พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินจากการหย่าและการโอนสิทธิในที่ดินหลังการหย่า ไม่ถือเป็นการฉ้อฉลหรือทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
บันทึกข้อตกลงต่อท้ายทะเบียนการหย่าซึ่งระบุว่าจำเลยที่1ในฐานะภริยายกที่พิพาทให้แก่ ม. ซึ่งเป็นสามีเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1532และเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนให้ประชาชนได้ตรวจดูและอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้จึงเป็นเอกสารมหาชนต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา127ว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องเมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงรับฟังได้ว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้วที่พิพาทจึงตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าการที่จำเลยที่1จดทะเบียนโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นทายาทของ ม. ในภายหลังมีผลเป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงหาใช่เป็นการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินอันจะเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบและขอเพิกถอนตามมาตรา237ไม่แม้จำเลยที่1ที่3มิได้ฎีกาแต่เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จึงให้จำเลยที่1ที่3ได้รับผลจากคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทะเบียนหย่าและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นเอกสารมหาชน การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิไม่ใช่การโอนทรัพย์สิน
ทะเบียนการหย่าและบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และให้ประชาชนตรวจดูอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสาร-มหาชน
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานผลิตและครอบครองเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย ความร่วมมือทางอาญา และการลดโทษสำหรับผู้กระทำผิดอายุไม่เกิน 17 ปี
จำเลยที่2เป็นภริยาของจำเลยที่3พักอาศัยอยู่บ้านเดียวกันกับจำเลยที่1และที่3ในลักษณะถาวรมิใช่ไปๆมาๆจำเลยที่2ได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากับจำเลยที่3ก่อนเกิดเหตุประมาณ2เดือนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่3ประกอบอาชีพอื่นอันจะมีรายได้มาเลี้ยงดูจำเลยที่2ได้จำเลยที่2ย่อมรู้ถึงพฤติกรรมของจำเลยที่3เป็นอย่างดีหากไม่มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่1และที่3แล้วก็ไม่น่าอยู่ร่วมบ้านเดียวกันกับจำเลยที่1และที่3เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่2ได้ขณะถือถุงกระดาษบรรจุเฮโรอีน100หลอดนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยที่1ขับเพื่อนำไปส่งให้สายลับที่ล่อซื้อกับค้นพบเฮโรอีนอีก135หลอดถุงพลาสติกเปล่าตราสิงโตคู่เกาะลูกโลกซึ่งมีคราบเฮโรอีนติดอยู่2ใบและหลอดพลาสติกเปล่า462หลอดซึ่งเป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับบรรจุเฮโรอีนซุกซ่อนอยู่ใต้เตียงนอนของจำเลยที่1ภายในบ้านหลังนี้ด้วยในชั้นตรวจค้นจับกุมจำเลยที่2มิได้โต้เถียงว่าตนมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องกับเฮโรอีนของกลางแต่อย่างใดดังนี้ฟังได้ว่าจำเลยที่2ร่วมกับจำเลยที่1และที่3ผลิตเฮโรอีนของกลางเพื่อจำหน่ายและมีเฮโรอีนของกลางซึ่งมีจำนวนเกิน100กรัมไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เฮโรอีนที่จำเลยที่2ร่วมกันผลิตเพื่อจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยที่2จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามมาตรา91ไม่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความจะมิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้อีกทั้งเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่1และที่3ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ได้มาจากการสอบสวนฝ่ายเดียวมีน้ำหนักน้อย ต้องมีพยานหลักฐานอื่นประกอบจึงจะลงโทษจำเลยได้
คำให้การรับสารภาพของจำเลยใน ชั้นสอบสวนเป็น พยานบอกเล่าพนักงานสอบสวนดำเนินการไปฝ่ายเดียวโดยฝ่ายจำเลยไม่มีโอกาสโต้แย้งคัดค้านแม้ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้รับฟังแต่ก็ มีน้ำหนักน้อยโจทก์จะต้องมีพยานอื่นมาสืบประกอบจึงจะมีน้ำหนักเพียงพอลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกและการพิพากษาคดีที่เกี่ยวข้องกัน
การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้าของมรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของเจ้าของมรดกส่วนโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกนั้นเป็นการร้องสอดเพราะจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่แม้ท้ายคำร้องระบุว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผิดหลงก็ถือได้ว่าเป็นการร้องขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา57(1)และคำร้องขอดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัวประกอบกับผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไรเพียงแต่ขอให้ยกฟ้องจึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอดอีก คดีก่อนโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกคดีนี้พิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกคดีทั้งสองเรื่องเกี่ยวข้องกันแต่มิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา11(5)หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 43/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของผู้ร้องสอดที่เป็นบุตรเจ้ามรดก และผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อน
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความอ้างว่าผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกจึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งถึงแก่ความตายโดยมิได้ทำพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินไว้ ส่วนโจทก์ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความจึงเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ แม้ท้ายคำร้องระบุว่าขอเข้าเป็นจำเลยร่วมโดยผิดหลงก็ถือได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่มีอยู่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) หาใช่เป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (2) ไม่
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดมีอยู่อันมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัว และเมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไร เพียงแต่ขอให้ยกฟ้องเท่านั้น จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอด ตามมาตรา172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3) อีก
ก่อนคดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก ผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคู่ความรายเดียวกันกับคดีนี้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก โจทก์จะโต้แย้งว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นบุตรของเจ้ามรดกหาได้ไม่
แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คนหนึ่งที่พิพากษาคดีนี้เคยพิพากษาคดีแพ่งในศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้พิพากษาคนนั้นพิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์หาเป็นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) ไม่ เพราะคดีดังกล่าวโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่คดีนี้โจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก คดีทั้งสองเรื่องเพียงแต่เกี่ยวข้องกันมิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามมาตรา 11 (5) หาได้ไม่
คำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิที่ผู้ร้องสอดมีอยู่อันมีลักษณะเป็นคำขอบังคับอยู่ในตัว และเมื่อผู้ร้องสอดไม่ได้เรียกร้องอะไร เพียงแต่ขอให้ยกฟ้องเท่านั้น จึงไม่จำต้องมีคำขอบังคับโดยแจ้งชัดในคำร้องสอด ตามมาตรา172 วรรคสอง ประกอบมาตรา 1 (3) อีก
ก่อนคดีนี้โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ต่อมาผู้ร้องสอดยื่นคำคัดค้านว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก ผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์มิใช่ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก ขอให้มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดกผู้ร้องสอดจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับผู้สืบสันดานมีสิทธิรับมรดก ส่วนโจทก์เป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก เป็นทายาทในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิรับมรดก โจทก์จึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก มีคำสั่งเพิกถอนโจทก์จากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องสอดเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์และผู้ร้องสอดเป็นคู่ความรายเดียวกันกับคดีนี้ คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องสอดซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อศาลในคดีก่อนฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องสอดเป็นบุตรของเจ้ามรดก โจทก์จะโต้แย้งว่าผู้ร้องสอดมิได้เป็นบุตรของเจ้ามรดกหาได้ไม่
แม้ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์คนหนึ่งที่พิพากษาคดีนี้เคยพิพากษาคดีแพ่งในศาลชั้นต้น ซึ่งโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดก การที่ผู้พิพากษาคนนั้นพิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์หาเป็นฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 11 (5) ไม่ เพราะคดีดังกล่าวโจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องขอตั้งผู้จัดการมรดก แต่คดีนี้โจทก์กับผู้ร้องสอดพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก คดีทั้งสองเรื่องเพียงแต่เกี่ยวข้องกันมิใช่คดีเดียวกันโจทก์จะยกขึ้นมาเป็นเหตุคัดค้านผู้พิพากษาที่พิพากษาคดีนี้ในชั้นอุทธรณ์ตามมาตรา 11 (5) หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7519/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บังคับคดีแบ่งมรดก: แม้จดทะเบียนรับโอนแล้ว ยังมีสิทธิขอให้ขายทอดตลาดได้หากแบ่งไม่ได้
