พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการซื้อขายจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลเหนือกว่าสิทธิของผู้ซื้อเดิมที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 ได้กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษ ไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปดังที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามมาตรา 456 แม้จำเลยกับพวกเป็นผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด อ.แต่เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดอ. ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยกับพวก กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. อยู่ โจทก์ได้ที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลยและมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดดีกว่าสิทธิจากการซื้อจากลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เดือนละ3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงฟังได้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทปรับอีก 100,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในส่วนนี้ก็ไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลดีกว่าการซื้อจากผู้จัดสรรที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เดือนละ 3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงฟังได้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทปรับอีก 100,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในส่วนนี้ก็ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4895/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: การโอนทรัพย์มรดกเกินสิทธิโดยไม่ได้รับการยกให้โดยเสน่หา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินและบ้านเป็นมรดกของ ส.ภริยาโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับ 7 ใน 12 ส่วน นอกนั้นเป็นของทายาทอื่นคือบุตร 5 คน ศาลชั้นต้นสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โจทก์ได้โอนที่ดินและบ้านดังกล่าวให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทชั้นบุตรคนหนึ่ง แสดงว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยไปทั้งหมดทั้งที่จำเลยควรจะได้รับเพียง 1 ใน 12 ส่วน โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเลยว่า โจทก์ยกส่วนของโจทก์ให้จำเลยโดยเสน่หาการที่โจทก์ขอให้จำเลยโอนทรัพย์มรดกคืนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก 11 ใน 12 ส่วน จึงเป็นการเรียกทรัพย์มรดกคืนในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก จะฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531 มิได้ โจทก์จึงไม่มีกำหนดฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ต่อเนื่องนานกว่า 10 ปี หลังออกโฉนด
ส. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่ 60 ปีก่อนเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ ประกอบกับโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่า ส.เข้าครอบครองที่พิพาทได้อย่างไร พฤติการณ์ที่ ส.และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทสืบต่อกันมานานถึง60 ปี โดยไม่ปรากฏว่า ส.และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทแทนผู้อื่น แสดงให้เห็นว่า ส.และจำเลยร่วมกันยึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาก่อนมีการออกโฉนดที่ดินเลขที่5285 แม้ ส. และจำเลยที่ 2 มิได้ไต้แย้งคัดค้านการที่ อ.ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่5285 ซึ่งรวมที่พิพาทไว้ด้วย และมิได้โต้แย้งคัดค้านการโอนมรดกที่ดินโฉนดดังกล่าวก็ตาม ก็ไม่ทำให้ลักษณะการยึดถือที่พิพาทของ ส.และจำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงไปดังนั้น หลังจากการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 แล้ว ส.และจำเลยที่ 2 ยังคงครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี เมื่อ ส.ตาย จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงเป็นผู้สืบสิทธิของ ส.แล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ครอบครองที่พิพาทตลอดมา กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงตกเป็นของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการโอนที่ดินโดยไม่สุจริต
ส. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่60 ปี ก่อนเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ ประกอบกับโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่า ส.เข้าครอบครองที่พิพาทได้อย่างไรพฤติการณ์ที่ส.และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทสืบต่อกันมานานถึง60 ปี โดยไม่ปรากฎว่า ส. และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทแทนผู้อื่น แสดงให้เห็นว่า ส. และจำเลยร่วมกันยึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาก่อนมีการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 แม้ ส.และจำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านการที่ อ. ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 ซึ่งรวมที่พิพาทไว้ด้วย และมิได้โต้แย้งคัดค้านการโอนมรดกที่ดินโฉนดดังกล่าวก็ตาม ก็ไม่ทำให้ลักษณะการยึดถือที่พิพาทของ ส. และจำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นหลังจากการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 แล้ว ส.และจำเลยที่ 2ยังคงครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี เมื่อ ส. ตาม จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงเป็นผู้สืบสิทธิของส. แล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ครอบครองที่พิพาทตลอดมา กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงตกเป็นของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค่าจ้างทำของ: การพิจารณา 'ทำเพื่ออุตสาหกรรม' เพื่อกำหนดอายุความ 2 หรือ 5 ปี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้เป็นซองเพื่อบรรจุสินค้าเกลืออีเล็คโคสของจำเลย มิใช่เป็นการผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้จำเลยนำไปผลิตเป็นสินค้า จึงไม่เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายจำเลย แต่เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าได้เรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ ทำของจากจำเลย จึงอยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีส่งมอบของทำของ พิจารณาจากลักษณะงานที่ทำเพื่ออุตสาหกรรมของลูกหนี้หรือไม่
คำว่า "อุตสาหกรรม" หมายถึงการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของนั้นขึ้นเพื่อให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่าย การที่จำเลยว่าจ้างโจทก์ผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้เป็นซองเพื่อบรรจุสินค้าเกลืออีเล็คโคสของจำเลยมิใช่เป็นการผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้จำเลยนำไปผลิตเป็นสินค้าแต่อย่างใด จึงไม่เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายจำเลย แต่เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าได้เรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ ทำของจากจำเลย จึงอยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3708/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์บนรถโดยสาร: การใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อลักทรัพย์ ถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง
ขณะที่ผู้เสียหายขึ้นรถโดยสารประจำทางก็ถูกจำเลยซึ่งเข้ามาทางด้านหลังกระแทกตรงหัวไหล่และจำเลยได้ล้วงเอากระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหาย ซึ่งมีเงินบรรจุอยู่ แล้วหลบหนีไป ดังนี้ เป็นการที่จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์ของผู้เสียหายบนยวดยานสาธารณะซึ่งประชาชนใช้โดยสารจำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา339 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหก ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้