พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการชดใช้ค่าเสียหายจากการละเมิดสิทธิของเจ้าหนี้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์จากการจ่ายเงินให้จำเลยที่ 4
จำเลยที่1ทำสัญญาจ้างจำเลยที่4ก่อสร้างอาคารและจำเลยที่4ทำสัญญากู้เงินโจทก์โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่4โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์และโจทก์กับจำเลยที่4มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่2และที่3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้างจึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่4ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคหนึ่งและมาตรา306บัญญัติไว้แล้วสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่4ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้นส่วนจำเลยที่4ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไปจำเลยที่1จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่4เมื่อจำเลยที่2และที่3ได้ขออนุมติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่4และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที1ที่2และที่3ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้างและการละเมิดสิทธิของโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างจำเลยที่ 4 ก่อสร้างอาคาร และจำเลยที่ 4 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ โดยมีข้อความในสัญญากู้ด้วยว่า จำเลยที่ 4โอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินค่าก่อสร้างตามสัญญาให้แก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 4 โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ และโจทก์กับจำเลยที่ 4 มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งมายังจำเลยที่ 2 และที่ 3ผู้มีหน้าที่จะต้องเบิกจ่ายเงินค่าจ้าง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 4 ได้ปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ.มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306บัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 4 ในการรับเงินค่าจ้างก่อสร้างจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น ส่วนจำเลยที่ 4 ย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินจำนวนดังกล่าวอีกต่อไป จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าจ้างแก่จำเลยที่ 4เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ขออนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อจ่ายค่าจ้างให้แก่จำเลยที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติให้จ่ายได้ จึงเป็นการละเมิดต่อสิทธิของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายเสาเข็มและการชดใช้ค่าเสียหายจากการตอกเสาเข็มผิดพลาด
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาค่าเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์รวม 2 ขนาด จำนวน 14 ต้น จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมิใช่เสาเข็มที่โจทก์ฟ้องพร้อมกับจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั้นด้วย แต่โจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อดังกล่าวผิดตำแหน่งที่กำหนดไป 10 ต้น เป็นเพราะความผิดของโจทก์ โจทก์และจำเลยจึงตกลงกันให้จำเลยสั่งเสาเข็มมาตอกให้ใหม่โดยไม่ต้องชำระราคาและค่าตอกเสาเข็มอีก เสาเข็มจำนวน10 ต้น ที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องเป็นเสาที่ส่งมาทดแทนการตอกผิดพลาดของโจทก์รวมกับที่จำเลยสั่งมาใหม่อีก 4 ต้น จำเลยชำระค่าเสาเข็มและค่าตอกไปเกินกว่าราคาที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ และเสาเข็มที่โจทก์ตอกนั้นหักและเอียงจากแนวตั้งฉาก 29 ต้น จำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ไขแต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยจึงต้องจ้างให้ผู้อื่นมาดำเนินการต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อใหม่ 4 ต้น โจทก์ก็ไม่ยอมยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อส่งมอบตามสัญญาจำเลยต้องจ้างผู้อื่นมาดำเนินการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เมื่อหักกลบลบกันโจทก์ต้องชำระเงินแก่จำเลย จึงขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์ และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยพร้อมทั้งดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่ามูลคดีที่โจทก์ฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งเกิดจากสัญญาซื้อขายเสาเข็ม แม้ตามฟ้องแย้งจะได้กล่าวถึงสัญญาจ้างตอกเสาเข็มด้วย แต่เสาเข็มตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องก็เป็นส่วนหนึ่งของเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั่นเอง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องชำระค่าเสาเข็มจำนวน 10 ต้น นั้น เนื่องจากเป็นเสาเข็มที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในการตอกเสาเข็มที่ผิดจากตำแหน่งที่กำหนดให้ เป็นเสาเข็มที่โจทก์ส่งมาทดแทน ส่วนอีก 4 ต้น ที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมก็เกี่ยวเนื่องกับการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาดจึงต้องตอกเสาเข็มเพิ่มขึ้น และเมื่อนำมาส่งแล้วโจทก์ไม่ยอมยกลงมาจากรถยนต์ที่บรรทุกมาอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมมิใช่เรื่องอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม สัญญาซื้อขายเสาเข็ม การตอกเสาเข็มผิดพลาด และการชำระค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระราคาค่าเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์รวม2ขนาดจำนวน14ต้นจำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยสั่งซื้อเสาเข็มจากโจทก์อีกจำนวนหนึ่งซึ่งมิใช่เสาเข็มที่โจทก์ฟ้องพร้อมกับจ้างโจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั้นด้วยแต่โจทก์ตอกเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อดังกล่าวผิดตำแหน่งที่กำหนดไป10ต้นเป็นเพราะความผิดของโจทก์โจทก์และจำเลยจึงตกลงกันให้จำเลยสั่งเสาเข็มมาตอกให้ใหม่โดยไม่ต้องชำระราคาและค่าตอกเสาเข็มอีกเสาเข็มจำนวน10ต้นที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องเป็นเสาที่ส่งมาทดแทนการตอกผิดพลาดของโจทก์รวมกับที่จำเลยสั่งมาใหม่อีก4ต้นจำเลยชำระค่าเสาเข็มและค่าตอกไปเกินกว่าราคาที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์และเสาเข็มที่โจทก์ตอกนั้นหักและเอียงจากแนวตั้งฉาก29ต้นจำเลยแจ้งให้โจทก์แก้ไขแต่โจทก์เพิกเฉยจำเลยจึงต้องจ้างให้ผู้อื่นมาดำเนินการต้องเสียค่าใช้จ่ายรวมทั้งเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อใหม่4ต้นโจทก์ก็ไม่ยอมยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อส่งมอบตามสัญญาจำเลยต้องจ้างผู้อื่นมาดำเนินการทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเมื่อหักกลบลบกันโจทก์ต้องชำระเงินแก่จำเลยจึงขอให้พิพากษายกฟ้องโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยพร้อมทั้งดอกเบี้ยจะเห็นได้ว่ามูลคดีที่โจทก์ฟ้องและที่จำเลยฟ้องแย้งเกิดจากสัญญาซื้อขายเสาเข็มแม้ตามฟ้องแย้งจะได้กล่าวถึงสัญญาจ้างตอกเสาเข็มด้วยแต่เสาเข็มตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องก็เป็นส่วนหนึ่งของเสาเข็มที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์นั่นเองเมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่ต้องชำระค่าเสาเข็มจำนวน10ต้นนั้นเนื่องจากเป็นเสาเข็มที่โจทก์จะต้องรับผิดชอบในการตอกเสาเข็มที่ผิดจากตำแหน่งที่กำหนดให้เป็นเสาเข็มที่โจทก์ส่งมาทดแทนส่วนอีก4ต้นที่จำเลยสั่งซื้อเพิ่มเติมก็เกี่ยวเนื่องกับการตอกเสาเข็มที่ผิดพลาดจึงต้องตอกเสาเข็มเพิ่มขึ้นและเมื่อนำมาส่งแล้วโจทก์ไม่ยอมยกลงมาจากรถยนต์ที่บรรทุกมาอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายจึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมมิใช่เรื่องอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9736/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาคดีประธานต่อคำสั่งอายัดชั่วคราวเมื่อมีการบังคับคดี
เมื่อกรณีที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษาและข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคดีประธานได้ถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีได้ขอหมายบังคับคดีแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) แล้วคำสั่งศาลที่ให้อายัดชั่วคราวซึ่งมีผลต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมสิ้นผล หลังจากนั้นย่อมเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ผู้คัดค้านโดยไม่วินิจฉัยว่าผู้คัดค้านต้องส่งเงินต่อศาลชั้นต้นตามหมายอายัดชั่วคราวหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9676/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารประกอบคำถามค้านพยาน vs. การสืบพยานหลักฐานของจำเลย & การได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์
