คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จองทรัพย์ เที่ยงธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อของผู้ขับขี่ทั้งสองฝ่าย, การแบ่งความรับผิด, และค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
เมื่อขับรถในเวลากลางคืนผู้ขับรถต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวแต่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกของจำเลยที่1บรรทุกรถแทรกเตอร์ซึ่งมีใบมีดจานไถยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกโดยมิได้ติดไฟสัญญาณไว้ที่ปลายใบมีดจานไถทั้งสองข้างเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกอันเป็นกฎหมายที่มีประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422นอกจากนี้บริเวณจุดชนอยู่ในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศที่จำเลยที่4ขับสวนทางมาจึงฟังได้ว่าเหตุเฉี่ยวชนกันเกิดจากการกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ด้วย จำเลยที่4ขับรถโดยสารปรับอากาศด้วยความเร็วสูงเมื่อขับลงเนินความเร็วของรถยนต์จะต้องเพิ่มขึ้นกว่าเดิมขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนเมื่อเห็นมีแสงไฟของรถยนต์ที่สวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องเพิ่มความระมัดระวังให้มากขึ้นโดยลดความเร็วให้ช้าลงแต่จำเลยที่4ยังคงขับรถโดยสารปรับอากาศต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุจึงเป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่4เมื่อเป็นเหตุให้ชนกับรถบรรทุกรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาโดยใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ล้ำออกนอกตัวรถและล้ำเข้าไปในช่องเดินรถโดยสารปรับอากาศและโจทก์ได้รับบาดเจ็บสาหัสจึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์แต่ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามพฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา438ที่ศาลล่างทั้งสองแบ่งส่วนแห่งความรับผิดโดยให้จำเลยที่2รับผิด2ส่วนส่วนจำเลยที่4รับผิด1ส่วนนับว่าถูกต้องและเหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 67/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ความรับผิดร่วมกันของผู้ขับขี่และผู้ประกอบการ การแบ่งความรับผิดตามสัดส่วน
การที่จำเลยที่2ขับรถบรรทุกในเวลากลางคืนบรรทุกรถแทรกเตอร์ใบมีดจานไถของรถแทรกเตอร์ยื่นล้ำออกมานอกตัวรถบรรทุกจำเลยที่2จะต้องติดไฟสัญญาณตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา11,15กฎกระทรวงและข้อกำหนดของกรมตำรวจแต่จำเลยที่2มิได้กระทำเป็นการฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายที่มีความประสงค์จะปกป้องบุคคลอื่นๆต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่2เป็นฝ่ายผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา422 จำเลยที่4ขับรถในเวลากลางคืนลงเนินซึ่งความเร็วของรถต้องเพิ่มขึ้นขณะที่มีแสงไฟของรถแล่นสวนมาเห็นได้ไกลจำเลยที่4จะต้องระวังเพิ่มขึ้นโดยลดความเร็วแต่จำเลยที่4ยังขับต่อไปด้วยความเร็วสูงจนเกิดอุบัติเหตุชนกับใบมีดรถแทรกเตอร์ที่จำเลยที่2ขับมาจึงเป็นความประมาทของจำเลยที่4ด้วย ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดในกรณีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสและทุพพลภาพได้แก่ค่ารักษาพยาบาลค่าขาเทียมค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานทั้งในปัจจุบันและอนาคตตามมาตรา444และค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินตามมาตรา446วรรคหนึ่งได้แก่ค่าที่ต้องทุพพลภาพพิการตลอดชีวิตต้องทรมานร่างกายและจิตใจนอกจากนี้หากทรัพย์สินหายจากการกระทำละเมิดก็มีสิทธิได้รับชดใช้อีกต่างหาก จำเลยที่2และที่4ต่างฝ่ายต่างทำละเมิดโดยมิได้ร่วมกันแต่ละฝ่ายจึงไม่ต้องร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดแก่โจทก์คงรับผิดเฉพาะส่วนของตนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9333/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิดใช้ได้หากไม่มีเจตนาพ้นผิด การลดโทษจำเลยจากพฤติการณ์
คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันหาใช่จะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยเสียทีเดียวไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าด. จำเลยที่1และที่2ให้การซัดทอดจำเลยที่3เพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้นแต่อย่างใดศาลจึงชอบที่จะฟังคำซัดทอดดังกล่าวมาประกอบพยานแวดล้อมและพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9333/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิด: ศาลรับฟังได้หากไม่มีเจตนาพ้นผิด
คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกัน หาใช่จะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยเสียทีเดียวไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่า ด.จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การซัดทอดจำเลยที่ 3 เพื่อให้ตนเองพ้นผิดหรือได้รับประโยชน์จากการซัดทอดนั้นแต่อย่างใด ศาลจึงชอบที่จะฟังคำซัดทอดดังกล่าวมาประกอบพยานแวดล้อมและพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8357/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนที่ดินเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการลดทรัพย์สินลูกหนี้
จำเลยที่ 1 นำโฉนดที่ดินไปมอบแก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่กู้ยืม ย่อมเห็นได้ว่าที่ดินตามโฉนดที่ดินดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ย่อมเป็นหลักประกันว่า เมื่อจำเลยที่ 1 บิดพลิ้วไม่ชำระหนี้โจทก์ก็อาจยึดเอาที่ดินตามโฉนดดังกล่าวออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ได้ และเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นอีก การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินแก่จำเลยที่ 2 ไปก่อนหนี้เงินกู้ยืมถึงกำหนด ย่อมทำให้โจทก์เสียเปรียบและมีเหตุขอให้เพิกถอนได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 237
