พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6722/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับในคดีทางหลวง และการแก้ไขคำพิพากษาให้ชัดเจนเรื่องวิธีบังคับค่าปรับ
คดีนี้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 3 เดือน และปรับ 6,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ มีกำหนด 3 ปี การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับโดยมิได้กำหนดวิธีบังคับค่าปรับนั้นจึงไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ชัดแจ้งได้ โดยแก้เป็นว่าหากไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกในการขายทรัพย์มรดกและการผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
จำเลยที่1เป็นทายาทและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของว.ท. และส. ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์และจำเลยที่1ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยก่อนจำเลยที่1จะขายที่ดินพิพาทจำเลยที่1ได้เรียกประชุมทายาทโดยมีจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้ง3คนและมีทายาทอื่นรวมทั้งห. ผู้แทนของโจทก์ร่วมประชุมด้วยที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการนำที่ดินพิพาทจัดการหาผลประโยชน์เข้ามากองมรดกต่อไปหลังจากมีการขายที่ดินพิพาทแล้วจำเลยที่1ก็ได้แบ่งปันเงินที่ได้ให้แก่ทายาทตามส่วนถือได้ว่าจำเลยที่1ขายที่ดินพิพาทไปในขอบเขตอำนาจของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574มาใช้บังคับไม่ได้นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทไม่เป็นโมฆะ จำเลยที่1และที่2ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่1และที่2ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดกแม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1719โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่1มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดก vs. อำนาจผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทผู้เยาว์: นิติกรรมไม่โมฆะ
นอกจากจำเลยที่1จะเป็นทายาทของผู้ตายและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วยแล้วก็ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วยเมื่อจำเลยที่1ขายที่พิพาทไปในขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์จึงเป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574มาใช้บังคับไม่ได้นิติกรรมขายที่พิพาทจึงไม่เป็นโมฆะ เมื่อจำเลยที่1และที่2ยอมโอนที่พิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดกตามคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดก็ถือว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่1ย่อมมีอำนาจโอนขายที่พิพาทให้แก่จำเลยที่3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6595/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้จัดการมรดกในการขายทรัพย์มรดกและการแบ่งปันผลประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นทายาทและเป็นมารดาผู้แทนโดยชอบธรรมของว. ท. และ ส. ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ และจำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายด้วย ก่อนจำเลยที่ 1 จะขายที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ได้เรียกประชุมทายาทโดยมีจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ทั้ง3 คน และมีทายาทอื่นรวมทั้ง ห. ผู้แทนของโจทก์ร่วมประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ ให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการนำที่ดินพิพาทจัดการหาผลประโยชน์เข้ามากองมรดกต่อไป หลังจากมีการขายที่ดินพิพาทแล้ว จำเลยที่ 1 ก็ได้แบ่งปันเงินที่ได้ให้แก่ทายาทตามส่วน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทไปในขอบเขตอำนาจของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดก ไม่ใช่ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์แต่เป็นเรื่องผู้จัดการมรดกขายทรัพย์มรดกซึ่งจะนำ ป.พ.พ. มาตรา 1574 มาใช้บังคับไม่ได้ นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทไม่เป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม แต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดก แม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่ 1 มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนด ตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม แต่คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความในคดีเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมโอนที่ดินพิพาทกลับมาเป็นทรัพย์มรดก แม้จะยังไม่ได้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดนั้นก็ตามก็ถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกตกอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องจัดการแบ่งปันแก่ทายาทด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากทายาทจำเลยที่ 1 มีอำนาจโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารที่ไม่ได้รับอนุญาตมาใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่ง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเท่านั้นและจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์เท่านั้นไม่มีสิทธินำพยานจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคสองการที่ทนายความจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้ตัวโจทก์ดูประกอบการถามค้านตัวโจทก์ตัวโจทก์ไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวแล้วทนายความจำเลยทั้งสองส่งเอกสารนั้นต่อศาลชั้นต้นนั้นตัวโจทก์ไม่ได้เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าวสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจึงต้องห้ามมิให้รับฟังที่ศาลอุทธรณ์นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอมจึงเป็นการไม่ชอบเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเอกสารหลักฐานของจำเลยเข้าสืบโดยไม่ได้รับอนุญาต และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยศาลอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องและจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธินำพยานจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร การที่ทนายจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้โจทก์ดูประกอบการถามค้าน โจทก์ไม่ตอบคำถามแล้วทนายจำเลยทั้งสองส่งเอกสารนั้นต่อศาล แสดงว่าโจทก์ไม่ได้เบิกความรับรองเอกสารนั้นเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังการที่ศาลอุทธรณ์นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ว่า หนังสือสัญญากู้ยืมเงินเป็นเอกสารปลอมจึงไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ การนำเอกสารเข้าสืบเกินสิทธิ และผลกระทบต่อการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเท่านั้น และจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธินำพยานจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง การที่ทนายความจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ให้ตัวโจทก์ดูประกอบการถามค้านตัวโจทก์ตัวโจทก์ไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว แล้วทนายความจำเลยทั้งสองส่งเอกสารนั้นต่อศาลชั้นต้นนั้นตัวโจทก์ไม่ได้เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าว สำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง ที่ศาลอุทธรณ์นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอมจึงเป็นการไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริต ไม่ได้เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยไม่สุจริต กล่าวคือ โจทก์อ้างว่าซื้อที่ดินมาตามโฉนด แต่โจทก์ไม่ได้มาดูที่ดินหรือสอบถามเสียก่อนว่ามีอาณาเขตจากไหนถึงไหน มียุ้งฉางอยู่ก่อนโดยอาศัยสิทธิอย่างไรและมีการล้อมรั้วลวดหนามเป็นอย่างไร ซึ่งผิดวิสัยของบุคคลที่จะซื้อที่ดิน อันเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดถึงการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวโดยไม่สุจริตของโจทก์ คำให้การของจำเลยดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองจึงมีประเด็นที่จำเลยจะสืบตามข้อสู้ได้ว่าโจทก์ได้สิทธิมาโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.1299 วรรคสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีมา ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อการครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยการงดสืบพยาน
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้วโจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริตไม่ได้เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยไม่สุจริตกล่าวคือโจทก์อ้างว่าซื้อที่ดินมาตามโฉนดแต่โจทก์ไม่ได้มาดูที่ดินหรือสอบถามเสียก่อนว่ามีอาณาเขตจากไหนถึงไหนมียุ้งฉางอยู่ก่อนโดยอาศัยสิทธิอย่างไรและมีการล้อมรั้วลวดหนามเป็นอย่างไรซึ่งผิดวิสัยของบุคคลที่จะซื้อที่ดินอันเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดถึงการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวโดยไม่สุจริตของโจทก์คำให้การของจำเลยดังกล่าวชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองจึงมีประเด็นที่จำเลยจะสืบตามข้อสู้ได้ว่าโจทก์ได้สิทธิมาโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1299วรรคสองศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีมาย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการนำสืบพยาน: ศาลจะวินิจฉัยข้อกฎหมายเฉพาะเมื่อได้จากกระบวนการพิจารณา
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งเป็นข้อยกเว้นให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เช่นได้จากหลักฐานพยานซึ่งเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ หรือได้จากเอกสารพยานที่มีกฎหมายบังคับให้คู่ความที่กล่าวอ้างต้องแสดงเป็นต้น ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเป็นผู้เช่าตามสัญญาเช่า และสัญญาครบกำหนดแล้ว จำเลยให้การยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าจริง แต่ต่อสู้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องนำสืบถึงเอกสารสัญญาเช่า เพราะจำเลยมิได้โต้เถียงว่าสัญญาเช่านั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกาเพื่อวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ตามมาตรา 142 (5) ได้
จำเลยมีสิทธิที่จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นก็มีสิทธิที่จะพิเคราะห์ว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยเกี่ยวกับประเด็นหรือไม่ เป็นการประวิงคดีให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปอย่างชักช้าหรือไม่ ตามมาตรา 86
จำเลยมีสิทธิที่จะยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสอง แต่ศาลชั้นต้นก็มีสิทธิที่จะพิเคราะห์ว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยเกี่ยวกับประเด็นหรือไม่ เป็นการประวิงคดีให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปอย่างชักช้าหรือไม่ ตามมาตรา 86