พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2891/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำและอำนาจฟ้อง: การย้อนสำนวนเพื่อวินิจฉัยประเด็นที่ยังไม่ได้ตัดสิน
ระหว่างนัดสืบพยานโจทก์ในคดีก่อน โจทก์ยื่นคำร้องว่าโจทก์ไม่มีความประสงค์จะดำเนินคดีนี้กับจำเลยอีกต่อไป ขอถอนฟ้อง จำเลยแถลงไม่คัดค้าน ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง มีความหมายเพียงว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีกับจำเลยสำหรับคดีนั้นเท่านั้น หาอาจแปลไปว่าโจทก์จะไม่ฟ้องคดีใหม่กับจำเลยอีก ทั้งมิใช่เป็นการถอนฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังนั้น การถอนฟ้องในคดีก่อนไม่ทำให้อำนาจฟ้องของโจทก์หมดไป โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ใหม่ได้ภายในอายุความ
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยอ้างเหตุต่างกัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่สำหรับปัญหาข้ออื่นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ได้แก่เรื่องอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จำเลยค้างค่ากระแสไฟฟ้า และโจทก์มีสิทธิเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังเหลืออยู่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยอ้างเหตุต่างกัน กล่าวคือ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ส่วนศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ แต่ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แต่สำหรับปัญหาข้ออื่นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ได้แก่เรื่องอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่จำเลยค้างค่ากระแสไฟฟ้า และโจทก์มีสิทธิเรียกค่ากระแสไฟฟ้าจากจำเลยตามฟ้องหรือไม่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัย เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ย่อมมีอำนาจยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นที่ยังเหลืออยู่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์การขายทอดตลาด: จำเลยต้องคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นก่อน จึงมีสิทธิอุทธรณ์
ตามอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทแก่ผู้ร้องโดยอ้างเหตุว่าราคาประเมินของสำนักงานโยธาธิการจังหวัดมหาสารคามยังบกพร่อง และผู้ร้องเสนอราคาในการประมูลซื้อต่ำ ขอให้มีการประเมินราคาและขายทอดตลาดใหม่ ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์เพราะมิได้ร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27,296 วรรคสองพิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ดังกล่าว แต่กลับฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านการประเมินราคาของเจ้าหน้าที่สำนักงานโยธาธิการจังหวัดมหาสารคามเพราะจำเลยได้คัดค้านการประเมินราคาดังกล่าวไว้แล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยมิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองทำให้จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เสียแล้ว การวินิจฉัยปัญหาตามฎีกาของจำเลยก็มิได้ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปได้ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2276/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์: การแจ้งข้อหาและการรวบรวมพยานหลักฐาน
ในชั้นสอบสวนเมื่อพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยว่าทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์และเป็นของทางราชการและได้สอบปากคำพยานเกี่ยวกับข้อหาว่า จำเลยทำให้เสียหายทำลายท่อส่งน้ำคอนกรีต และก้านพวงมาลัยปิดเปิดประตูน้ำและได้ไปตรวจสถานที่เกิดเหตุพร้อมทำบันทึกความเสียหายไว้ด้วยเช่นนี้ แสดงว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 แล้วโดยไม่ต้องแจ้งทุกกระทงความผิด และได้รวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาจำเลยแล้ว จึงถือว่า ได้มีการสอบสวนในข้อหาดังกล่าวโดยชอบ พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นผู้อื่นและเจ้าพนักงาน: เจตนาและขอบเขตหน้าที่ตามกฎหมาย
จำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงต่ำ ๆ ต่อหน้าผู้อื่นซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไปเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1ซึ่งหน้า หาใช่เป็นคำพูดในเชิงปรารถปรับทุกข์ไม่ ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ในการปราบปรามสืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดทางอาญา หาได้เกี่ยวกับกรณีที่มีบุคคลพิพาทกันในทางแพ่งไม่ แม้คู่กรณีนำเรื่องทางแพ่งไปแจ้งให้จัดการไกล่เกลี่ยเปรียบเทียบและผู้เสียหายที่ 2 ทำการไกล่เกลี่ยให้ และจัดการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมายไม่คงเป็นแต่เพียงอัชฌาสัยในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น การกระทำของผู้เสียหายที่ 2จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้าพนักงาน แม้จำเลยได้พูดถ้อยคำว่า "มันก็เข้าข้างกัน" ก็ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดูหมิ่นผู้อื่น vs. ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน: การประเมินเจตนาและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยและผู้เสียหายที่ 1 ได้พบผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเรื่องการกู้ยืมเงิน จำเลยได้พูดว่าผู้เสียหายที่ 1 ต่อหน้าผู้เสียหายที่ 2และบุคคลอื่นว่าผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้หญิงต่ำ ๆ ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยมีเจตนาว่าผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่ว ๆ ไป ซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งหน้าแล้ว หาใช่เป็นเพียงคำพูดในเชิงปรารภปรับทุกข์ไม่ แต่ที่จำเลยพูดพาดพิงถึงผู้เสียหายที่ 2 ว่า "มันก็เข้าข้างกัน" ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่เพราะผู้เสียหายที่ 2 มีหน้าที่ทางอาญาหาได้เกี่ยวกับกรณีพิพาททางแพ่งไม่ แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะได้ทำการไกล่เกลี่ยเรื่องทางแพ่งให้และจัดการลงบันทึกประจำวันไว้ก็หาใช่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2256/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นผู้อื่นและเจ้าพนักงาน: การพิจารณาบริบทและความเกี่ยวข้องกับหน้าที่
จำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงต่ำ ๆ ต่อหน้าผู้อื่นซึ่งเป็นคำพูดที่เหยียดหยามผู้เสียหายที่ 1 ว่าเป็นผู้หญิงไม่ดีมีศักดิ์ศรีต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไปเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งหน้า หาใช่เป็นคำพูดในเชิงปรารถปรับทุกข์ไม่
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ในการปราบ-ปรามสืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดทางอาญา หาได้เกี่ยวกับกรณีที่มีบุคคลพิพาทกันในทางแพ่งไม่ แม้คู่กรณีนำเรื่องทางแพ่งไปแจ้งให้จัดการไกล่เกลี่ยเปรียบเทียบและผู้เสียหายที่ 2 ทำการไกล่เกลี่ยให้ และจัดการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมายไม่ คงเป็นแต่เพียงอัชฌาสัยในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น การกระทำของผู้เสียหายที่ 2 จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้า-พนักงาน แม้จำเลยได้พูดถ้อยคำว่า "มันก็เข้าข้างกัน" ก็ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่น-เจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ในการปราบ-ปรามสืบสวนและจับกุมผู้กระทำผิดทางอาญา หาได้เกี่ยวกับกรณีที่มีบุคคลพิพาทกันในทางแพ่งไม่ แม้คู่กรณีนำเรื่องทางแพ่งไปแจ้งให้จัดการไกล่เกลี่ยเปรียบเทียบและผู้เสียหายที่ 2 ทำการไกล่เกลี่ยให้ และจัดการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานก็หาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจโดยตรงตามกฎหมายไม่ คงเป็นแต่เพียงอัชฌาสัยในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตำรวจผู้รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนเท่านั้น การกระทำของผู้เสียหายที่ 2 จึงมิใช่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ของเจ้า-พนักงาน แม้จำเลยได้พูดถ้อยคำว่า "มันก็เข้าข้างกัน" ก็ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่น-เจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษจำคุก: ศาลฎีกาไม่สามารถแก้ไขโทษผิดพลาดได้หากโจทก์ไม่โต้แย้ง
คดีนี้ซึ่งเป็นคดีหลัง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกและบวกโทษจำเลยที่ 4 ตามคำขอท้ายฟ้อง แต่บวกโทษผิดพลาด โดยนำโทษจำคุก 3 เดือนของจำเลยอื่นในคดีก่อนมาบวกโทษแทน แต่เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ก็ต้องถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่อาจนำโทษจำคุก 1 ปี 5 เดือน ของจำเลยที่ 4 ในคดีก่อนที่ถูกต้องมาบวกได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีอาญา: โจทก์ไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้
คดีนี้ซึ่งเป็นคดีหลัง ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกและบวกโทษจำเลยที่ 4 ตามคำขอท้ายฟ้อง แต่บวกโทษผิดพลาด โดยนำโทษจำคุก3 เดือน ของจำเลยอื่นในคดีก่อนมาบวกโทษแทน แต่เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ก็ต้องถือว่าโจทก์พอใจในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่อาจนำโทษจำคุก 1 ปี 5 เดือน ของจำเลยที่ 4ในคดีก่อนที่ถูกต้องมาบวกได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สินของคนต่างด้าว แม้ได้มาซึ่งที่ดินโดยไม่ชอบตามกฎหมายที่ดิน
แม้การที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยมิชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 86 จะทำให้คนต่างด้าวนั้นถือสิทธิหรือใช้สิทธิในที่ดินที่ได้มาอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ได้และต้องจำหน่ายที่ดินนั้นไปตามมาตรา 94 แต่ก็มิใช่ว่าการได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าวจะไม่มีผลเสียเลย เนื่องจากคนต่างด้าวยังคงมีสิทธิได้รับผลตามมาตรา 94 ทั้งยังมีสิทธิได้รับชำระราคาที่ดินซึ่งได้จากการจำหน่ายตามมาตรา 54 ดังนั้น แม้โจทก์เป็นคนต่างด้าวโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 แบ่งทรัพย์สินที่ดินและบ้านซึ่งโจทก์กับจำเลยที่ 1 ร่วมกันซื้อมาได้ กรณีถือว่าคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์จากจำเลยที่ 1 โจทก์มีฐานะเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่โอนขายที่ดินและบ้านดังกล่าวไปเสีย จึงครบองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของสหกรณ์: คณะกรรมการดำเนินการต้องมอบหมายให้ผู้มีอำนาจดำเนินการแทน
โจทก์มีคณะกรรมการดำเนินการ 15 คน โดยมี ช. เป็นประธานกรรมการ ตามข้อบังคับของโจทก์ระบุอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการในเรื่องอำนาจฟ้องคดีเป็นอำนาจของคณะกรรมการดำเนินการโดยเฉพาะ เว้นแต่จะได้มอบหมายให้กรรมการหรือผู้จัดการทำแทนตาม มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 แต่ในการฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการได้มอบหมายให้ ช. ประธานกรรมการและ ก. ผู้จัดการของโจทก์ดำเนินการฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ช. เป็นกรรมการผู้หนึ่งของโจทก์ แต่ลำพังเพียง ช. คนเดียวมิใช่เสียงข้างมากของคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 เดิมจึงไม่อาจดำเนินกิจการของโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ ช. และก.ลงลายมือชื่อและประทับตราของโจทก์ในใบแต่งทนายความ จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์