พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5573/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองฎีกาข้อเท็จจริง: ดุลพินิจผู้พิพากษาและแบบวิธีการตามมาตรา 248 วรรคสี่
การรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเป็นดุลพินิจของผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสี่ที่บัญญัติว่าการขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาได้ให้ผู้ยื่นฎีกายื่นคำร้องพร้อมฎีกานั้นเป็นเพียงแบบวิธีการขอให้รับรองดังนี้แม้ผู้ฎีกายังไม่ยื่นคำร้องและฎีกาผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมใช้ดุลพินิจรับรองให้ฎีกาข้อเท็จจริงไว้ในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของผู้ฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและประเด็นดอกเบี้ยที่ไม่ชัดเจน
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทิน จำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้ โดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่า หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ จำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่ เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
ปัญหาที่ว่า ม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ ม. มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 728 เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ โดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 ร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไร และเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249
ปัญหาที่ว่า ม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ ม. มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 728 เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การ และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคแรก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงิน ตาม พ.ร.บ. ดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษ โดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 654 ร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี คำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่า ดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไร และเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ 15 ต่อปี เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5385/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน, จำนอง, ค้ำประกัน: ศาลยืนยึดสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินจำนองตามสัญญา
หนี้ตามสัญญากู้เงินระบุวันครบกำหนดสัญญาไว้ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ตามวันแห่งปฏิทินจำเลยทั้งสามจะอ้างว่ามีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ให้โจทก์เป็นผู้รับเงินค่าซื้อตึกแถวจากผู้ซื้อตึกแถวหักชำระหนี้โดยจำเลยที่1ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยเป็นงวดและไม่มีกำหนดเวลาชำระต้นเงินคืนและนำพยานบุคคลมาสืบตามข้ออ้างดังกล่าวเพื่อที่จะให้ศาลรับฟังว่าหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระจำเลยทั้งสามไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาหาได้ไม่เพราะเป็นการสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข) ปัญหาที่ว่าม. ทนายความได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์แต่โจทก์ไม่มีหนังสือมอบอำนาจที่ให้ม.มีหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728เป็นปัญหาที่จำเลยมิได้ยกต่อสู้ไว้ในคำให้การและมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นปัญหาที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคแรก โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นบริษัทเงินทุนและเป็นสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ของสถาบันการเงินพ.ศ.2523อันจะมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้เป็นพิเศษโดยมีอัตราสูงกว่าที่กำหนดไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา654ร้อยละ15ต่อปีจำเลยทั้งสามให้การในส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยแต่เพียงว่าดอกเบี้ยที่โจทก์ฟ้องร้องสูงกว่ากฎหมายกำหนดไว้ซึ่งจำเลยที่1เห็นว่าไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีคำให้การของจำเลยทั้งสามดังกล่าวไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกร้องสูงกว่ากฎหมายอะไรและเพราะเหตุใดจึงไม่ควรเกินร้อยละ15ต่อปีเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์คิดดอกเบี้ยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่พบผู้รับที่สำนักงานทนาย
พนักงานเดินหมายนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปส่งให้แก่ทนายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ณ สำนักทำการงานของทนายจำเลยที่ 3 และที่ 4 แล้ว แต่ไม่พบตัวทนายความและไม่มีผู้รับหมายไว้แทน โดยปรากฏว่าสำนักงานถูกปิดไว้และใส่กุญแจ พนักงานเดินหมายจึงปิดหมายนัดไว้ตามคำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อปรากฏว่าสำนักทำการงานที่ทนายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำงานอยู่นั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นนานแล้ว ก่อนพนักงานเดินหมายนำหมายนัดไปปิดไว้ เช่นนี้จึงฟังไม่ได้ว่าได้ส่งหมายนัด ณ สำนักทำการงานของทนายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งหมายนัดแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยตรงแต่อย่างใด การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทราบนัดของศาลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5058/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยไม่ทราบถึงการนัด ทำให้มีสิทธิยื่นฎีกาได้
พนักงานเดินหมายนำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นไปส่งให้แก่ทนายจำเลยที่3และที่4ณสำนักทำการงานของทนายจำเลยที่3และที่4แล้วแต่ไม่พบตัวทนายความและไม่มีผู้รับหมายไว้แทนโดยปรากฏว่าสำนักงานถูกปิดไว้และใส่กุญแจพนักงานเดินหมายจึงปิดหมายนัดไว้ตามคำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อปรากฏว่าสำนักงานที่ทนายจำเลยที่3และที่4ทำงานอยู่นั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นนานแล้วก่อนพนักงานเดินหมายนำหมายนัดไปปิดไว้เช่นนี้จึงฟังไม่ได้ว่าได้ส่งหมายนัดณสำนักทำการงานของทนายจำเลยที่3และที่4ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการส่งหมายนัดแก่จำเลยที่3และที่4โดยตรงแต่อย่างใดการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงยังไม่ชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าจำเลยที่3และที่4ทราบนัดของศาลแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้ออ้างใหม่ในฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จำเลยที่1ฎีกาว่าจำเลยที่2สั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์เป็นการส่วนตัวมิได้รับมอบหมายจากจำเลยที่1จำเลยที่1จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าน้ำมันให้แก่โจทก์โดยยกเหตุผลที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ข้ออ้างดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้ออ้างใหม่ในฎีกา: ห้ามฎีกาเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 สั่งซื้อน้ำมันจากโจทก์เป็นการส่วนตัวมิได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระค่าน้ำมันให้แก่โจทก์ โดยยกเหตุผลที่มิได้ให้การต่อสู้ไว้ ข้ออ้างดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีรื้อถอนสิ่งกีดขวางลำน้ำสาธารณะ: โจทก์ต้องเสียหายเป็นพิเศษหรือไม่
