คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จองทรัพย์ เที่ยงธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5539/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีประกันภัย: การรับช่วงสิทธิและการนับระยะเวลา
รถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยสูญหายเมื่อ 12 มีนาคม 2527หลังเกิดเหตุผู้เอาประกันภัยไปแจ้งความในวันเดียวกัน โจทก์รับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 แล้วมายื่นฟ้องในวันที่10 ตุลาคม 2527 เกินกำหนดเวลา 6 เดือน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามมาตรา 678

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5523/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการบังคับตามสัญญาประกัน: พนักงานอัยการมีหน้าที่ดำเนินคดีบังคับให้เป็นไปตามสัญญาประกัน ไม่ใช่หน้าที่ของศาลหรือนายประกัน
เมื่อมีการผิดสัญญาประกันจำเลยเกิดขึ้น พนักงานอัยการซึ่งเป็นทนายความของแผ่นดินเป็นผู้ดำเนินคดี หาใช่หน้าที่ของศาลเจ้าหน้าที่ของศาลหรือนายประกันที่จะเป็นผู้นำยึดทรัพย์ที่วางประกันไม่่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทรัพย์สินพิพาท และประเด็นการนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ 17,000 บาทและจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ด้วยที่ดินพิพาท โดยถือว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์และไม่เคยตกลงขายที่ดินให้โจทก์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยทั้งสองได้ขายให้แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคดีที่โต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การหรือนำสืบโต้แย้งราคาที่ดินพิพาท จึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมีราคา17,000 บาท และถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาทในคดีนี้ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินและมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ยแล้ว ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยไม่จำต้องก้าวล่วงไปฟังข้อเท็จจริงว่าการตกลงชำระหนี้ด้วยที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 656 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงเป็นการนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการอุทธรณ์
โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากหนังสือสัญญา โดยฟังว่าจำเลยที่ 2 เพียงแต่กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีพิพาทสิทธิที่ดิน: ห้ามฎีกาเมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่า 200,000 บาท และประเด็นนอกคำฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ 17,000บาท และจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ด้วยที่ดินพิพาทโดยถือว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์และไม่เคยตกลงขายที่ดินให้โจทก์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยทั้งสองได้ขายให้แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคดีที่โต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ไม่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองให้การหรือนำสืบโต้แย้งราคาที่ดินพิพาท จึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมีราคา17,000 บาท และถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาทในคดีนี้เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู*ในขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินและมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ยแล้ว ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยไม่จำต้องก้าวล่วงไปฟังข้อเท็จจริงว่าการตกลงชำระหนี้ด้วยที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 656 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงเป็นการนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการอุทธรณ์ โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากหนังสือสัญญา โดยฟังว่าจำเลยที่ 2 เพียงแต่กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลในคดีละเมิด: การคำนวณค่าเสียหายและดอกเบี้ย
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายในมูลละเมิดเป็นเงิน 1 ,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 252 อันเป็นวันละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนของค่าเสียหายที่ขอมาจำนวน 1 ,500 บาทและในส่วนของดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันที่31 พฤษภาคม 252 ซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 252 ซึ่งเป็นวันฟ้องที่ขอมาเป็นทุนทรัพย์จำนวน 1,3 7.50 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นสำหรับดอกเบี้ยดังกล่าวตามอัตราในตาราง 1 (1) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความแพ่ง คิดเป็นเงิน 35 บาท และไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคตในส่วนของคำขอที่ให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามตาราง 1 (4) อีก ที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตมา 100 บาท จึงเกินไป แต่ก็เท่ากับว่าโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยจำนวน 35 บาท ครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5453/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยจากการละเมิดนับแต่วันเกิดเหตุ ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันละเมิด
ตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายในมูลละเมิดเป็นเงิน 18,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 31พฤษภาคม 2528 อันเป็นวันละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลในส่วนของค่าเสียหายที่ขอมาจำนวน 18,500 บาท และในส่วนของดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในค่าเสียหายดังกล่าวนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกระทำละเมิดถึงวันที่30 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเป็นวันฟ้องที่ขอมาเป็นทุนทรัพย์จำนวน1,387.50 บาท ต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นสำหรับดอกเบี้ยดังกล่าวตามอัตราในตาราง 1(1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คิดเป็นเงิน 35 บาท และไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอนาคตในส่วนของคำขอที่ให้ชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามตาราง 1(4) อีกที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตมา 100 บาท จึงเกินไป แต่ก็เท่ากับว่าโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลสำหรับดอกเบี้ยจำนวน 35 บาท ครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงยุติ และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลมีอำนาจงดสืบพยานได้ในเมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลเมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว จำเลยฎีกาโต้แย้งว่ายังไม่ควรยุติ ย่อมเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมามีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ แต่คำฟ้องระบุว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดและจำเลยได้บุกรุกเข้าไปโค่นยางพาราและปลูกยางพาราขึ้นใหม่ เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยเข้าไปในที่ดินของโจทก์ จำเลยโค่นยางพาราและปลูกยางพาราในที่ดินของจำเลยเอง การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การนั่นเอง และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทอยู่ในที่ดินของโจทก์แล้วก็ต้องวินิจฉัยว่า จำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยจะต้องวินิจฉัยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันซึ่งจำเลยให้การเพียงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่พิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่ตามแผนที่พิพาทปรากฏว่าที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามโฉนดของโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาท ในขณะที่จำเลยอ้างว่ามีสิทธิเพียงครอบครองเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยเพราะโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ เมื่อฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท จึงเป็นการวินิจฉัยตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยที่ศาลชั้นต้นกำหนดในครั้งแรกนั่นเอง ดังนั้น การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ก็หาทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิมไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสองแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยความเพียงพอของข้อเท็จจริงและกำหนดประเด็นตามฟ้อง
เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้แล้ว ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความข้อเท็จจริงเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลเมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว การฎีกาโต้เถียงว่ายังไม่ควรยุติเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนดจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การว่าไม่เคยเข้าไปกระทำการใดในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเองไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นการกำหนดตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ อันตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดในครั้งแรกแล้วจึงวินิจฉัยตามข้ออ้างในฟ้องโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันด้วยดังนี้ การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสองแล้ว ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท อย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1(2)(ก)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดสืบพยานและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้แล้ว ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความ ข้อเท็จจริงเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาล เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว การฎีกาโต้เถียงว่ายังไม่ควรยุติเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนด จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การว่าไม่เคยเข้าไปกระทำการใดในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเองไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นการกำหนดตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ อันตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดในครั้งแรกแล้วจึงวินิจฉัยตามข้ออ้างในฟ้องโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันด้วย ดังนี้ การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสองแล้ว
ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1(2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินของแผ่นดินที่ใช้ในการกระทำผิด: ผู้ร้องต้องดำเนินการภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย
ทรัพย์สินของแผ่นดินที่นำมาใช้ในการกระทำผิดก็อาจถูกริบได้เพราะว่ากรณีเป็นเรื่องศาลพิพากษาให้ริบทรัพย์ มิใช่เป็นการยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1307 มาใช้บังคับได้
of 66