พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน ค่าทดแทนต้องเป็นราคาซื้อขายจริงในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2525 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหกที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฎีกาและการขอพิจารณาใหม่: ข้อจำกัดด้านเวลาและคุณสมบัติ
จำเลยที่ 3 มิได้แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความหรือมอบอำนาจให้ป.ฟ้องคดีแทน ป.จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกาแทนจำเลยที่ 3 ฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ขึ้นมา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ไม่ได้
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2โดยวิธีปิดหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นไปแล้ว 15 วัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ เมื่อล่วงเลยระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผลจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208ตอนท้าย จะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามคำกำหนดของศาล แต่ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อ้างพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2โดยวิธีปิดหมาย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง ถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นไปแล้ว 15 วัน จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ เมื่อล่วงเลยระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผลจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้
กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208ตอนท้าย จะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามคำกำหนดของศาล แต่ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อ้างพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3572/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฎีกา และการยื่นคำขอพิจารณาใหม่เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 3 มิได้แต่งตั้งให้ป.เป็นทนายความหรือมอบอำนาจให้ป.ฟ้องคดีแทน ป.จึงไม่มีอำนาจยื่นฎีกาแทนจำเลยที่ 3 ฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 จึงเป็นคำคู่ความที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ขึ้นมา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยให้ไม่ได้ พนักงานเดินหมายนำคำบังคับไปส่งให้แก่จำเลยที่ 1และที่ 2 โดยวิธีปิดหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคสอง ถือว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทราบคำบังคับหลังจากล่วงพ้นไปแล้ว 15 วัน จำเลยที่ 1 และที่ 2ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ เมื่อล่วงเลยระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่การส่งคำบังคับมีผลจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่ได้ กำหนดระยะเวลา 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 ตอนท้าย จะนำมาใช้บังคับต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้อันเป็นผลให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่อาจยื่นคำขอภายในกำหนด 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือภายในระยะเวลาตามคำกำหนดของศาล แต่ตามคำขอของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้อ้างพฤติการณ์พิเศษนอกเหนือไม่อาจบังคับได้ไว้ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีพิพาทครอบครองที่ดิน: ทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท
คดีพิพาทกันในปัญหาว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฎีกาว่า ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
โจทก์ฎีกาว่า ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีครอบครองที่ดินพิพาทราคาน้อยกว่า 200,000 บาท ไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คดีพิพาทกันในปัญหาว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกาว่า ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของก็ไม่ได้สิทธิครอบครองโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การละทิ้งการปฏิบัติตามสัญญาและการเลิกสัญญโดยปริยาย
โจทก์ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 2สัญญาระบุว่า คู่สัญญาจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายต่อกัน แต่มิได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะต้องทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อใด คู่สัญญาจึงต้องมาตกลงกันอีกครั้งในเวลาอันสมควรว่าจะทำการซื้อขายกันเมื่อใดให้แน่ชัดลงไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงกำหนดเวลาทำการซื้อขายกัน กลับทิ้งช่วงเวลานานถึง5 ปีเศษ แสดงให้เห็นว่า ต่างไม่นำพาที่จะปฏิบัติตามสัญญาในเวลาอันสมควรฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ และเป็นที่เห็นได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3458/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญามัดจำเลิกโดยปริยายจากเจตนาไม่นำพาของคู่สัญญา การคืนเงินมัดจำ
โจทก์ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 2สัญญาระบุว่า คู่สัญญาจะทำหนังสือสัญญาซื้อขายต่อกัน แต่มิได้กำหนดเวลาไว้ว่าจะต้องทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อใด คู่สัญญาจึงต้องมาตกลงกันอีกครั้งในเวลาอันสมควรว่าจะทำการซื้อขายกันเมื่อใดให้แน่ชัดลงไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ตกลงกำหนดเวลาทำการซื้อขายกัน กลับทิ้งช่วงเวลานานถึง 5 ปีเศษ แสดงให้เห็นว่าต่างไม่นำพาที่จะปฏิบัติตามสัญญาในเวลาอันสมควรฝ่ายใดจะอ้างว่าอีกฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาหาได้ไม่ และเป็นที่เห็นได้ว่าต่างฝ่ายต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 2 ต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นหุ้นส่วนกันจึงต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2911/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้คดีเรื่องเอกสารปลอมต้องระบุรายละเอียดการปลอม มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิสืบพยาน
คำให้การต่อสู้คดีที่ว่าสัญญากู้เป็นเอกสารปลอม โดยไม่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้ว่าปลอมอย่างไร เช่น เป็นการปลอมเอกสารทั้งฉบับหรือปลอมเพียงบางส่วน ซึ่งจำเลยต้องแสดงให้ชัดแจ้งไว้ในคำให้การไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองจำเลยจึงไม่มีสิทธินำสืบพยานบุคคลตามข้อต่อสู้นั้น แม้ศาลชั้นต้นจะได้สืบพยานบุคคลของจำเลยมาแล้วก็ไม่อาจรับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีก่อนไม่ตัดสิทธิในการฟ้องคดีใหม่ หากเป็นมูลหนี้เดิมและยังไม่ขาดอายุความ ศาลฎีกายกเลิกคำพิพากษาศาลชั้นต้น-อุทธรณ์
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ในคดีก่อน โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยอีกต่อไป ขอถอนฟ้องจำเลยแถลงไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง มีความหมายเพียงว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ทั้งมิใช่เป็นการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยอ้างเหตุต่างกัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแต่ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่สำหรับปัญหาข้ออื่นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ได้แก่เรื่องอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จำเลยค้างค่ากระแสไฟฟ้า และโจทก์มีสิทธิเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังเหลืออยู่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและอำนาจฟ้อง: การย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยประเด็นที่ยังไม่ได้ตัดสิน
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ในคดีก่อน โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยอีกต่อไป ขอถอนฟ้อง จำเลยแถลงไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง มีความหมายเพียงว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ทั้งมิใช่เป็นการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยอ้างเหตุต่างกัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่สำหรับปัญหาข้ออื่นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ได้แก่เรื่องอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จำเลยค้างค่ากระแสไฟฟ้า และโจทก์มีสิทธิเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังเหลืออยู่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยอ้างเหตุต่างกัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่สำหรับปัญหาข้ออื่นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ได้แก่เรื่องอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จำเลยค้างค่ากระแสไฟฟ้า และโจทก์มีสิทธิเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังเหลืออยู่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี