อ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของสินค้านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 472 วรรคแรก ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสามมิได้บัญญัติให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารที่ได้ทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศส่งสำเนาคำแปลให้คู่ความฝ่ายอื่น เมื่อจำเลยได้ทำคำแปลภาษาต่างประเทศโดยมีคำรับรองมายื่นต่อศาลชั้นต้นเพื่อแนบไว้กับเอกสารเหล่านั้นแล้ว ศาลก็ชอบที่จะรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดในคำฟ้องว่า โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดจากจำเลยในอัตราที่ตกลงกันไว้คือร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: กฎหมายใหม่ทำให้คำเบิกความไม่เป็นความสำคัญ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทให้ ส. ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์ที่1กู้ยืมเงินไปจาก ส. แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์ในคดีอาญาที่ ส. ฟ้องโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ว่าโจทก์ทั้งสองออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ซึ่งหากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง คำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าว จำเลยย่อมมีความผิดฐานเบิกความเท็จ แต่เนื่องจากในขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์ทั้งสองนำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว มี พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดการใช้เช็ค พ.ศ.2534ออกมาใช้บังคับแทน ปรากฏว่ากฎหมายฉบับใหม่ที่ออกภายหลังการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย แต่กรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ดังนี้คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีนี้อันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จการกระทำของจำเลยไม่เป็นของผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็คต่อความผิดฐานเบิกความเท็จ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้ส.ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์กู้ยืมเงินไปจากส.แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์คดีอาญาซึ่ง ส.ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497ว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้องคำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวจำเลยย่อมมีความผิดตามฟ้องแต่เนื่องจากในขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2497ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วและมีกฎหมายฉบับใหม่คือพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534ออกมาใช้บังคับแทนซึ่งการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายส่วนกรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534มาตรา4อีกต่อไปดังนี้คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีอันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีเช็ค: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็ค และความสำคัญของการชำระหนี้จริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้ ส.ยึดถือไว้แทนสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์กู้ยืมเงินไปจาก ส.แต่จำเลยเบิกความเป็นพยานโจทก์คดีอาญาซึ่ง ส.ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ว่า โจทก์ออกเช็คพิพาทแลกเงินสดไปจากจำเลยอันเป็นการออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อชำระหนี้ หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่โจทก์ฟ้อง คำเบิกความของจำเลยย่อมเป็นความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวจำเลยย่อมมีความผิดตามฟ้อง แต่เนื่องจากในขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 ซึ่งเป็นกฎหมายในคดีเดิมที่โจทก์นำมาเป็นมูลในการฟ้องคดีนี้ได้ถูกยกเลิกไปแล้วและมีกฎหมายฉบับใหม่ คือ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 ออกมาใช้บังคับแทน ซึ่งการออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ส่วนกรณีการออกเช็คพิพาทแล้วแลกเงินสดมิใช่เป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 อีกต่อไป ดังนี้ คำเบิกความของจำเลยในคดีนั้นจึงไม่เป็นข้อสำคัญในคดีอันจะเป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ
of 66