พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7362/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานเรือนจำ การใช้อำนาจตามกฎหมายเพื่อความปลอดภัยและข้อยกเว้นความรับผิด
ผู้ต้องขังที่ก่อเหตุร้ายพาตัวประกันที่ถูกมัดไว้เป็นคู่ ๆ เดินออกมาโดยมีผู้ต้องขังคนหนึ่งถือลูกระเบิดมือพร้อมกับพูดขู่และชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังกองอำนวยการที่จำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ห่างเพียง 4-5 เมตรจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำ จึงมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานใช้อาวุธปืนยิงผู้ต้องขังดังกล่าวโดยก่อนมีคำสั่งได้ประชุมตกลงกันว่าให้ยิงได้ทีละนัดพร้อมทั้งกำหนด ให้เจ้าพนักงานแต่ละคนยิงผู้ต้องขังเป็นรายตัวไป มิใช่ว่า ยิงสุ่มเข้าไปในกลุ่มผู้ก่อเหตุร้าย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบเพื่อความปลอดภัยของตัวประกันอย่างดีที่สุด และจำเป็นต้องสั่งการโดยฉับพลันเนื่องจากผู้ต้องขังชูลูกระเบิดมือทำท่าจะขว้างมายังจำเลยที่ 2 กับพวก การที่ลูกระเบิดมือของผู้ต้องขังเกิดระเบิดขึ้นและถูกตัวประกันถึงแก่ความตาย ถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย การกระทำของจำเลยที่ 2 กับพวกจึงไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 17(1)(3),21เจ้าพนักงานเรือนจำไม่ต้องรับผิดในผลแห่งการกระทำของตนทั้งทางแพ่งหรือทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำไปโดยสุจริตและการกระทำนั้นเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในหมวด 4 ไม่ว่าผู้ถูกกระทำจะเป็นผู้ต้องขังหรือบุคคลอื่นก็ตาม ฉะนั้นแม้ตัวประกันถึงแก่ความตายเพราะการกระทำดังกล่าว จำเลยทั้งสิบก็ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: เมื่ออนุญาโตตุลาการไม่สามารถตกลงกันได้ สัญญาสามารถกำหนดให้ศาลมีอำนาจตัดสินได้
ผู้ร้องทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างสะพานกับผู้คัดค้าน ในการก่อสร้างผู้ร้องอ้างว่าการที่วิศวกรที่ปรึกษาของผู้คัดค้านสั่งเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในสัญญาทำให้ผู้ร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผู้ว่าการของผู้คัดค้านชี้ขาดว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ผู้ร้องขอให้นำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาตามสัญญารับเหมาก่อสร้างแต่อนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้เมื่อตามสัญญาตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการระบุไว้ในข้อ 67 วรรคสองว่า "นอกเสียจากว่าทั้งสองฝ่าย จะเห็นชอบกับการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการคนเดียว ข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทจะต้องนำเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ 2 คน ซึ่งแต่ละฝ่ายจะได้แต่งตั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับหนังสือบอกกล่าวดังกล่าว และอนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายได้แต่งตั้งจะเลือกผู้ชี้ขาด หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนได้ภายใน30 วัน หรือหากอนุญาโตตุลาการทั้งสองไม่สามารถตกลงกันได้ภายใน30 วัน นับจากวันที่ตนได้รับแต่งตั้งตกลงเลือกผู้ชี้ขาด ให้นำข้อ 71.2 มาใช้บังคับ" และข้อ 71.2 มีความว่า "ศาลไทยจะมีอำนาจแต่ผู้เดียวในการรับฟังและตัดสินการดำเนินและกระบวนพิจารณา(นอกเหนือไปจากการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 67) ที่เกิดขึ้นจากสัญญาและผู้รับเหมายอมรับเขตอำนาจของศาลไทย" ดังนี้ เมื่ออนุญาโตตุลาการทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดได้ภายใน 30 วัน ดังกล่าว ก็ต้องปฎิบัติตามข้อ 67 ที่ให้นำข้อ 71.2มาใช้บังคับ กล่าวคือต้องนำข้อพิพาทมาสู่ศาลเท่านั้น ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 13,14 และ 15 อีกหาได้ไม่เพราะขัดกับข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7211/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการและการบังคับใช้ข้อตกลงตามสัญญา
