คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จองทรัพย์ เที่ยงธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2128/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของสหกรณ์: คณะกรรมการดำเนินการต้องมอบหมายให้ผู้มีอำนาจดำเนินการแทน
โจทก์มีคณะกรรมการดำเนินการ 15 คน โดยมี ช. เป็นประธานกรรมการ ตามข้อบังคับของโจทก์ระบุอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการในเรื่องอำนาจฟ้องคดีเป็นอำนาจของคณะกรรมการดำเนินการโดยเฉพาะ เว้นแต่จะได้มอบหมายให้กรรมการหรือผู้จัดการทำแทนตาม มาตรา 24 แห่ง พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 แต่ในการฟ้องคดีนี้ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการได้มอบหมายให้ ช. ประธานกรรมการและ ก. ผู้จัดการของโจทก์ดำเนินการฟ้องคดีแทนโจทก์ แม้ ช. เป็นกรรมการผู้หนึ่งของโจทก์ แต่ลำพังเพียง ช. คนเดียวมิใช่เสียงข้างมากของคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ ตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 77 เดิมจึงไม่อาจดำเนินกิจการของโจทก์ได้ ดังนั้น การที่ ช. และก.ลงลายมือชื่อและประทับตราของโจทก์ในใบแต่งทนายความ จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและความรับผิดร่วมกันในสัญญา
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำหนังสือสัญญาของผู้ได้รับทุนการศึกษาจำเลยที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งให้ความยินยอมในการเข้าทำสัญญาและยินยอมรับชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของผู้ค้ำประกันให้ร่วมกันรับผิดใช้เงินทุนการศึกษาและค่าปรับ เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดร่วมกันตามสัญญาอย่างลูกหนี้ร่วม และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ถือว่าจำเลยทั้งสามแทนซึ่งกันและกัน บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งกระทำโดยจำเลยคนหนึ่งถือว่าได้กระทำโดยจำเลยคนอื่น ๆ ด้วย การที่ศาลรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมาเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการชอบด้วยประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59 (1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม การรับผิดตามสัญญา และการนำพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดใช้เงินทุนการศึกษาและค่าปรับโดยในการทำสัญญารับทุนของจำเลยที่ 1 ซึ่งผู้เยาว์มีจำเลยที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรม ของจำเลยที่ 1 ให้ความยินยอมในการทำสัญญาและจำเลยที่ 2 ยอมชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ด้วย กับมี อ.ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 โดยรับชดใช้เงินที่ต้องชดใช้แทนจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้นโดยมิต้องเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ก่อน ต่อมา อ.ถึงแก่กรรมจำเลยที่3เป็นทายาทของอ.ดังนี้ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมที่ต้องรับผิดร่วมกันตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ถือว่าจำเลยทั้งสามแทนซึ่งกันและกัน บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งกระทำโดยจำเลยคนหนึ่งถือว่าได้กระทำโดยจำเลยคนอื่น ๆ ด้วย การที่ศาลรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมาเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญารับทุนเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและการรับฟังพยานหลักฐานจากจำเลยคนหนึ่งเป็นคุณแก่จำเลยอื่นในคดีชำระหนี้
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำหนังสือสัญญาของผู้ได้รับทุนการศึกษา จำเลยที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งให้ความยินยอมในการเข้าทำสัญญาและยินยอมรับชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 ด้วย และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของผู้ค้ำประกันให้ร่วมกันรับผิดใช้เงินทุนการศึกษาและค่าปรับ เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดร่วมกันตามสัญญาอย่างลูกหนี้ร่วม และมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ถือว่าจำเลยทั้งสามแทนซึ่งกันและกัน บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งกระทำโดยจำเลยคนหนึ่งถือว่าได้กระทำโดยจำเลยคนอื่น ๆ ด้วย การที่ศาลรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบมาเป็นคุณแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ไม่สำเร็จ ศาลสั่งให้โจทก์แถลงผล แต่ไม่แจ้งผลให้ทราบ ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ละเลยคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ในวันเดียวกับวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ใน 15 วัน โดยให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้"ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งธนบุรี ขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลแพ่งธนบุรีเพื่อดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยโดยโจทก์แนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์มาพร้อมคำแถลง ศาลชั้นต้นจัดการให้ ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้จัดการส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยแล้ว แต่ส่งไม่ได้พร้อมกับส่งหลักฐานรายงานการส่งหมายของเจ้าพนักงานให้ศาลชั้นต้นทราบด้วย ศาลชั้นต้นรับทราบแล้วมีคำสั่งอีกว่า "ให้โจทก์แถลงภายใน 7 วัน " คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นมีความหมายว่าโจทก์ต้องทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่าส่งให้จำเลยไม่ได้ แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมายของศาลแพ่งธนบุรีส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีโอกาสทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบตามเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ หากส่งไม่ได้ ศาลต้องแจ้งโจทก์เพื่อให้ดำเนินการต่อ การไม่แจ้งถือไม่ได้ว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