จำเลยให้การว่า ลำบางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะและนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้จำเลยที่ 2 เช่า จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิทำคันดินปิดกั้นในที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 มิใช่ลำบางสาธารณะการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเอง ครั้งคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทเป็นลำบางสาธารณะฉะนั้นจึงต้องวินิจฉัยปัญหาต่อไปอีกว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่ทำการปิดกั้นลำบางพิพาทหรือไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ยุติ และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคู่ความได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องไว้แล้วและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้เสร็จไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ โจทก์มีอาชีพค้าขาย ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นเลย และลำบางพิพาทอยู่ห่างบ้านโจทก์ถึง 5 เส้นเศษ โจทก์เพียงแต่เคยใช้เรือผ่านลำบางพิพาทเฉพาะฤดูที่มีน้ำหลาก และทำการจับกุ้งบางครั้งบางคราวตั้งแต่ปี 2516 ต่อมาปรากฎว่าลำบางตื้นเขินเนื่องจากจำเลยมาปิดเส้นทาง โจทก์ก็ไม่ได้ใช้ลำบางพิพาทอีกเลย การที่จำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นลำบางพิพาทแม้จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ในการที่ประสงค์จะใช้ลำบางพิพาทในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ฉะนั้นแม้จำเลยทั้งสองปิดกั้นลำบางพิพาทซึ่งเป็นลำบางสาธารณะก็เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองของรัฐ ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสอง โจทก์หามีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปิดกั้นออกไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดปิดกั้นลำน้ำสาธารณะ: โจทก์ต้องมีเสียหายเป็นพิเศษและมีสิทธิโดยตรง
จำเลยให้การว่า ลำบางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ และนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้จำเลยที่ 2เช่า จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิทำคันดินปิดกั้นในที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 มิใช่ลำบางสาธารณะการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั่นเอง ครั้นคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทเป็นลำบางสาธารณะ ฉะนั้นจึงต้องวินิจฉัยปัญหาต่อไปอีกว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่ทำการปิดกั้นลำบางพิพาทหรือไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ยุติ และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคู่ความได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องไว้แล้วและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้เสร็จไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
โจทก์มีอาชีพค้าขาย ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นเลย และลำบางพิพาทอยู่ห่างบ้านโจทก์ถึง 5 เส้นเศษ โจทก์เพียงแต่เคยใช้เรือผ่านลำบางพิพาทเฉพาะฤดูที่มีน้ำหลากและทำการจับกุ้งบางครั้งบางคราวตั้งแต่ปี 2516 ต่อมาปรากฏว่าลำบางตื้นเขินเนื่องจากจำเลยมาปิดเส้นทาง โจทก์ก็ไม่ได้ใช้ลำบางพิพาทอีกเลย การที่จำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นลำบางพิพาท แม้จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ในการที่ประสงค์จะใช้ลำบางพิพาทในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ฉะนั้นแม้จำเลยทั้งสองปิดกั้นลำบางพิพาทซึ่งเป็นลำบางสาธารณะก็เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองของรัฐ ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสอง โจทก์หามีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปิดกั้นออกไปไม่
โจทก์มีอาชีพค้าขาย ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นเลย และลำบางพิพาทอยู่ห่างบ้านโจทก์ถึง 5 เส้นเศษ โจทก์เพียงแต่เคยใช้เรือผ่านลำบางพิพาทเฉพาะฤดูที่มีน้ำหลากและทำการจับกุ้งบางครั้งบางคราวตั้งแต่ปี 2516 ต่อมาปรากฏว่าลำบางตื้นเขินเนื่องจากจำเลยมาปิดเส้นทาง โจทก์ก็ไม่ได้ใช้ลำบางพิพาทอีกเลย การที่จำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นลำบางพิพาท แม้จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ในการที่ประสงค์จะใช้ลำบางพิพาทในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ฉะนั้นแม้จำเลยทั้งสองปิดกั้นลำบางพิพาทซึ่งเป็นลำบางสาธารณะก็เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองของรัฐ ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสอง โจทก์หามีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปิดกั้นออกไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการเบิกความเท็จ: การวินิจฉัยว่าคำเบิกความเป็นรายละเอียดไม่สำคัญ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องเรื่องละเมิดว่า จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์เป็นจำเลยให้รับผิดชำระหนี้ตามเช็ค จำเลยที่ 2 และที่ 3เบิกความเท็จ และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 3เบิกความเท็จ เป็นเหตุให้ศาลเชื่อว่าโจทก์เป็นผู้สลักหลังเช็คและพิพากษาให้โจทก์รับผิดชำระหนี้ตามเช็ค ทำให้โจทก์เสียหายจำเลยทั้งสามต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าเมื่อฟังว่าโจทก์เป็นผู้สลักหลังเช็คโจทก์ต้องรับผิดชำระหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 วรรคแรก ,901 ส่วนที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เบิกความว่าโจทก์นำเช็คมาให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงรายละเอียดไม่เป็นข้อสำคัญในคดีแม้เป็นความเท็จ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จอันจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 หยิบยกมาตรา 900 วรรคแรก,901 ขึ้นมาวินิจฉัยคดีก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าแม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่าที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เบิกความว่า โจทก์นำเช็คพิพาทมาให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นความเท็จ คำเบิกความดังกล่าวก็เป็นเพียงรายละเอียดไม่เป็นข้อสำคัญในคดี จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีความผิดฐานเบิกความเท็จไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ จำเลยที่ 1ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วยเป็นการวินิจฉัยในเรื่องละเมิดตามอุทธรณ์ของโจทก์ ไม่ใช่เป็นการนำตัวบทกฎหมายในเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับประเด็นมาวินิจฉัย