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งมรดกส่วนของ ม. ตามโฉนดตราจองที่ดินและบ้านซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินแก่โจทก์หนึ่งในแปดส่วน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยในชั้นบังคับคดีแม้โจทก์จะได้ไปจดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินพิพาทใส่ชื่อโจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินส่วนของ ม. หนึ่งในแปดส่วนแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการบังคับคดีส่วนหนึ่งของการบังคับตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้น โจทก์จึงยังมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่บังคับให้จำเลยแบ่งตัวทรัพย์มรดกได้ เมื่อโจทก์จำเลยแถลงร่วมกันว่าไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินและบ้านพิพาทได้ทั้งสภาพของตัวทรัพย์ก็ไม่อาจที่จะแบ่งกันเช่นนี้โจทก์ก็ชอบที่จะให้นำที่ดินและบ้านออกประมูลกันระหว่างทายาท หรือนำออกขายทอดตลาดได้แต่การที่จะให้ประมูลกันระหว่างทายาทก็น่าจะเป็นปัญหาได้เพราะทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียมิได้เข้ามาในคดีทุกคน ดังนั้นสมควรให้นำที่ดินและบ้านออกขายทอดตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7461/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเดินทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกแบ่งแยกและไม่มีทางออกสู่สาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์และที่ดินจำเลยอยู่ติดกันและแบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเดียวกัน โจทก์ใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยออกสู่ถนนมาเป็นเวลา 10 ปีเศษ บ้านและที่ดินโจทก์อยู่ในวงล้อมของที่ดินบุคคลอื่นไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์มีทางออกสู่ถนนสาธารณะต้องผ่านที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางจำเป็นหรือภารจำยอมคำฟ้องของโจทก์ระบุถึงสิทธิของโจทก์ว่า มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมบนที่ดินจำเลย จากที่ดินโจทก์เพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ และในคำขอท้ายฟ้องก็ระบุให้จำเลยเปิดทางพิพาทให้โจทก์ใช้ได้อย่างเดิม ฟ้องโจทก์บรรยายไว้ครบทั้งเรื่องทางจำเป็นและทางภารจำยอมโดยไม่ขัดกัน ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภารจำยอมแล้ววินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น การแบ่งแยกหรือแบ่งโอนทำให้ที่ดินโจทก์ซึ่งแบ่งออกมาไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินซึ่งเป็นทางจำเป็นบนที่ดินจำเลยซึ่งเป็นแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกสู่ทางสาธารณะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7461/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์และที่ดินจำเลยอยู่ติดกันและแบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเดียวกัน โจทก์ใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยออกสู่ถนนมาเป็นเวลา 10 ปีเศษ บ้านและที่ดินโจทก์อยู่ในวงล้อมของที่ดินบุคคลอื่นไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์มีทางออกสู่ถนนสาธารณะต้องผ่านที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางจำเป็นหรือภาระจำยอม คำฟ้องของโจทก์ระบุถึงสิทธิของโจทก์ว่า มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมบนที่ดินจำเลย จากที่ดินโจทก์เพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ และในคำขอท้ายฟ้องก็ระบุว่าให้จำเลยเปิดทางพิพาทให้โจทก์ใช้ได้อย่างเดิม ฟ้องโจทก์บรรยายไว้ครบทั้งเรื่องทางจำเป็นและทางภาระจำยอมโดยไม่ขัดกัน ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอม แล้ววินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
การแบ่งแยกหรือแบ่งโอนทำให้ที่ดินโจทก์ซึ่งแบ่งออกมาไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินซึ่งเป็นทางจำเป็นบนที่ดินจำเลยซึ่งเป็นแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350
การแบ่งแยกหรือแบ่งโอนทำให้ที่ดินโจทก์ซึ่งแบ่งออกมาไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินซึ่งเป็นทางจำเป็นบนที่ดินจำเลยซึ่งเป็นแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำ การใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยและข้อยกเว้นความรับผิด
ผู้ต้องขังที่ก่อเหตุร้ายพาตัวประกันที่ถูกมัดไว้เป็นคู่ ๆ เดินออกมาโดยมีผู้ต้องขังคนหนึ่งถือลูกระเบิดมือพร้อมกับพูดขู่และชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังกองอำนวยการที่จำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ห่างเพียง 4-5 เมตรจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงผู้ต้องขังดังกล่าวโดยก่อนมีคำสั่งได้ประชุมตกลงกันว่าให้ยิงได้ทีละนัดพร้อมทั้งกำหนด ให้เจ้าพนักงานแต่ละคนยิงผู้ต้องขังเป็นรายตัวไป มิใช่ว่า ยิงสุ่มเข้าไปในกลุ่มผู้ก่อเหตุร้าย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบเพื่อความปลอดภัยของตัวประกันอย่างดีที่สุด และจำเป็นต้องสั่งการโดยฉับพลันเนื่องจากผู้ต้องขังชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังจำเลยที่ 2 กับพวก การที่ลูกระเบิดมือของผู้ต้องขังเกิดระเบิดขึ้นและถูกตัวประกันถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวกจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 17(1)(3),21เจ้าพนักงานเรือนจำไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของตนทั้งทางแพ่งหรือทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตและการกระทำนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหมวด 4 ไม่ว่าผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้ต้องขังหรือบุคคลอื่นก็ตาม ฉะนั้นแม้ตัวประกันถึงแก่ความตายเพราะการกระทำดังกล่าว จำเลยทั้งสิบก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน