พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยืมเงินเพื่อประโยชน์ราชการ ไม่เป็นผู้ยืมตาม ป.พ.พ. ทำให้หนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีผล
โจทก์ยืมเงินจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามหน้าที่ในฐานะหัวหน้าส่วนราชการและเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการเท่านั้นหาใช่ทำในฐานะส่วนตัวไม่ การคืนเงินยืมดังกล่าวก็เพียงแต่นำใบสำคัญที่คณะกรรมการจ่ายเงินได้จ่ายไปนำไปเบิกจากงบประมาณแผ่นดิน แล้วนำไปชำระแก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด หาจำต้องนำเงินส่วนตัวมาชำระคืนไม่ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ยืมตาม ป.พ.พ.มาตรา 650 เมื่อโจทก์ไม่ใช่ผู้ยืมเงิน โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีหนี้ต่อกัน หนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์จึงไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองเด็ก: การกระทำชำเราเด็กที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่บิดามารดายังมีอำนาจปกครอง
บิดามารดาทอดทิ้งผู้เสียหายไปโดยไม่ทราบว่าบิดามารดาผู้เสียหายไปอยู่ที่แห่งใดส่วนจำเลยและภรรยาเป็นเพียงผู้รับผู้เสียหายมาอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาอำนาจปกครองผู้เสียหายจึงยังตกอยู่แก่บิดามารดาผู้เสียหายผู้เสียหายไม่ได้อยู่ในความปกครองของจำเลยและภรรยาการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจะปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา285ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพรางสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน แม้มีสัญญาให้ที่ดินเป็นหลักฐาน โจทก์นำสืบได้ว่าเป็นการแลกเปลี่ยน
แม้นิติกรรมที่โจทก์ทำกับจำเลยระบุว่าเป็นสัญญาให้โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าความจริงเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินกันไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94เพราะเป็นการนำสืบว่าสัญญาให้นั้นเป็นนิติกรรมอำพรางต้องบังคับตามสัญญาที่แท้จริงคือสัญญาแลกเปลี่ยนเมื่อโจทก์โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยต้องโอนที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานไม่เพียงพอและขัดแย้งกัน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องคดีจำหน่ายกัญชา
คดีนี้โจทก์ไม่ได้นำตัวสายสืบที่ทำการล่อซื้อกัญชาของกลางมาเป็นพยานคงมีแต่พยานผู้จับกุมจำนวน2ปากแต่พยานทั้งสองปากนี้เบิกความเป็นพิรุธขัดต่อเหตุผลแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญแม้จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนไว้ก็ตามอีกทั้งจำเลยยังบอกถึงที่ซ่อนของกัญชาอีกส่วนหนึ่งถ้ากัญชาดังกล่าวเป็นของจำเลยจริงจำเลยก็คงไม่บอกให้พยานโจทก์ทราบเพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้กระทำผิดทั่วไปประกอบกับกัญชาอยู่ห่างกระท่อมของจำเลยถึง500เมตรจึงเป็นเหตุพิรุธสงสัยไม่น่าเชื่อว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยสมัครใจส่วนกัญชาที่ค้นพบก็ยังมีเหตุสงสัยไม่น่าเชื่อเช่นกันว่าเป็นของจำเลยต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: ธนาคารมีสิทธิปรับดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท. โดยไม่ต้องขอความยินยอมผู้กู้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากตามประเพณีการค้าซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรตก็ดีหรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานหรืออัตราสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่างๆก็ดีผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอำนาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควรตามดุลพินิจของผู้ให้กู้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อนแต่หลังจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้วผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบโดยด่วนตามสัญญานี้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ก่อนแม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ12.5ต่อปีโจทก์ก็มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเกินร้อยละ12.5ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิธนาคารในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย แม้มีข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยเดิม
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า หากตามประเพณีการค้า ซึ่งธนาคารปฏิบัติกันโดยมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไพรม์เรตก็ดี หรือหากมีกฎหมายหรือประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานหรืออัตราสูงสุดสำหรับเงินกู้ประเภทต่าง ๆ ก็ดี ผู้กู้ยอมให้ผู้ให้กู้มีอนำาจที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยตามสัญญานี้ได้ตามสมควร ตามดุลพินิจของผู้ให้กู้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้กู้ก่อน แต่หลังจากเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว ผู้ให้กู้จะต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบโดยด่วน ตามสัญญานี้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิปรับดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กู้ก่อน แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจะได้ตกลงเรื่องอัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีร้อยละ 12.5 ต่อปี โจทก์ก็มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นเกินร้อยละ 12.5 ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่ว่าจำเลยกู้ยืมเพื่อใช้ในการอุตสาหกรรมหรือไม่เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 562/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การโต้แย้งดุลพินิจศาลในประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับของกลาง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ปรับ 5,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี และไม่ริบรถยนต์ของกลาง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เฉพาะของกลางเป็นให้ริบ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งฉะนั้น ที่จำเลยฎีกาขอให้ไม่ริบรถยนต์ขอวงกลางเนื่องจากไม้ที่จำเลยรับไว้มีปริมาตรน้อย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงจึงต้องห้าม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา288ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้องโจทก์และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการฟ้องคดีอาญาในชั้นฎีกาเนื่องจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้น
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 288 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 434-455/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม + การครอบครองปรปักษ์ = ที่ดินไม่ตกเป็นของโจทก์
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมีปัญหาว่าเป็นที่ดินของโจทก์หรือของจำเลยนายอำเภอท้องที่ได้เรียกจำเลยไปพบและได้ทำบันทึกว่าได้เรียกบุคคลที่ปลูกเรือนอยู่ในบริเวณที่ดินของโจทก์มาตกลงกันและจำเลยยอมคืนที่ดินที่ครอบครองแก่โจทก์แต่ต่อมาจำเลยก็ร้องเรียนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดท้องที่คัดค้านและขอความเป็นธรรมที่ถูกกล่าวหาว่าเข้าไปอยู่ในที่ดินโจทก์แม้จำเลยบางคนยอมทำสัญญาเช่ากับทางอำเภอแต่เห็นได้ว่าจำเลยดังกล่าวตกลงไปโดยเข้าใจผิดว่าที่ดินเป็นของโจทก์จึงเป็นการสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาเช่าตกเป็น โมฆะ ตรงกันข้ามจำเลยดังกล่าวได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินตลอดมาโดยภายหลังจำเลยบางคนได้ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก็ไม่ปรากฎว่าฝ่ายโจทก์ได้โต้แย้งคัดค้านแต่อย่างใดที่ดินพิพาทจึงไม่ตกเป็นของโจทก์