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการยกให้ที่ดินซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยกให้จำเลยที่ 2 อันทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบโดยมิได้เรียกร้องเอาที่ดินเป็นของโจทก์ แต่ขอให้ที่ดินกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามเดิม ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำหลังมีสัญญาประนีประนอมยอมความ: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายอีก
คดีเดิมเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินที่เช่าเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าทั้งโจทก์สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายไว้ด้วยแต่ต่อมาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยโจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปถึงวันที่31กรกฎาคม2532จำเลยยอมเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์เดือนละ10,000บาทศาลได้พิพากษาตามยอมเมื่อจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพ้นวันที่31กรกฎาคม2532แล้วจำเลยไม่ยอมออกจากทรัพย์สินที่เช่าและไม่ยอมเสียค่าเช่าโจทก์ชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยในคดีก่อนโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีนี้ประเด็นเรื่องฟ้องซ้ำฟ้องซ้อนและดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่จำต้องวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8211/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำหลังผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ต้องใช้สิทธิบังคับคดีในคดีเดิม
คดีเดิมโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินที่เช่าเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว ทั้งโจทก์สงวนสิทธิเรียกค่าเสียหายไว้ด้วย ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยโจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ต่อไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2532 จำเลยยอมเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท ศาลได้พิพากษาตามยอม เมื่อจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความโดยพ้นวันที่ 31 กรกฎาคม 2532แล้วจำเลยไม่ยอมออกจากทรัพย์สินที่เช่าและไม่ยอมเสียค่าเช่าโจทก์ชอบที่จะดำเนินการบังคับคดีเอาแก่จำเลยในคดีก่อนโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายเป็นคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7968-7969/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์และการปลอมเอกสารสิทธิที่เกี่ยวเนื่องกัน ศาลพิจารณาเป็นกรรมเดียว
จำเลยมีหน้าที่จัดเก็บค่าบำรุงสมาชิกและค่าตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำพร้อมทั้งนำเงินดังกล่าวมาฝากธนาคารเข้าบัญชีโจทก์ร่วมในแต่ละวันดังนั้นในแต่ละวันแม้จำเลยจะออกใบเสร็จรับเงินให้แก่สมาชิกไม่ตรงกับจำนวนเงินที่รับจากสมาชิกกี่ฉบับก็ตามแต่การจะตรวจสอบรู้ว่าจำเลยยักยอกเงินไปจำนวนเท่าใดก็ต้องดูจากยอดเงินที่จำเลยนำฝากธนาคารในแต่ละวันว่าขาดหายไปเท่าใดดังนั้นจึงฟังได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานยักยอกในแต่ละวันเพียงกรรมเดียวเท่านั้นเมื่อจำเลยกระทำผิดฐานยักยอก68วันจำเลยจึงมีความผิดฐานยักยอก68กรรมหรือกระทง การปลอมเอกสารสิทธิจำเลยกระทำไปเพื่อปกปิดการกระทำผิดของจำเลยที่ได้ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมไปเป็นการกระทำที่เกี่ยวกับการที่จำเลยยักยอกเงินดังกล่าวโดยมีเจตนาจะใช้เอกสารสิทธิปลอมที่ทำขึ้นเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของโจทก์ร่วมนั่นเองความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิกับความผิดฐานยักยอกจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7925/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335(1) วรรคแรก มีโทษหนักกว่า มาตรา 336 วรรคแรก ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
ป.อ. มาตรา 336 วรรคแรก และมาตรา 335 (1)วรรคแรก เป็นบทกฎหมายที่ระวางโทษขั้นสูงเท่ากัน แต่มาตรา 335 (1)วรรคแรก มีระวางโทษขั้นต่ำไว้ด้วย ความผิดตามมาตรา 335 (1) วรรคแรกจึงมีโทษหนักกว่าความผิดตามมาตรา 336 วรรคแรก ต้องลงโทษตามมาตรา 335 (1) วรรคแรก ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7812/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายแจ้งคำสั่งศาลไปยังทนายโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะไม่ได้ส่งถึงตัวโจทก์โดยตรง ไม่ถือว่าทิ้งฟ้อง
คำว่า"โจทก์"ในคดีแพ่งแม้ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้โดยตรงก็ตามย่อมหมายความว่าผู้ยื่นคำร้องต่อศาลหรือนัยหนึ่งหมายความถึงผู้เป็นคู่ความตามบทวิเคราะห์ศัพท์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1(11)ซึ่งรวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้นๆตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความด้วยฉะนั้นการส่งหมายหรือแจ้งคำสั่งของศาลไปยังตัวโจทก์หรือทนายโจทก์ก็ย่อมมีผลตามกฎหมายเช่นเดียวกันและไม่มีกฎหมายใดบังคับไว้ว่าต้องส่งหมายหรือแจ้งคำสั่งของศาลไปให้ตัวโจทก์เมื่อพนักงานเดินหมายได้นำหมายแจ้งคำสั่งดังกล่าวที่แจ้งถึงการส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้และให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน7วันนับแต่วันทราบไปส่งให้แก่ทนายโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลที่โจทก์ได้แต่งตั้งและให้มีอำนาจดำเนินคดีแทนตามใบแต่งทนายและเป็นคู่ความตามมาตรา1(11)จึงถือว่าเป็นการส่งหมายให้โจทก์ทราบโดยชอบเมื่อโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดจึงถือว่าทิ้งอุทธรณ์ตามมาตรา174(2)ประกอบมาตรา246
of 66