การที่ทนายความจำเลยนำสัญญาเช่ามาใช้ในการถามค้านโจทก์ ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยาน โจทก์รับว่าสามีของโจทก์ทำสัญญาเช่า ที่พิพาทจากจำเลยตามสัญญาดังกล่าว จึงชอบที่ศาลจะนำสัญญาเช่า มาประกอบการวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เพราะเป็นเอกสารประกอบคำถามค้าน หาใช่เป็นกรณีจำเลยเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบในคดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9676/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารประกอบคำถามค้านพยานโจทก์ของจำเลยขาดนัด ไม่ถือเป็นการสืบพยานหลักฐาน
คดีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธินำพยานของจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 199 วรรคสอง แต่การที่ทนายความจำเลยนำสัญญาเช่ามาใช้ในการถามค้านโจทก์ซึ่งอ้างตนเองเป็นพยานโจทก์รับว่าสามีของโจทก์ทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากจำเลยตามสัญญาเช่าดังกล่าวหลังจากจำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ประมาณ 5 ถึง 6 ปีแล้ว ศาลจึงนำสัญญาเช่าดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์ได้ เพราะเป็นเอกสารประกอบคำถามค้าน หาใช่เป็นกรณีจำเลยเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบอันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานวัตถุ (แถบบันทึกเสียง) ต้องนำสืบโดยให้คู่ความฝ่ายตรงข้ามมีโอกาสตรวจสอบเพื่อรับรองหรือปฏิเสธ หากไม่ทำ ศาลไม่รับฟังเป็นหลักฐาน
แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุที่จำเลยทำขึ้นแต่เพียงฝ่ายเดียว การที่จะให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามที่จำเลยนำสืบก็น่าจะได้นำเข้าถามค้านพยานโจทก์โดยเปิดเสียงเพื่อให้พยานโจทก์ที่จำเลยอ้างว่าได้บันทึกเสียงไว้ รับรองหรือปฏิเสธเสียงหรือข้อความนั้น เมื่อพยานโจทก์นั้นไม่ได้ฟังข้อความในแถบบันทึกเสียงและไม่ได้ยอมรับคำถอดข้อความที่จำเลยอ้าง แม้แถบบันทึกเสียงจะมีข้อความดังคำถอดข้อความก็ตาม ก็ไม่พอฟังเป็นยุติตามนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7155/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน การบอกเลิกสัญญา การผิดสัญญา และการลดเบี้ยปรับ
แถบบันทึกเสียงเป็นพยานวัตถุ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องถอดข้อความหรือจะต้องนำเข้าถามค้านพยานอีกฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงว่าพยานได้กล่าวถ้อยคำเช่นที่บันทึกในแถบบันทึกเสียงหรือไม่ แต่การที่จะให้ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงที่จำเลยประสงค์จะนำสืบก็ชอบที่จะถามค้านพยานโจทก์ไว้แม้จำเลยจะอ้างส่งประกอบคำเบิกความของพยานจำเลยและเมื่อเปิดฟังแถบบันทึกเสียงนั้นแล้ว จะมีข้อความตรงตามคำถอดข้อความจากแถบบันทึกเสียงก็ยังไม่พอฟังเป็นยุติได้เพราะการบันทึกเสียงในแถบบันทึกเสียงอาจมีการตัดต่อหรือดัดแปลงลอกเลียนเสียงได้ไม่ยากนัก สัญญาตกลงจ้างและผู้รับจ้างตกลงรับจ้างร้องเพลงบันทึกเสียงเพื่อการค้าโดยทำเพลงอย่างน้อยปีละ 1 ชุด และสัญญามีอายุ3 ปี เป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ผู้รับจ้างจะมีรายได้เป็นรายปีเริ่มตั้งแต่ปีแรก ส่วนการกำหนดวิธีการที่จะทำให้มีรายได้เป็นเรื่องที่ฝ่ายผู้ว่าจ้างจะต้องเป็นผู้ดำเนินการเมื่อไม่ดำเนินการก็ถือว่าเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และสัญญาดังกล่าวเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 การบอกเลิกสัญญาจึงไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์แสดงภาพยนตร์ก่อนที่จะบอกเลิกสัญญากับจำเลยการแสดงภาพยนตร์โจทก์สามารถกระทำได้เพราะไม่มีข้อห้ามของสัญญา แต่การที่โจทก์ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เป็นข้อห้ามของสัญญาและกำหนดเบี้ยปรับไว้ด้วย โจทก์จึงต้องรับผิดต่อจำเลย เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนศาลฎีกาเห็นสมควรลดเบี้ยปรับลงได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 เมื่อจำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ส่วนโจทก์ต้องชดใช้เบี้ยปรับให้จำเลยเพื่อความสะดวกในการบังคับคดีศาลฎีกาจึงหักหนี้กันโดยให้มีผลนับแต่วันฟ้อง