ผู้ร้องทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างสะพานกับผู้คัดค้าน ในการก่อสร้างผู้ร้องอ้างว่าการที่วิศวกรที่ปรึกษาของผู้คัดค้านสั่งเปลี่ยนแปลงงานก่อสร้างเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในสัญญาทำให้ผู้ร้องต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม ผู้ว่าการของผู้คัดค้านชี้ขาดว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ผู้ร้องขอให้นำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาตามสัญญารับเหมาก่อสร้าง แต่อนุญาโตตุลาการของทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งอนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ เมื่อตามสัญญาตกลงเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการระบุไว้ในข้อ67 วรรคสองว่า "...นอกเสียจากว่าทั้งสองฝ่าย จะเห็นชอบกับการแต่งตั้งอนุญา-โตตุลาการคนเดียว ข้อโต้แย้งหรือข้อพิพาทจะต้องนำเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ 2 คนซึ่งแต่ละฝ่ายจะได้แต่งตั้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ว่าจ้างได้รับหนังสือบอกกล่าวดังกล่าว และอนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายได้แต่งตั้งจะเลือกผู้ชี้ขาด หากทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการฝ่ายตนได้ภายใน 30 วัน หรือหากอนุญาโตตุลาการทั้งสองไม่สามารถตกลงกันได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ตนได้รับแต่งตั้งตกลงเลือกผู้ชี้ขาด ให้นำข้อ 71.2 มาใช้บังคับ..." และข้อ 71.2 มีความว่า"...ศาลไทยจะมีอำนาจแต่ผู้เดียวในการรับฟังและตัดสินการดำเนินและกระบวน-พิจารณา (นอกเหนือไปจากการอนุญาโตตุลาการตามข้อ 67) ที่เกิดขึ้นจากสัญญาและผู้รับเหมายอมรับเขตอำนาจของศาลไทย..." ดังนี้ เมื่ออนุญาโตตุลาการทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดได้ภายใน 30 วัน ดังกล่าว ก็ต้องปฏิบัติตามข้อ 67 ที่ให้นำข้อ 71.2 มาใช้บังคับ กล่าวคือต้องนำข้อพิพาทมาสู่ศาลเท่านั้น ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดตามพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 13, 14 และ 15 อีกหาได้ไม่เพราะขัดกับข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชำระหนี้ผูกพันจำเลยโดยตรง แม้จะอ้างทำแทนบริษัทอื่น การผิดนัดชำระหนี้ตามข้อตกลงจำเลยต้องรับผิด
หนังสือตกลงชำระหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญา-ประนีประนอมยอมความผ่อนผันการชำระค่าเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาส่งข้าวโพดทำให้โจทก์ต้องไปซื้อข้าวโพดราคาสูงขึ้น แต่ตกลงผ่อนผันกันตามข้อตกลงชำระหนี้ระหว่างคู่กรณีโดยคิดค่าเสียหายจากราคาหาบละ 177 บาท ซึ่งคิดคำนวณค่าเสียหายได้เพียง 240,000 บาท และให้ฝ่ายจำเลยผ่อนชำระค่าเสียหายเช่นนี้หนี้ตามสัญญาเดิมจึงระงับและมาบังคับกันตามข้อตกลงยอมชำระหนี้ดังกล่าวนี้ต่อไป
การที่จำเลยนำสืบว่าบริษัท ส. คือบริษัท ต. และจำเลยมาทำการแทนบริษัท ส.ในการทำข้อตกลงยอมชำระหนี้กับโจทก์เป็นการนำสืบนอกคำให้การ รับฟังไม่ได้
จำเลยเข้าทำข้อตกลงยอมชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลงชำระหนี้ในนามตนเอง การที่จำเลยอ้างว่าทำแทนบริษัท ส.ซึ่งไม่มีตัวตน จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และจำเลยผิดนัดต่อโจทก์โดยไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจึงต้องรับผิดพร้อมทั้งดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
การที่จำเลยนำสืบว่าบริษัท ส. คือบริษัท ต. และจำเลยมาทำการแทนบริษัท ส.ในการทำข้อตกลงยอมชำระหนี้กับโจทก์เป็นการนำสืบนอกคำให้การ รับฟังไม่ได้
จำเลยเข้าทำข้อตกลงยอมชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลงชำระหนี้ในนามตนเอง การที่จำเลยอ้างว่าทำแทนบริษัท ส.ซึ่งไม่มีตัวตน จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และจำเลยผิดนัดต่อโจทก์โดยไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจึงต้องรับผิดพร้อมทั้งดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนผันหนี้ การรับผิดส่วนตัวของตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ และดอกเบี้ยผิดนัด
หนังสือตกลงชำระหนี้ระหว่างโจทก์จำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความผ่อนผันการชำระค่าเสียหายซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จำเลยผิดสัญญาส่งข้าวโพดทำให้โจทก์ต้องไปซื้อข้าวโพดราคาสูงขึ้น แต่ตกลงผ่อนผันกันตามข้อตกลงชำระหนี้ระหว่างคู่กรณีโดยคิดค่าเสียหายจากราคาหาบละ 177บาท ซึ่งคิดคำนวณค่าเสียหายได้เพียง 240,000 บาท และให้ฝ่ายจำเลยผ่อนชำระค่าเสียหายเช่นนี้หนี้ตามสัญญาเดิมจึงระงับและมาบังคับกันตามข้อตกลงยอมชำระหนี้ดังกล่าวนี้ต่อไป การที่จำเลยนำสืบว่าบริษัท ส.คือบริษัทต. และจำเลยมาทำการแทนบริษัท ส. ในการทำข้อตกลงยอมชำระหนี้กับโจทก์เป็นการนำสืบนอกคำให้การ รับฟังไม่ได้ จำเลยเข้าทำข้อตกลงยอมชำระหนี้แก่โจทก์ตามข้อตกลง ชำระหนี้ในนามตนเอง การที่จำเลยอ้างว่าทำแทนบริษัท ส. ซึ่งไม่มีตัวตน จำเลยจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว และจำเลย ผิดนัดต่อโจทก์โดยไม่ยอมผ่อนชำระหนี้ตามข้อตกลงจึงต้อง รับผิดพร้อมทั้งดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6942/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแต่ใช้เป็นตลาดนัด สัญญาอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
แม้ตามสัญญาเช่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ทำกับจำเลยมีคำว่าเช่าเพื่อ "ทำการเกษตร" และโจทก์เองก็รับว่า ในตอนทำสัญญาตกลงว่าจำเลยเช่าเพื่อปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่างทำการเกษตร แต่เมื่อจำเลยได้ใช้ที่ดินพิพาททำเป็นตลาดนัดสำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนโคกระบือ ไม่เคยเพาะปลูกข้าวหรือพืชไร่ในที่ดินพิพาทเลย จะถือว่าจำเลยเป็นผู้เช่านาและได้ทำนาในที่ดินพิพาทตาม พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 5,21 หาได้ไม่ จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 31 สัญญาเช่าที่ดินพิพาทจึงเป็นการเช่าที่ต้องบังคับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6622/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่อค้ากำไร: จำเลยใช้อุบายลวงผู้เยาว์และส่งมอบให้ผู้อื่นเพื่อประโยชน์ทางการเงิน
จำเลยใช้อุบายว่าจะให้เงินแก่ผู้ตายอายุ 16 ปีลวงให้ผู้ตายตามไปและปล่อยให้ผู้ตายอยู่กับชาย 2 คน ซึ่งเป็นพวกของจำเลยโดยเห็นแก่เงินซึ่งชายทั้งสองจะมอบให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทน จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อค้ากำไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6622/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พรากผู้เยาว์เพื่อค้ากำไร: การกระทำโดยใช้อุบายลวงและส่งมอบให้ผู้อื่น
จำเลยใช้อุบายว่าจะให้เงินแก่ผู้ตายอายุ 16 ปีลวงให้ผู้ตายตามไปและปล่อยให้ผู้ตายอยู่กับชาย 2 คน ซึ่งเป็นพวกของจำเลยโดยเห็นแก่เงินซึ่งชายทั้งสองจะมอบให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทน จำเลยจึงมีความผิดฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปี โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อค้ากำไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเมื่อคดีที่เกี่ยวข้องถึงที่สุดแล้ว และผู้ร้องไม่ติดใจให้ประกันการชำระหนี้
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาหลักประกันมาวางศาล เกี่ยวกับปัญหาการอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินคดีนี้ซึ่งเป็นปัญหาฟ้องร้องกันระหว่างจำเลยและผู้ร้องอีกคดีหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีระหว่างจำเลยและผู้ร้องถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่อายัดนอกจากนี้ผู้ร้องยังได้ยื่นคำร้องว่าไม่ติดใจให้โจทก์นำเงินหรือหลักทรัพย์ใดมาวางต่อไป ดังนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดี แต่คดีนี้จะจำหน่ายคดีโดยให้คงคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาหลักประกันมาวางต่อศาลอีกจะเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้จำหน่ายคดีเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีหลังคดีที่เกี่ยวข้องถึงที่สุด และการยกเลิกคำสั่งให้วางหลักประกัน
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาหลักประกันมาวางศาล เกี่ยวกับปัญหาการอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินคดีนี้ซึ่งเป็นปัญหาฟ้องร้องกันระหว่างจำเลยและผู้ร้องอีกคดีหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีระหว่างจำเลยและผู้ร้องถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่อายัด นอกจากนี้ผู้ร้องยังได้ยื่นคำร้องว่าไม่ติดใจให้โจทก์นำเงินหรือหลักทรัพย์ใดมาวางต่อไป ดังนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดี แต่คดีนี้จะจำหน่ายคดีโดยให้คงคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณื์ที่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาหลักประกันมาวางต่อศาลอีกจะเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้จำหน่ายคดีเสีย