คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จองทรัพย์ เที่ยงธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 653 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเอกสารทางการเงินและเช็คของนายจ้างเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม เอาใบวางบิลกับบิลเงินสดและใบส่งของซึ่งเป็นเอกสารของโจทก์ร่วมไปเก็บเงินค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมโดยมีเจตนาจะเอาเงินค่าสินค้าเป็นของตนเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารของโจทก์ร่วมในประการหนึ่งที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม และการที่เอาเช็คที่ลูกค้าของโจทก์ร่วมสั่งจ่ายชำระหนี้ค่าสินค้าให้แก่โจทก์ร่วมไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินตามเช็คแล้วเบิกเงินไปเป็นของตนเป็นการทำให้เช็คดังกล่าวซึ่งเป็นเอกสารของโจทก์ร่วมไร้ประโยชน์ที่จะใช้ได้อีก จำเลยที่ 1จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาระจำยอม & ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายได้เอง แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้น
ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกขึ้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ขาดสาระสำคัญที่จะให้ศาลบังคับให้ได้โดยถูกต้องนั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น และมิใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะหยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยให้ ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมที่โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะเป็นทางเกวียน แต่ในเวลาต่อมาโจทก์ไม่ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเกวียนผ่านเข้าออกเป็นเวลานามถึง 10 ปี แล้วคงใช้เป็นทางสำหรับคนเดินภาระจำยอมไม่ว่าจะได้มาโดยนิติกรรมหรือโดยอายุความที่เป็นทางเกวียนดังกล่าว ย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 อายุความได้สิทธิหรือเสียสิทธิภาระจำยอมมิใช่อายุความฟ้องร้อง ฉะนั้นปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าภาระจำยอมสิ้นไปแล้วโดยอายุความ ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1822/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมระงับสิ้นไปเมื่อไม่ได้ใช้ทางเกวียนต่อเนื่อง 10 ปี เปลี่ยนเป็นทางเดิน
เดิมทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมที่โจทก์ใช้ที่ดินของจำเลยเป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์สู่ทางสาธารณะเป็นทางเกวียนขนาด กว้าง 2-3 เมตร แต่ในเวลาต่อมาโจทก์ไม่ได้ใช้ทางนี้เป็นทางเกวียน ผ่านเข้าออกเป็นเวลานานถึง 10 ปีแล้ว คงใช้เป็นทางสำหรับคนเดิน ภารจำยอมไม่ว่าจะได้มาโดยนิติกรรมหรือโดยอายุความ ที่เป็นทางเกวียนดังกล่าวย่อมระงับสิ้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1399 หลังจากนั้น เป็นต้นมาทางที่โจทก์ใช้ที่ดินของทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ ย่อมมีสภาพเพียงเป็นทางเดิน อายุความได้สิทธิหรืออายุความเสียสิทธิภารจำยอมมิใช่อายุความฟ้องร้อง ฉะนั้นปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าภารจำยอมสิ้นไปแล้วโดยอายุความ ศาลฎีกาจึงยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1648/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร่วมในที่ดินพิพาทจากการขายฝากโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวม และอำนาจฟ้องขับไล่
คดีที่ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ที่แก้ใหม่ ในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247 การที่ ช. ขายฝากที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่โจทก์เป็นการจำหน่ายตัวทรัพย์สินนั้น โดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลยเจ้าของรวมสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทที่ ช. ทำกับโจทก์จึงผูกพันที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ช. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361วรรคแรกและวรรคสอง การที่ ช. ขายฝากที่ดินพิพาทในส่วนของตนให้แก่โจทก์โจทก์กับจำเลยจึงมีสิทธิร่วมกันในที่ดินพิพาททุกส่วน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก ณ สำนักทำการงานของจำเลย: ฉางเก็บข้าวเปลือกเป็นสำนักทำการงานได้
จำเลยให้โจทก์เช่าฉางเก็บข้าวเปลือกโดยรับข้าวเปลือกจากโจทก์ ณ ฉาง เมื่อพนักงานของโจทก์สั่งจ่ายข้าวเปลือก จำเลยหรือผู้แทนของจำเลยก็ทำการจ่ายข้าวเปลือก ณ ฉางนั้นตลอดมาฉางของจำเลยจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลยด้วย การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดแก่จำเลย ณ ฉาง ดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 74(2) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียก ณ สำนักทำการงานของจำเลย: ฉางเก็บข้าวเปลือก
จำเลยให้โจทก์เช่าฉางเก็บข้าวเปลือกโดยรับข้าวเปลือกจากโจทก์ ณ ฉาง เมื่อพนักงานของโจทก์สั่งจ่ายข้าวเปลือก จำเลยหรือผู้แทนของจำเลยก็ทำการจ่ายข้าวเปลือก ณ ฉางนั้นตลอดมา ฉางของจำเลยจึงเป็นสำนักทำการงานของจำเลยด้วย การที่เจ้าพนักงานศาลส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดแก่จำเลย ณ ฉาง ดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 74 (2) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาจะซื้อจะขายและการบังคับให้จดทะเบียนโอนที่ดิน โดยประเด็นค่าเสียหายไม่ชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายและใช้ค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ฎีกาว่าจำเลยผิดสัญญาโดยเรื่องค่าเสียหาย โจทก์เพียงมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายมาในท้ายฎีกาเท่านั้น มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไรประเด็นเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับสัญญาซื้อขายและการเรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่ชัดเจน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายและใช้ค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ฎีกาว่าจำเลยผิดสัญญาโดยเรื่องค่าเสียหาย โจทก์เพียงมีคำขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายมาในท้ายฎีกาเท่านั้น มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไรประเด็นเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1409/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเวลาสถานีวิทยุ: สัญญาไม่ระบุขอบเขตการส่งสัญญาณชัดเจน ไม่ถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าเวลาของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์จากโจทก์ในระบบเอฟ.เอ็มและเอ.เอ็ม ระหว่างสัญญากำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์ของโจทก์ทั้งสองระบบรับฟังไม่ชัดเจนในพื้นที่นอกเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เมื่อตามสัญญาเช่าเวลาดังกล่าวไม่มีข้อตกลงในรายละเอียดว่าโจทก์ต้องจัดการให้กำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์ทั้งสองระบบดังกล่าวมีกำลังส่งที่ประชาชนซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ทั้งหมดรับฟังได้อย่างชัดเจน และโจทก์จำเลยมีเจตนาผูกพันกันตามสภาพที่กำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์มีอยู่ในขณะทำสัญญา ดังนั้นการที่กำลังส่งกระจายเสียงของสถานีวิทยุกระจายเสียงจังหวัดบุรีรัมย์ที่จำเลยเช่าจากโจทก์ไม่สามารถส่งกระจายเสียงให้ประชาชนที่อยู่นอกเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์รับฟังได้ชัดเจนนั้น หาใช่สาระสำคัญถึงขนาดที่จะถือได้ว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่นนี้ แม้จำเลยจะแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่โจทก์ ก็หามีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยชอบอันจะทำให้สัญญาเลิกกันไม่ จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลอกลวงลงทุนเก็งกำไร-กู้ยืมเงินฉ้อโกง: จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาและพ.ร.ก.กู้ยืมเงิน
การที่จำเลยกับพวกชักชวนผู้เสียหายทั้งสิบคนและบุคคลอื่นให้นำเงินมาลงทุนกับบริษัท เพื่อประกอบกิจการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าเพื่อเก็งกำไรทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าบริษัท อ. ไม่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการดังกล่าวและการประกอบกิจการตามที่อ้างจะมีขึ้นไม่ได้แน่นอน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นการหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบคน และบุคคลทั่ว ๆ ไปไม่จำกัดว่าเป็นใครอันเป็นการหลอกลวงประชาชนด้วยการการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยเจตนาทุจริต ทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบคน หลงเชื่อมอบเงินให้แก่จำเลยกับพวกไปจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรกและการกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการกู้ยืมเงินตามพระราชกฤษฎีกา การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 3 และเป็นการชักชวนว่าในการกู้ยืมเงินจำเลยหรือบริษัทอ. จะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินที่พึงจ่ายได้ โดยจำเลยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าจำเลยหรือบริษัท อ. จะนำเงินจากผู้เสียหายทั้งสิบคน หรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบคน หรือโดยที่จำเลยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าจำเลยหรือบริษัท อ. ไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายดอกเบี้ยตามสัญญาได้และเป็นเหตุให้จำเลยกับพวกหรือบริษัท อ.ได้กู้ยืมเงินไป จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 4,12 แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอีกบทหนึ่ง
of 66