วันที่โจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2534ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ใน 15 วัน โดยให้โจทก์นำส่งใน 7 วัน หากวันส่งไม่ได้ให้แถลงใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งข้างต้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ ต่อมาวันที่ 3 มกราคม 2535 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งธนบุรี ขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลแพ่งธนบุรีเพื่อให้ดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ ให้จำเลยต่อไป ศาลชั้นต้นจัดการให้ตามคำแถลง ต่อมา วันที่ 23 มกราคม 2535 ศาลแพ่งธนบุรีได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้จัดการส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยแล้ว แต่ส่งไม่ได้ ศาลชั้นต้นรับทราบแล้วมีคำสั่งในวันที่ 28 มกราคม 2535 อีกว่า ให้โจทก์แถลงใน 7 วัน คำสั่ง ของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นมีความหมายว่าโจทก์ต้องทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่าส่งให้จำเลยไม่ได้ แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมาย ของศาลแพ่งธนบุรีส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ ฉะนั้นโจทก์จึงไม่มีโอกาสทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ ให้จำเลย ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบตามเวลา ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลา ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด อันจะเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2028/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ที่มิได้แจ้งผลให้โจทก์ทราบ ไม่ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ในวันเดียวกับวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยแก้ใน15 วัน โดยให้โจทก์ส่งภายใน 7 วัน หากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน7 วันนับแต่วันส่งไม่ได้" ต่อมาโจทก์ยื่นคำแถลงว่า จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแพ่งธนบุรีขอให้ศาลชั้นต้นมีหนังสือไปยังศาลแพ่งธนบุรีเพื่อดำเนินการส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย โดยโจทก์แนบตั๋วแลกเงินไปรษณีย์มาพร้อมคำแถลง ศาลชั้นต้นจัดการให้ ต่อมาศาลแพ่งธนบุรีได้มีหนังสือแจ้งให้ศาลชั้นต้นทราบว่าได้จัดการส่งหมายนัดและสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยแล้ว แต่ส่งไม่ได้พร้อมกับส่งหลักฐานรายงานการส่งหมายของเจ้าพนักงานให้ศาลชั้นต้นทราบด้วย ศาลชั้นต้นรับทราบแล้วมีคำสั่งอีกว่า "ให้โจทก์แถลงภายใน7 วัน" คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นมีความหมายว่าโจทก์ต้องทราบถึงผลของการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ด้วยว่าส่งให้จำเลยไม่ได้แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าเจ้าพนักงานเดินหมายของศาลแพ่งธนบุรีส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลยไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีโอกาสทราบถึงการส่งสำเนาฟ้องอุทธรณ์ให้จำเลย ดังนั้นแม้โจทก์มิได้แถลงให้ศาลชั้นต้นทราบตามเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ดำเนินคดีภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเลิกการให้เนื่องจากเนรคุณ: การกระทำของโจทก์เป็นเหตุให้จำเลยใช้คำด่า
โจทก์มิได้เป็นบุพการีหรือญาติผู้ใหญ่ทางสายโลหิตของจำเลยคงมีความสัมพันธ์กับจำเลยในฐานะผู้อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสเท่านั้น ทั้งโจทก์เป็นฝ่ายก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันโดยนำหญิงอื่นเข้ามาหลับนอนในบ้านต่อหน้าจำเลย และขับไล่จำเลยออกจากบ้านซึ่งนำไปสู่การด่าโต้ตอบกัน เหตุที่จำเลยด่าโต้ตอบโจทก์ว่า "ไอ้ห่า บ้าตัณหา เลวที่สุด ไอ้หน้าหี มือถือสากปากถือศีล" ก็เพราะถูกโจทก์ข่มเหงน้ำใจอย่างรุนแรง โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงเพื่อยกเป็นเหตุเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคืนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณ: ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา การก่อเหตุทะเลาะวิวาท และการด่าตอบโต้
โจทก์มีความสัมพันธ์กับจำเลยในฐานะผู้อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสเท่านั้น การที่โจทก์และจำเลยทะเลาะกันและต่างคนด่ากันก็เป็นเพราะโจทก์เป็นฝ่ายก่อ และจำเลยด่าโต้ตอบเพราะถูกโจทก์ข่มเหงน้ำใจอย่างรุนแรงเช่นนี้โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงเพื่อยกเป็นเหตุเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1953/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการให้โดยอ้างเหตุเนรคุณไม่สำเร็จ เนื่องจากโจทก์เป็นฝ่ายก่อเหตุ และคำด่าไม่ถึงขั้นเนรคุณ
โจทก์มิได้เป็นบุพการีหรือญาติผู้ใหญ่ทางสายโลหิตของจำเลยคงมีความสัมพันธ์กับจำเลยในฐานะผู้อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสเท่านั้น ทั้งโจทก์เป็นฝ่ายก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันโดยนำหญิงอื่นเข้ามาหลับนอนในบ้านต่อหน้าจำเลย และขับไล่จำเลยออกจากบ้านซึ่งนำไปสู่การด่าโต้ตอบกัน เหตุที่จำเลยด่าโต้ตอบโจทก์ว่า "ไอ้ห่าบ้าตัณหาเลวที่สุดได้หน้าหีมือถือสากปากถือศีล"ก็เพราะถูกโจทก์ข่มเหงน้ำใจอย่างรุนแรง โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรงเพื่อยกเป็นเหตุเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุจำเลยประพฤติเนรคุณหาได้ไม่
of 66